World Health Statistics 2024: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World Health Statistics 2024: Monitoring Health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นรายงานความก้าวหน้าตัวชี้วัดด้านสุขภาพประจำปีที่จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 โดยในฉบับปี 2024 นี้ จะเป็นการทบทวนสถานะล่าสุดของตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Indicators) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพมากกว่า 50 ตัวชี้วัดที่อยู่ในเป้าหมายต่าง ๆ และสถานะตามแผนการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 13 (The Thirteenth General Programme of Work: GPW 13) ของทุกประเทศทั่วโลก พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ที่ทำให้แนวโน้มความก้าวหน้าที่ดีขึ้นของอายุขัยคาดเฉลี่ยแรกเกิดและอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีถอยหลังลง หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 11 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “ความเครียด ภัยเงียบของสังคมไทย” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
The Impact of Climate Change on Education and What to do About it
รายงานการศึกษา “The Impact of Climate Change on Education and What to do About it” มุ่งเน้นไปที่การค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการศึกษา โดยเฉพาะผลกระทบเชิงลบของสภาพอากาศเลวร้ายที่มีต่อผลลัพธ์ด้านการศึกษา งานวิจัยนี้มุ่งเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนที่รัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญและดำเนินกลยุทธ์เพื่อปกป้องระบบการศึกษาจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การลดความยากจน และความเป็นปึกแผ่นสมานฉันท์ในสังคม (social cohesion) หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2024
รายงาน “World Happiness Report ประจำปี 2024” จัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยจะประเมินความสุขตามเกณฑ์ต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนทางสังคม รายได้ ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี และการทุจริต เป็นต้น โดยฉบับนี้กล่าวถึงความสุขของคนแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงสูงอายุ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Human Development Report 2023-24
รายงานการพัฒนามนุษย์ “Human Development Report 2023-24 | Breaking the gridlock: Reimagining Cooperation in a Polarized World” นำเสนอดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดโดยรวมที่สะท้อนถึงรายได้ประชาชาติสุทธิต่อประชากร (Gross National Income: GNI) ต่อหัว การศึกษา และอายุขัยของประชากรในประเทศนั้น ๆ โดยรายงานของปีนี้เป็นการประเมินภาวะหยุดชะงักอันตรายที่เกิดจากความก้าวหน้าในการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรง และความแตกแยกทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น พร้อมกับเสนอแนวทางไปข้างหน้าโดยให้การทำงานแบบพหุภาคี (multilateralism) มีบทบาทสำคัญ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems
เอกสาร “Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems” นำเสนอสรุปงานวิจัยแนวโน้มการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบสวัสดิการสังคมทั่วโลก และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องมีกระบวนการที่โปร่งใสและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ดีขึ้น บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดความกระจ่างในประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เพิ่งเกิดขึ้น และเสนอแนะแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดหย่อนภัยคุกคามดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: Amnesty International ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Unjust Climate
รายงาน “The Unjust Climate” นำเสนอผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อรายได้และการปรับตัวของคนในพื้นที่ชนบทที่แตกต่างกันเพราะเพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ และอายุของประชากร โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลจากประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง 24 ประเทศ ใน 5 ภูมิภาคของโลก จากครัวเรือนในชนบททั้งหมด 109,341 ครัวเรือน (คิดเป็นประชากรชนบทกว่า 950 ล้านคน) วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลฝนรายวันและอุณหภูมิที่อ้างอิงทางภูมิศาสตร์ 70 ปี เพื่อช่วยในการแยกแยะว่าสภาวะกดดันด้านสภาพภูมิอากาศแบบต่าง ๆ ส่งผลต่อรายได้จากกิจกรรมการเกษตร/นอกการเกษตรและรายได้รวม การจัดสรรแรงงาน และการปรับตัวของผู้คนอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific
เอกสารสรุปข้อมูล (Information brief) “The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific” นำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างสัตว์ป่า-สุขภาพ-การดำรงชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จัดทำขึ้นเป็นฉบับแรก วัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นภาพรวมของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ป่า และสุขภาพ ตลอดจนประเด็นด้านความท้าทาย โอกาส และศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งได้เสนอข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดนโยบายถึงวิธีการปกป้องทั้งชนิดพันธุ์สัตว์ป่า ความเป็นอยู่ของคน และสังคมได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและการลงทุนในด้านการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า การดำรงชีวิตของผู้คนในชนบท และแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่