Proposals for Crisis-response Provisions in Regional and Bilateral Transport Agreements of the ESCAP Member States
รายงาน “Proposals for crisis-response provisions in regional and bilateral transport agreements of the ESCAP member States” นำเสนอข้อมูลว่าการขนส่งและการค้ามีความเชื่อมโยงอย่างไรกับการระบาดใหญ่ โดยพูดถึงเนื้อหาการออกกฎระเบียบหรือมาตราการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ COVID-19 แต่กลับนำไปสู่ผลกระทบทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งรายฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้แต่ละประเทศ มีการปรับเปลี่ยนนโยบายหรือมาตรการให้เข้ากับบริบทในประเทศและคู่ค้า และเตรียมความพร้อม หากเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
ESCAP Multi-Donor Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness
รายงาน “ESCAP Multi-Donor Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness” ประจำปี 2020 ฉบับนี้กล่าวถึงความคืบหน้าของการจัดตั้งการป้องกันภัยสึนามิรวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายใต้กองทุน กองทุน ESCAP Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness ซึ่งจะออกเป็นประจำทุกปีเพื่อรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงาน หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development
คู่มือ “Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development” นำเสนอการใช้กระบวนการเรียนรู้ “สะท้อน-แบ่งปัน-ลงมือทำ” เพื่อการค้นหาและกำหนดนิยามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนบริบทของแต่ละชุมชนร่วมกับสมาชิกในชุมชน ผ่านข้อมูลประสบการณ์จริงของชุมชนใน 5 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia and the Pacific SDG Progress Report 2021
รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเอเชียและแปซิฟิก 2021 เป็นการวิเคราะห์ความก้าวหน้าและประเมินช่องว่างที่จะต้องเติมเต็มเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย SDGs ภายในปี 2030 ทั้งนี้ ผู้ที่มีส่วนได้เสียสามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดอันดับความสำคัญ วางแผน นำไปปฏิบัติ และติดตามประเมินผลการพัฒนาตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Advancing SDG 5 in Asia and the Pacific: An analysis of Beijing+25 National Review Reports
รายงาน “Advancing SDG 5 in Asia and the Pacific: An analysis of Beijing+25 national review reports” ประกอบด้วยบทสรุปความท้าทาย ความสำเร็จ และคีย์สำคัญในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศและสริมอำนาจของเพศหญิง นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่แต่ละประเทศควรดำเนินการในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายที่จะเร่งให้เบรรลุความเท่าเทียมทางเพศในระดับภูมิภาค หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
GCED learning and assessment: An Analysis of Four Case Studies in Asia
เอกสาร “GCED learning and assessment: an analysis of four case studies in Asia” รวมกรณีตัวอย่างวิธีการบูรณาการ Global Citizenship Education (GCED) เข้ากับระบบการศึกษาในประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี และเวียดนาม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่มีประโยชน์สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อสร้างสังคมที่มีความสันติสุข ครอบคลุมและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local’
เอกสาร “Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local” เป็นคู่มือที่จะทำให้นักการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาค อันเป็นองค์ประกอบหลักประการหนึ่งของ GCED ที่จะสามารถนำไปสู่การสังคมที่สงบสุข ครอบคลุม และยั่งยืนมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Multi-stakeholder Approaches to Education for Sustainable Development in Local Communities: Towards Achieving the SDGs in Asia
เอกสาร “Multi-stakeholder Approaches to Education for Sustainable Development in Local Communities: Towards Achieving the SDGs in Asia” นำเสนอตัวอย่างแนวทางใหม่ ๆ ในการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development: ESD) ที่ดำเนินการโดย Regional Centres of Expertise on ESD (RCEs) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อประเด็นความยั่งยืนในระดับชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่