World Employment and Social Outlook: Trends 2020
รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ด้านแรงงานโดยภาพรวมของโลกในปี 2020 ตั้งแต่แนวโน้มลักษณะของตลาดแรงงาน อัตราการว่างงาน และความเสี่ยงอื่น ๆ ต่อการจ้างงานที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการจ้างงาน เทคโนโลยี และโครงสร้างประชากร หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2020
Overcoming water challenges in agriculture รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2563 ประเมินการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ทำชลประทานและในพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำฝน รวมทั้งประเมินผลกระทบที่มีต่อเกษตกรรายย่อยและประชาชน โดยมีข้อมูลและหลักฐานความแตกต่างตามบริบทของแต่ละประเทศ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ มีข้อมูลที่เพียงพอประกอบการจัดทำนโยบาย/มาตรการที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำสำหรับภาคเกษตรกรรม โดยที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภคได้อย่างเสมอภาคและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Small Island Developing States Response to COVID-19
Highlighting food security, nutrition and sustainable food systems Policy Brief นี้ได้สำรวจผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อระบบอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการของรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก รวมถึงการใช้มาตรการตอบสนองอย่างรวดเร็ว อาทิ การพยายามทำให้มาตรการหลาย ๆ อย่างของภาคเกษตรกรรมเป็นรูปแบบดิจิทัล เช่น e-commerce และ mobile banking เป็นต้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Fisheries and Aquaculture Advantage: Fostering Food Security and Nutrition, Increasing Incomes and Empowerment
รายงาน “The Fisheries and Aquaculture Advantage: Fostering food security and nutrition, increasing incomes and empowerment” นำเสนอบทเรียนและความสำเร็จของการลงทุนด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการดำเนินการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) กับเกษตรกรรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agricultural Development: IFAD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Stronger Collaboration, Better Health
Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All “Stronger Collaboration, Better Health” เป็นแผ่นพับ (Brochure) สรุปมาจากรายงาน “Stronger Collaboration, Better Health” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง 12 องค์กรที่มีส่วนร่วมด้านสุขภาพ การพัฒนา และการตอบโต้ทางมนุษยธรรม เพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าของประเทศตามเป้าประสงค์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: แผ่นพับฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Stronger Collaboration, Better Health
Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All นำเสนอแผนปฏิบัติการเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีสำหรับทุกคน (Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง 12 องค์กรที่มีส่วนร่วมด้านสุขภาพ การพัฒนา และการตอบโต้ทางมนุษยธรรม เพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าของประเทศตามเป้าประสงค์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019
รายงาน “Global Sustainable Development Report (GSDR) 2019” เขียนโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ (Independent Group of Scientists: IGS) เป็นรายงานฉบับสำคัญที่เผยแพร่ทุก 4 ปีนับตั้งแต่มีการลงนามรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ โดยในฉบับแรกภายใต้หัวข้อ “The Future is Now: Science for Achieving Sustainable Development” พบว่าการทำความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่าง SDGs แต่ละเป้าหมายกับระบบในสังคมที่เป็นรูปธรรมทั้งในรูปแบบเสริมพลังกัน (synergy) และสวนทางกัน (trade-off) จะเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดนโยบายที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมได้ หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Six Transformations to achieve the Sustainable Development Goals
‘6 ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs’ เป็นยุทธศาสตร์เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Climate Accord) มีมาตรการสำคัญ (Key Interventions) คือต้องดำเนินการควบคู่กันทั้ง 6 ด้าน เพื่อทำให้เกิดผลผลิต/ผลลัพธ์ขั้นกลาง (Intermediate Output/Outcome) ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs อีกต่อหนึ่ง ผู้แต่ง: Jeffrey Sachs และคณะ ดาวน์โหลดที่นี่