Levels and Trends in Child Mortality Report 2023
รายงาน “Levels and Trends in Child Mortality” ประจำปี 2023 นำเสนอข้อมูลและการประมาณการอัตราการตายของเด็กและวัยรุ่นจากทุกสาเหตุในแต่ละประเทศ ผลการศึกษาค้นพบว่าจำนวนการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต่อปี ลดลงเหลือ 4.9 ล้านคนในปี 2023 และลดลง 51% ตั้งแต่ปี 2000 รวมถึงอัตราการลดลงของเด็กตายในประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลางล่างหลายประเทศต่ำลงกว่าตัวเลขประมาณการ ซึ่งเป็นผลของความมุ่งมั่นของรัฐบาล องค์กร ชุมชนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และครอบครัว หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Contribution of Volunteering to Climate Action and Community Resilience
รายงาน “The Contribution of Volunteering to Climate Action and Community Resilience” นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ถึงวิธีการที่อาสาสมัครทั่วโลกสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือชุมชนของตนเองในการปรับตัว – และสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว – เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังกล่าวถึงรูปแบบและขอบเขตที่หลากหลายของงานอาสาสมัคร โดยเน้นที่งานอาสาสมัครในระดับท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติ (UNV) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Status Report for Buildings and Construction
รายงาน “Global Status Report for Buildings and Construction 2024” เป็นรายงานประจำปีที่แสดงภาพรวมความก้าวหน้าของภาคส่วนอาคารและการก่อสร้างในระดับโลก รายงานสถานการณ์อาคารโลกทบทวนสถานะของนโยบาย การเงิน เทคโนโลยี และแนวทางแก้ไข เพื่อติดตามความสอดคล้องของภาคส่วนนี้กับข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) นอกจากนี้ รายงานยังมอบข้อมูลเชิงประจักษ์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อโน้มน้าวให้ผู้กำหนดนโยบายและชุมชนคนทำงานภาคส่วนอาคารและการก่อสร้างให้ดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และพันธมิตรอาคารและการก่อสร้างโลก (GlobalABC) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Female Genital Mutilation: A Global Concern – 2024 Update
อินโฟกราฟิก “Female Genital Mutilation: A Global Concern – 2024 Update” นำเสนอผลการประเมินสถานการณ์การขลิบอวัยวะเพศหญิง (Female Genital Mutilation: FGM) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยจะเล่าเรื่องผ่านตัวเลขเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจสถานการณ์ของผู้หญิงและเด็กหญิงหลายล้านคนที่รอดชีวิตจากการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรมนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Migration Governance Insights: Informing People-centred Migration Policies
รายงาน “Migration Governance Insights: Informing People-centred Migration Policies” นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการการย้ายถิ่นฐานทั่วโลก โดยใช้ข้อมูลดัชนีการบริหารจัดการการย้ายถิ่น (Migration Governance Indicators: MGI) จาก 100 ประเทศและ 69 หน่วยงานปกครองท้องถิ่น เพื่อประเมินแนวโน้มทั่วโลก เสนอข้อเสนอแนะ และแสดงตัวอย่างแนวทางการตอบสนองด้านนโยบายในบริบทต่าง ๆ นอกจากนี้ บทวิเคราะห์ยังเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันในประเด็นนโยบายต่าง ๆ และเน้นบทบาทสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายการย้ายถิ่นฐานที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems
เอกสาร “Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems” นำเสนอสรุปงานวิจัยแนวโน้มการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบสวัสดิการสังคมทั่วโลก และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องมีกระบวนการที่โปร่งใสและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ดีขึ้น บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดความกระจ่างในประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เพิ่งเกิดขึ้น และเสนอแนะแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดหย่อนภัยคุกคามดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: Amnesty International ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Unjust Climate
รายงาน “The Unjust Climate” นำเสนอผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อรายได้และการปรับตัวของคนในพื้นที่ชนบทที่แตกต่างกันเพราะเพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ และอายุของประชากร โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลจากประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง 24 ประเทศ ใน 5 ภูมิภาคของโลก จากครัวเรือนในชนบททั้งหมด 109,341 ครัวเรือน (คิดเป็นประชากรชนบทกว่า 950 ล้านคน) วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลฝนรายวันและอุณหภูมิที่อ้างอิงทางภูมิศาสตร์ 70 ปี เพื่อช่วยในการแยกแยะว่าสภาวะกดดันด้านสภาพภูมิอากาศแบบต่าง ๆ ส่งผลต่อรายได้จากกิจกรรมการเกษตร/นอกการเกษตรและรายได้รวม การจัดสรรแรงงาน และการปรับตัวของผู้คนอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific
เอกสารสรุปข้อมูล (Information brief) “The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific” นำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างสัตว์ป่า-สุขภาพ-การดำรงชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จัดทำขึ้นเป็นฉบับแรก วัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นภาพรวมของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ป่า และสุขภาพ ตลอดจนประเด็นด้านความท้าทาย โอกาส และศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งได้เสนอข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดนโยบายถึงวิธีการปกป้องทั้งชนิดพันธุ์สัตว์ป่า ความเป็นอยู่ของคน และสังคมได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและการลงทุนในด้านการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า การดำรงชีวิตของผู้คนในชนบท และแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่