รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2561 (2018 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development)
รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2561 (2018 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) หรือรายงาน VNR นำเสนอความก้าวหน้า อุปสรรค และประสบการณ์ในการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด : เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แผนที่นำทางเพื่อการพัฒนา SDGs ในระดับพื้นที่: การดำเนินการ และการติดตามผล (ฉบับย่อ)
แผนที่นำทางเพื่อการพัฒนา SDGs ในระดับพื้นที่: การดำเนินการ และการติดตามผล โดยศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) แปลและเรียบเรียงจาก Global Taskforce of Local and Regional Governments และ UN Habitat สำหรับการนำ SDGs ไปปฏิบัติในพื้นที่ (Localizing SDGs) คือ กระบวนการที่นำเอาบริบทเชิงพื้นที่เข้าไปผนวกในยุทธศาสตร์การดำเนินงานเรื่อง SDGs ของประเทศ และในระดับภายในประเทศ (Sub National) กระบวนการนี้มีความสำคัญเพราะว่าเป้าประสงค์ของ SDGs แทบทุกข้อเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของหน่วยงานในระดับท้องถิ่นทั้งสิ้น
World Happiness Report 2018
รายงานความสุขโลกประจำปี 2018 จัดอันดับ 156 ประเทศตามระดับความสุขของประชาชนในประเทศ และยังจัดอันดับ 117 ประเทศเรียงตามความสุขของผู้อพยพ จุดสนใจหลักของรายงานประจำปีนี้ นอกเหนือจากการจัดอันดับตามปกติของระดับและการเปลี่ยนแปลงของระดับความสุขในระดับโลกแล้ว ยังรวมถึงประเด็นการอพยพทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SWU Sustainable Development Goals Report 2018
รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปี พ.ศ. 2561 หน่วยงานที่จัดทำ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
ASEAN SDG Baseline
รายงาน ASEAN SDG baseline เป็นรายงานเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของอนุภูมิภาคอาเซียน ซึ่งวิเคราะห์ตั้งแต่เป้าหมาย ข้อ1 ถึง ข้อ16 โดยใช้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคเป็นค่ามาตราฐานในการเปรียบเทียบ มากไปกว่านี้ รายงานฉบับนี้ยังนำเสนอถึงความคืบหน้าโครงการภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในแต่ละเป้าหมาย โดยใช้การวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap analysis) ทั้งนี้จุดประสงค์ของรายฉบับนี้มีเพื่อช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายมีข้อมูลในการปรึกษาหารือองค์ประชุมเพื่อกำหนดนโยบายที่เหมาะสมเพื่อบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี ค.ศ.2030 หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2017 U.S. Cities SDG Index
รายงาน “2017 U.S. Cities SDGs Index” สร้างดัชนี U.S. Cities SDG Index เป็นกรอบการปฏิบัติพร้อมกับส่งเสริมให้ผู้นำของเมือง 100 แห่งในสหรัฐฯ จัดการกับปัญหาความท้าทายตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่มีต่อเมือง หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2017
รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2017 นำเสนอภาพรวมของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อแสดงให้เห็นช่องว่างและความท้าทายที่สำคัญที่สุด ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าหนึ่งในแปดของมนุษยชาติยังคงดำรงชีวิตอยู่ในความยากจนขั้นรุนแรง และผู้คนกว่า 800 ล้านคนต้องทนทุกข์จากความหิวโหย และการขาดแคลนน้ำส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติมากกว่าหนึ่งในสี่ สถิติเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นว่าระบบการจัดการข้อมูลที่เชื่อถือได้และทันเวลาจำเป็นอย่างยิ่งต่อการติดตามความก้าวหน้า หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2560
รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2560 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่