The 2023 Climate Risk Landscape
รายงาน “The 2023 Climate Risk Landscape” ให้ข้อมูลภูมิทัศน์ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศเพื่อสนับสนุนสถาบันการเงินให้เข้าใจเครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศอันหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดมากขึ้น รายงานนี้สำรวจแนวโน้มของตลาดที่มีต่อเครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านกายภาพ (physical risk) และความเสี่ยงเชิงการเปลี่ยนผ่าน (transition risk) รวมถึงการวิเคราะห์เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ อย่างละเอียด หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการเงิน (United Nations Environmental Program Finance Initiative: UNEP-FI) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2023
รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2023 : championing sustainability despite adversities” แสดงความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Bracing for Superbugs: Strengthening Environmental Action in the One Health Response to Antimicrobial Resistance
รายงาน “Bracing for Superbugs: Strengthening Environmental Action in the One Health Response to Antimicrobial Resistance” นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ที่บ่งชี้ว่า สิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญต่อการก่อตัว การแพร่เชื้อ และการติดเชื้อโรคดื้อยา (Antimicrobial Resistance: AMR) ซึ่งแนวทางในการรับมือปัญหานี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ตามแนวทาง “One Health” ซึ่งเป็นแนวทางแบบบูรณาการที่มองเห็นว่าสุขภาพของคน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด แนวทางนี้จึงจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเชื้อโรคดื้อยา หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Gendered Impacts of Climate Change: Evidence from Asia
รายงาน “Gendered impacts of climate change: Evidence from Asia” เสนอข้อค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างปรากฏการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับทางเพศจากการศึกษาในประเทศบังคลาเทศ กัมพูชา เนปาล ฟิลิปปินส์ และติมอร์-เลสเต เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ในการเพิ่มความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทั้งผู้หญิงและผู้ชายในสถานะที่หลากหลายให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goal Interactions Through A Climate Lens: A Global Analysis
รายงาน “Sustainable Development Goal interactions through a climate lens: a global analysis” วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่สำคัญกับการดำเนินการตามความพยายามในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5°C ว่าสามารถทำงานร่วมกันหรือขัดแย้งกันอย่างไร และเสนอข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับการดำเนินการทั้งสองมิติดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: Stockholm Environment Institute (SEI) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Child-responsive Urban Policies, Laws and Standards: A Guidance
คู่มือ “Child-responsive urban policies, laws and standards: a guidance” พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนภาครัฐในการสร้างพื้นที่เขตเมืองที่เด็กสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน อากาศและน้ำสะอาดได้ รวมถึงรู้สึกปลอดภัยที่จะเล่น เรียนรู้ และเติบโต โดยรับฟังความต้องการของเด็กเข้ามาในนโยบายสาธารณะและกระบวนการตัดสินใจด้วย และชี้ให้เห็นว่านโยบายและกฎหมายมีบทบาทในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในประเด็นดังกล่าวอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) และกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Social Report 2023 | Leaving No One Behind in an Ageing World
รางาน “World Social Report 2023” มาในธีม Leaving No One Behind in an Ageing World แสดงสถานการณ์ของผู้สูงอายุ และประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างความสูงวัยของประชากรและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมถึงมิติทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ทั้งความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การดูแลสุขภาพ และการบริบาลในระยะยาวของผู้สูงวัย หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas
เอกสาร “Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas” พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยและข้อมูลจากโครงการเชิงปฏิบัติการที่ใช้การแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) เพื่อการปรับตัวและสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่พื้นที่ที่อยู่อาศัยแออัดเพื่อให้เข้าใจถึงศักยภาพในการดำเนินการขยายขนาดและความท้าทายได้ดียิ่งขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการศึกษาที่ประโยชน์ในการสร้างความสามารถลดความเสี่ยง จัดการกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับคนยากจนในเขตเมืองและแก่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่