Progress on Level of Water Stress – 2021 Update
รายงานสถานการณ์ระดับความตึงเครียดของน้ำของโลกในปี 2021 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชาชนที่ประสบความทุกข์จากการขาดแคลนน้ำภายในปี 2030 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.4.2 ระดับความตึงเครียดด้านน้ำ: สัดส่วนการใช้น้ำจืดต่อปริมาณน้ำจึดทั้งหมด หน่วยงานที่จัดทำ: United Nation Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Water-Use Efficiency – 2021 Update
รายงานสถานการณ์การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพของโลกในปี 2021 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชาชนที่ประสบความทุกข์จากการขาดแคลนน้ำภายในปี 2030 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.4.1 การเปลี่ยนแปลงของการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทุกช่วงเวลา หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Ambient Water Quality – 2021 Update
รายงานสถานการณ์คุณภาพของน้ำโดยรอบ (Ambient Water) ของโลกในปี 2021 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.3 ภายในปี 2030 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.3.2 สัดส่วนของแหล่งน้ำ (เช่น มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบ, แม่น้ำ, ธารน้ำ, คลอง, หรือสระน้ำ) ที่มีคุณภาพน้ำโดยรอบที่ดี หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Wastewater Treatment – 2021 Update
รายงานความคืบหน้าสถานการณ์การบำบัดน้ำเสียของโลกในปี พ.ศ. 2564 รวมถึงสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 6.3 ภายในปี พ.ศ. 2573 รายงานฉบับนี้ได้อาศัยข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 6.3.1 เรื่องการสัดส่วนของน้ำเสียจากครัวเรือนและอุตสาหกรรมที่ได้รับการบำบัดอย่างปลอดภัย หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights Crisis: Children’s Climate Risk Index)
รายงานสรุป “วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก” นำเสนอข้อเท็จจริงใหม่ในระดับโลกเกี่ยวกับจำนวนเด็กที่กำลังเผชิญกับอันตรายและการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (Children’s Climate Risk Index) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Goals Report 2021
รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Report) ประจำปี 2021 นำเสนอผลกระทบจากกว่าหนึ่งปีของการระบาดใหญ่ที่สำคัญในหลายประเด็นการพัฒนา ทั้งอัตราความยากจนขั้นรุนแรงทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี วิกฤตครั้งนี้คุกคามความก้าวหน้าของการพัฒนาที่ดำเนินการมาหลายทศวรรษ สร้างความถดถอยต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และยิ่งแสดงถึงการเพิ่มความจำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอย่างเร่งด่วนขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Sustainable Development Report 2021
รายงาน “Sustainable Development Report 2021” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ dashboards สำหรับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จัดทำโดย SDSN และมูลนิธิ Bertelsmann โดยฉบับนี้ว่าด้วยเรื่องทศวรรษแห่งการลงมือทำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและอธิบายว่าจะนำ SDGs มาช่วยฟื้นฟูจากผลกระทบของโควิด-19 อย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food Security and Nutrition in the World 2021
Transforming food systems for food security, improved nutrition and affordable healthy diets for all รายงานนี้นำเสนอการประเมินความไม่มั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการระดับขอปี 2020 และบ่งชี้ว่าสถานการณ์ความหิวโหยจะเป็นอย่างไรภายในปี 2030 ภายใต้สถานการณ์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นจากผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 นอกจากนี้ยังมีการประมาณการใหม่เกี่ยวกับต้นทุนและความสามารถในการจ่ายซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ด้วย ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ ในภาพรวม รายงานฉบับนี้ยังเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นในการสะท้อนคิดถึงวิธีจัดการกับสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของโลกเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่