ASEAN Gender Outlook: Achieving the SDGs for All and Leaving No Woman and Girl Behind
รายงาน “ASEAN Gender Outlook: Achieving the SDGs for All and Leaving No Woman and Girl Behind” ชี้ให้เห็นช่องว่างของข้อมูลด้านเพศที่มีอยู่ในภูมิภาค และเรียกร้องให้มีการลงทุนและให้ความสำคัญกับงานด้านข้อมูลมากขึ้น เพื่อติดตามความก้าวหน้าสู่ความเท่าเทียมทางเพศและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับ ASEAN Complementarities Initiative, ASEAN Community Vision 2025 และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Gendered Impacts of Heat Waves and Drought in Asia and the Pacific: A Review in the Context of El Nino
เอกสารข้อสรุปเชิงนโยบาย “Gendered Impacts of Heat Waves and Drought in Asia and the Pacific: A review in the context of El Nino” ศึกษาผลกระทบของคลื่นความร้อนและภัยแล้งอันเป็นผลจากปรากฏการณ์เอล นีโญ (El Niño) ต่อความมั่นคงทางอาหาร ผลผลิตทางเศรษฐกิจ และงานดูแลของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงเน้นย้ำถึงอัตราการเกิดความรุนแรงบนพื้นฐานเพศสภาพและความรุนแรงทางเพศที่น่าอันตรายในช่วงเวลาที่ภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศ เอกสารฉบับนี้ยังเสนอแนะแนวทางเชิงรุกที่คำนึงถึงมิติด้านเพศสภาพในการแก้ปัญหาทั้งด้านมนุษยธรรมและการลดความเสี่ยงภัยพิบัติที่เกิดต่อผู้หญิง หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Nature-based Solutions for Flood Management in Asia and the Pacific
เอกสาร “Nature-based Solutions for Flood Management in Asia and the Pacific” ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยโดยมีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) สำหรับการจัดการน้ำท่วมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เนื่องจากภูมิภาคนี้มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้นอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้วิธีการป้องกันน้ำท่วมแบบเดิมไม่เพียงพอ NbS นำเสนอแนวทางใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบตามธรรมชาติเพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมและยังก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติม เช่น การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รายงานนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการมีแนวทางที่ชัดเจนและกลไกการเงินเพื่อนำ NbS ไปใช้ในภูมิภาคนี้ได้อย่างเต็มที่ หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์การพัฒนาแห่งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Development Centre) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Women in Action
หนังสือภาพ “Women in Action” รวบรวมเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจของผู้หญิงและเด็กหญิงชาวอินเดียห้าคนที่เข้าร่วมโครงการเสริมพลังให้แก่ผู้หญิง Women’s Access to Education and Livelihood Opportunities in Maharashtra โดยเขียนจากมุมมองของเธอเอง เล่าถึงการต่อสู้ อุปสรรคจากความด้อยโอกาสอันมาจากการอยู่ในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ ติดเชื้อ และเปราะบางต่อการติดเชื้อ HIV หรือเอดส์ ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการ ไม่มีทักษะการจ้างงาน และไม่ได้รับโอกาสในการเป็นผู้ประกอบการ จนถึงวันที่ประสบความสำเร็จ มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการเงินได้ หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific
เอกสารสรุปข้อมูล (Information brief) “The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific” นำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างสัตว์ป่า-สุขภาพ-การดำรงชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จัดทำขึ้นเป็นฉบับแรก วัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นภาพรวมของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ป่า และสุขภาพ ตลอดจนประเด็นด้านความท้าทาย โอกาส และศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งได้เสนอข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดนโยบายถึงวิธีการปกป้องทั้งชนิดพันธุ์สัตว์ป่า ความเป็นอยู่ของคน และสังคมได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและการลงทุนในด้านการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า การดำรงชีวิตของผู้คนในชนบท และแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
People and Planet: Addressing the Interlinked Challenges of Climate Change, Poverty and Hunger in Asia and the Pacific
รายงาน “People and Planet: Addressing the Interlinked Challenges of Climate Change, Poverty and Hunger in Asia and the Pacific” ฉบับนี้อยู่ในซีรีย์ Asia-Pacific Sustainable Development Goals (SDG) Partnership กล่าวถึงการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความยากจน และความหิวโหยในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบที่แตกต่างกันของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งส่งผลต่อความยากจนและความหิวโหย สืบเนื่องจากภาวะกดดันด้านค่าครองชีพ ความขัดแย้งทั่วโลก และภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในขณะที่หลายประเทศยังคงฟื้นฟูจากความตึงเครียดทางการคลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การกู้ยืมเกินตัว และต้นทุนหนี้ที่สูง พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางแก้ไขเชิงบูรณาการ โดยคำนึงถึงปัจจัยสนับสนุน เช่น การศึกษา การสร้างเสริมศักยภาพของสถาบัน การเงินเพื่อนวัตกรรม และการสร้างความร่วมมือ พร้อมกับตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีและสัมฤทธิ์ผลเพื่อนำไปดำเนินการต่อ หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The […]
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2024
รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2024: Showcasing Transformative Actions” เป็นหนึ่งในรายงานสำคัญประจำปีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ สำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) รายงานฉบับนี้ ให้ภาพรวมของความก้าวหน้าของการดำเนินงานเพื่อบรรลุ SDGs ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สำหรับปีนี้ รายงานเน้นย้ำเรื่องราวความสำเร็จและแนวโน้มต่าง ๆ พร้อมทั้งอุปสรรคเฉพาะที่พบในแต่ละพื้นที่ภายในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังระบุถึงลำดับความสำคัญในการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด SDGs โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มประชากรที่เปราะบางที่สุด ซึ่งจะช่วยในการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาให้เท่าเทียมและครอบคลุมยิ่งขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Asia and the Pacific – Regional Overview of Food Security and Nutrition 2023
“รายงาน “”Asia and the Pacific – Regional Overview of Food Security and Nutrition 2023 Statistics and Trends”” ในรูปแบบรายงานดิจิทัล นำเสนอสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการล่าสุดของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยเน้นย้ำถึงความก้าวหน้า (หรือความล่าช้า) ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยเฉพาะ SDG 2 ยุติความหิวโหย และเป้าหมาย World Health Assembly 2030 ด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ สถิติล่าสุดพบว่า ภูมิภาคนี้มีผู้ขาดสารอาหารมากถึง 370.7 ล้านคน คิดเป็นครึ่งหนึ่งของตัวเลขทั้งโลก เช่นเดียวกัน โดยผู้หญิงมีภาวะขาดแคลนอาหารมากกว่าผู้ชาย อัตราการเกิดภาวะแคระแกร็น ผอมแห้ง และน้ำหนักเกินในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี รวมถึงภาวะโลหิตจางในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ยังคงห่างไกลจากเป้าหมายโภชนาการทั่วโลกของ World Health Assembly” หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ […]