The Crucial Role of Legal Frameworks in Advancing Gender Equality
ชุดภาพอินโฟกราฟิก “The Crucial Role of Legal Frameworks in Advancing Gender Equality” วิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการยกเลิกกฎหมายที่เลือกปฏิบัติและการใช้กรอบทางกฎหมายที่ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 5.1 ในทั้งหมด 120 ประเทศ เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของกรอบทางกฎหมายที่เข้มแข็งเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ นำเสนอตัวอย่างที่ดีของประเทศต่าง ๆ ชี้ให้เห็นช่องว่างทางกฎหมาย และเน้นย้ำการดำเนินการที่สำคัญเพื่อสร้างความก้าวหน้า หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Role of Artificial Intelligence in Sexual and Reproductive Health and Rights
เอกสาร “The Role of Artificial Intelligence in Sexual and Reproductive Health and Rights” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาพรวมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและการสืบพันธุ์ (Sexual and Reproductive Health and Rights: SRHR) รวมถึงเน้นให้ข้อมูลความเสี่ยง ผลกระทบ และข้อควรพิจารณาเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาถึงลักษณะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ บทสรุปนี้มุ่งเน้นที่จะสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ใน SRHR และชี้ประเด็นสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าปัญญาประดิษฐ์จะถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และมีความรับผิดชอบ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Women in Action
หนังสือภาพ “Women in Action” รวบรวมเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจของผู้หญิงและเด็กหญิงชาวอินเดียห้าคนที่เข้าร่วมโครงการเสริมพลังให้แก่ผู้หญิง Women’s Access to Education and Livelihood Opportunities in Maharashtra โดยเขียนจากมุมมองของเธอเอง เล่าถึงการต่อสู้ อุปสรรคจากความด้อยโอกาสอันมาจากการอยู่ในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ ติดเชื้อ และเปราะบางต่อการติดเชื้อ HIV หรือเอดส์ ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการ ไม่มีทักษะการจ้างงาน และไม่ได้รับโอกาสในการเป็นผู้ประกอบการ จนถึงวันที่ประสบความสำเร็จ มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการเงินได้ หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2024
รายงาน “World Happiness Report ประจำปี 2024” จัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยจะประเมินความสุขตามเกณฑ์ต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนทางสังคม รายได้ ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี และการทุจริต เป็นต้น โดยฉบับนี้กล่าวถึงความสุขของคนแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงสูงอายุ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
State of the Global Climate 2023
รายงาน “State of the Global Climate 2023” นำเสนอสถานการณ์สภาพภูมิอากาศโลก ผ่านข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่าสถิติระดับก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิผิวน้ำ ความร้อนและกรดในมหาสมุทร ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ปริมาณน้ำแข็งทะเลแอนตาร์กติกา และธารน้ำแข็งที่ละลาย ล้วนทำลายสถิติเดิมอย่างสิ้นเชิง และรายงานฉบับนี้ยังยืนยันอีกว่า ปี 2023 เป็นปีที่โลกร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ และนำเสนอผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความมั่นคงด้านอาหารและการอพยพของประชากร หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Human Development Report 2023-24
รายงานการพัฒนามนุษย์ “Human Development Report 2023-24 | Breaking the gridlock: Reimagining Cooperation in a Polarized World” นำเสนอดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดโดยรวมที่สะท้อนถึงรายได้ประชาชาติสุทธิต่อประชากร (Gross National Income: GNI) ต่อหัว การศึกษา และอายุขัยของประชากรในประเทศนั้น ๆ โดยรายงานของปีนี้เป็นการประเมินภาวะหยุดชะงักอันตรายที่เกิดจากความก้าวหน้าในการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรง และความแตกแยกทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น พร้อมกับเสนอแนวทางไปข้างหน้าโดยให้การทำงานแบบพหุภาคี (multilateralism) มีบทบาทสำคัญ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
State of Global Environmental Governance 2023
รายงาน “State of Global Environmental Governance 2023” นำเสนอสถานการณ์ของการอภิบาลด้านสิ่งแวดล้อมโลกประจำปีเป็นฉบับที่ 5 โดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกจาก Earth Negotiations Bulletin (ENB) ที่ติดตามการเจรจาระหว่างประเทศในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ สารเคมี ป่าไม้ และที่ดิน หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Institute for Sustainable Development: IISD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work
รายงาน “Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work” เสนอผลการศึกษาว่าการลงทุนอย่างเท่าเทียมกันระหว่างเพศในด้านสุขภาพและงานดูแล (care work) สามารถช่วยยอมรับคุณค่าของงานเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยุติธรรมและครอบคลุมมากขึ้น ตลอดจนทำให้คนทุกเพศสภาพมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น โดยการลงทุนในระบบสุขภาพและการดูแลไม่เพียงแต่เร่งความก้าวหน้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage: UHC) เท่านั้น แต่ยังช่วยกระจายภาระงานด้านสุขภาพและการดูแลที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่