Summary Progress Update 2021: SDG 6 – Water and Sanitation for All
รายงานสรุปภาพรวมของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำและสุขาภิบาล ในปี 2021 ที่ได้ดำเนินการโดยโครงการ UN-Water Integrated Monitoring Initiative on SDG 6 (IMI-SDG6) ที่ติดตามการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 โดยอาศัยข้อมูลตัวชี้วัด SDG6 ของแต่ละประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Household Drinking Water, Sanitation, and Hygiene 2000-2020
รายงานสถานการณ์และข้อมูลของการเข้าถึงน้ำสะอาด ปลอดภัย การมีสุขาภิบาล และมีระบบจัดการที่ถูกสุขอนามัยของโลก ตั้งแต่ช่วงปี 2000 – 2020 และการประเมินสถานการณ์สำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน นอกจากนั้น ถือเป็นรายงานฉบับแรกที่ได้รวมเรื่องการจัดการสุขอนามัยประจำเดือน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Energy Progress Report 2021
รายงานสถานการณ์ความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 7 การเข้าถึงพลังงานและพลังงานสะอาด ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พลังงงานหมุนเวียน และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ 7 โดยรายงานฉบับนี้ได้รวบรวมข้อมูลและสถานะจากหลากหลายประเทศในปี 2020/21 เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับผู้กำหนดนโยบาย และผู้สนใจ ในการติดตามสถานการณ์และออกแบบแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: International Energy Agency (IEA) the International Renewable Energy Agency (IRENA), the UN Department of Economic and Social Affairs (UN DESA), the World Bank และ the World Health Organization (WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Employment and Social Outlook: Trends 2021
รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ด้านแรงงานโดยภาพรวมของโลกในปี 2021 ตั้งแต่แนวโน้มลักษณะของตลาดแรงงาน อัตราการว่างงาน และความเสี่ยงอื่น ๆ ต่อการจ้างงานที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการจ้างงาน เทคโนโลยี และโครงสร้างประชากร นอกจากนั้น รายงานฉบับนี้ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable Development Goals: 2021 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All
รายงานฉบับนี้เป็นรายงานความคืบหน้าของแผนปฏิบัติการเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีสำหรับทุกคน (Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All) ฉบับที่สอง โดยนำเสนอแผนงานในการพัฒนาระยะยาวที่จำเป็นสำหรับองค์กรต่าง ๆ ทั้ง 13 องค์กรที่สนับสนุนการพัฒนาด้านสุขภาพให้ประเทศต่าง ๆ ฟื้นกลับจากการระบาดของโควิด-19 พร้อมกับที่เดินหน้าขับเคลื่อนในเป้าประสงค์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Health Statistics 2021: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World Health Statistics 2021: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นการรวบรวมข้อมูลล่าสุดด้านสุขภาพและตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพสำหรับประเทศสมาชิกทั้งหมด 194 ประเทศ นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำประเด็นผลกระทบและความสูญเสียจากการระบาดของโควิด-19 โดยการที่จะฟื้นฟูกลับมาต้องพึ่งพิงการมีข้อมูลจำนวนมากและระบบข้อมูลด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of the World’s Midwifery 2021
รายงานการศึกษาที่ประเมินสถานการณ์การผดุงครรภ์ (Midwifery)ในภาคสาธารณสุข เพื่อให้เห็นสถานการณ์ของการดูแลมารดาระหว่างและหลังจากที่ให้กำเนิดบุตร โดยรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลกในช่วงปี 2021 นอกจากนั้น รายงานฉบับนี้จะช่วยแสดงให้เห็นถึงประเด็นความท้าทายจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประเด็นที่ต้องการส่งเสริม และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการผดุงครรภ์ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA), องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ สมาพันธ์ผดุงครรภ์นานาชาติ (International Confederation of Midwives: ICM) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Report on Food Crises 2021
รายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหาร 2564 ฉายภาพสถานการณ์วิกฤติความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรงใน 55 ประเทศ/เขตแดนทั่วโลก โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่เดิม การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างฉับพลันอันเป็นผลมาจากโควิด-19 และสภาพอากาศสุดขั้ว (extreme weather) ทั้งนี้ สำหรับปี 2564 จำนวนประชากรโลกที่เผชิญกับสภาวะดังกล่าว ถือว่ามีจำนวนสูงที่สุด ตามข้อมูลที่ปรากฎในรายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหารที่มีมา 5 ปีแล้ว หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่