Hygiene: UN-Water GLAAS Findings on National Policies, Plans, Targets and Finance
รายงานสรุปข้อมูลและสถานการณ์ของการดำเนินนโยบายของภาครัฐ และหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ (external support agencies: ESAs) เพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดีในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ซึ่งข้อมูลถูกรวบรวมและวิเคราะห์โดย UN-Water Global Analysis and Assessment of Sanitation and Drinking-Water (GLAAS) หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Health Statistics 2020: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World health statistics 2020: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” สรุปแนวโน้มล่าสุดเรื่องอายุขัยของคน (life expectancy) และรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพ ตลอดจนเป้าหมายและเป้าประสงค์อื่นที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Putting Children at the Centre of the Sustainable Development Goals
Policy Brief 5 ปีให้หลังจากที่ประเทศต่าง ๆ ให้คำมั่นต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเมื่อปี 2015 เด็กจำนวนมากถึง 250 ล้านคนยังไม่ได้รับการส่งเสริมตามศักยภาพของตนอย่างเต็มกำลังได้ รายงาน “Putting children at the centre of the Sustainable Development Goals” ฉบับนี้ เป็นคำแนะนำให้ผู้กำหนดนโยบายตระหนักว่าความเป็นอยู่ของเด็กเป็นตัวชี้วัดหรือหัวใจสำคัญของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Guidelines for the Use of the SDG Logo including the Colour Wheel and 17 Icons
คู่มือ “Guidelines for the Use of the SDG Logo including the Colour Wheel and 17 Icons” หรือ “คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งรวมถึงวงล้อสี SDGs และเครื่องหมาย (ไอคอน) SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย” (ฉบับปรับปรุงล่าสุด: พฤษภาคม 2020) ครอบคลุมแนวทางการใช้โลโก้ SDGs สำหรับหน่วยงานที่ไม่ได้อยู่ภายใต้องค์การสหประชาชาติ (non-UN entities) และอยู่ใต้องค์การสหประชาชาติ (UN entities) ข้อห้ามในการใช้โลโก้ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ทั้งหมด ข้อกำหนดโดยละเอียดในการจัดวาง ขนาดและสัดส่วน การจับคู่โลโก้ วงล้อสี และเครื่องหมาย SDGs กับโลโก้อื่นเพื่อบริบทการใช้งานต่าง ๆ ฟอนต์และโค้ดสี พร้อมลิงก์ในการดาวน์โหลดไฟล์โลโก้ทั้งหมดเพื่อนำไปใช้เผยแพร่ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index
Policy Brief จากสถานการณ์โลกที่เผชิญกับภาวะโลกร้อน โรคระบาด วิกฤติภาวะทุพโภชนาการ และวิกฤติความขัดแย้งและการโยกย้ายถิ่นฐาน ทำให้เด็กเปราะบางและมักตกเป็นเหยื่อ รายงานสรุปเชิงนโยบาย “Measuring children’s well-being: the Child Flourishing and Futures Index” จึงนำเสนอดัชนีโลก (global index) ที่สำรวจ 180 ประเทศ โดยแสดงให้เห็นว่าไม่มีประเทศใดที่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับการที่เด็กจะมีได้มีสุขภาพที่ดีทั้งในวันนี้และในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Report on Food Crises 2020
รายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหาร 2563 อธิบายถึงขนาดของความหิวโหยอย่างรุนแรงในโลก พร้อมวิเคราะห์สาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤติอาหาร และสำรวจสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ว่ามีผลต่อประเด็นความมั่นคงอาหารอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2020
รายงานความสุขโลกประจำปี 2020 จัดอันดับ 156 ประเทศตามระดับความสุขของประชาชนในประเทศ และเป็นฉบับแรกที่มีการจัดอันดับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกตามความเป็นอยู่ที่ดี และเจาะลึกว่ามิติด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม พื้นที่เมือง และธรรมชาติ รวมกันนั้นส่งผลต่อความสุขของเราอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
การ์ตูนมังงะเงียบในธีม Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ)
การ์ตูนมังงะเงียบในธีม Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ) 15 เรื่อง จากผลงานทั้งหมด 274 ชิ้นจากศิลปินที่เข้าร่วมประกวดจาก 117 ประเทศทั่วโลก ซึ่งฉายภาพความหมายของสันติภาพ ผ่านเรื่องราวหลายหัวข้อ เช่น เด็กนอกระบบการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต การต่อต้านการกลั่นแกล้งรังแก ความขัดแย้ง เยาวชน การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ผู้ลี้ภัย และประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมร่วม ที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในการสร้างสังคมที่มีสันติภาพ ความเป็นธรรม ยุติธรรมยิ่งขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่