Climate Change and Climate Finance: Current Experience and Future Directions
หนังสือ “Climate Change and Climate Finance: Current Experience and Future Directions” วิเคราะห์บทบาทของบริษัทในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แสดงวิธีการสร้างกรอบการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่มีประสิทธิภาพ และร่างกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นสำหรับกิจกรรมและการลงทุนที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Sustainable Development Report (GSDR) 2023
รายงาน “Global Sustainable Development Report (GSDR) 2023” เขียนโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ (Independent Group of Scientists: IGS) เป็นรายงานฉบับสำคัญที่เผยแพร่ทุก 4 ปีนับตั้งแต่มีการลงนามรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ โดยฉบับที่สองประจำปีค.ศ. 2023 นี้ถือเป็นการทบทวนครึ่งทางของวาระ จึงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมด้วยวิทยาศาสตร์ ที่จะสามารถเปลี่ยนทิศทางการขับเคลื่อน (SDGs) ให้ไปข้างหน้าได้รวดเร็วขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Public Sector Report 2023
รายงาน “World Public Sector Report 2023” นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของภาครัฐในระดับโลก ภายใต้ธีม Transforming institutions to achieve the Sustainable Development Goals after the pandemic เพื่อศึกษาบทบาทของนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงด้านสถาบันและการกำกับดูแลที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการระบาดของโควิด-19 ในระดับประเทศ ในการส่งเสริมความก้าวหน้าสู่วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2023
รายงาน “Progress on the Sustainable Development Goals: The gender snapshot 2023” นำเสนอการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย และเน้นย้ำถึงแนวโน้ม ช่องว่าง อุปสรรคของการทำงานเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภายในปีค.ศ. 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women และ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Key Indicators for Asia and the Pacific 2023
รายงาน “Key Indicators for Asia and the Pacific 2023” นำเสนอสถิติเกี่ยวกับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ การเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงตัวชี้วัดที่สำคัญบางประการสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ล่าสุดของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 49 ประเทศที่เป็นสมาชิกธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เนื้อหาภายในวิเคราะห์แนวโน้มความก้าวหน้าในการพัฒนา และอุปสรรคในการบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ทั้งค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นควบคู่ไปกับผลกระทบที่ยังคงอยู่จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชาชนหลายล้านคนในภูมิภาคเข้าสู่ภาวะยากจนมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Future of Asia & Pacific Cities 2023: Crisis Resilient Urban Futures
รายงาน “The future of Asia & Pacific cities 2023 : crisis resilient urban futures” นำเสนอผลวิเคราะห์และการประเมินการพัฒนาเมืองยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกอย่างครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญภายใต้ผลกระทบต่อเนื่องที่เมืองต้องเผชิญจากวิกฤตการณ์ระดับโลกในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่จะเป็นประโยชน์ทั้งในเชิงพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบการบริหารจัดการ (governance) เมือง พร้อมให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการฟื้นฟูพื้นที่เขตเมืองอย่างยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก. (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือองค์ความรู้ BCG
“คู่มือองค์ความรู้ BCG” จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงองค์ความรู้เรื่อง BCG โดยเน้นความรู้พื้นฐาน ภาพรวมของการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ความท้าทาย รวมถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศ จากประเทศที่มุ่งเน้น “ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Climate Finance Landscape of Asia and the Pacific
รายงาน “Climate Finance Landscape of Asia and the Pacific” ประเมินภาพรวมสถานการณ์การเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และวิเคราะห์แนวทางที่ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคสามารถใช้ประโยชน์จากเงินทุนเหล่านี้เพื่อขยายการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รายงานฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นช่องว่างทางการเงิน เสนอแนะการพิจารณาแนวทางเพิ่มการลงทุนสำหรับการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เงินทุนเหล่านี้ไปถึงยังประเทศและภาคส่วนที่ต้องการมากที่สุด หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่