Reducing Inequality in the Decade of Action to Achieve the SDGs and Accelerate Post-pandemic Recovery
บทสรุปเชิงนโยบาย “Reducing Inequality in the Decade of Action to Achieve the SDGs and Accelerate Post-pandemic Recovery” ให้ความสำคัญและขยายความแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำในภูมิภาคอาเซียนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ บทความนี้ยังกล่าวถึงผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำต่อประชากรในมิติต่าง ๆ ครอบคลุมประเด็นสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่ งาน สวัสดิการสังคม การศึกษา สาธารณสุข และความมั่นคงทางอาหาร โดยบทสรุปเชิงนโยบายนี้เป็นผลลัพธ์จากการหารือบนเวทีการประชุมเชิงวิชาการอาเซียน-จีน-UNDP ครั้งที่ 6 เกี่ยวกับ SDGs หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Asia-Pacific Migration Data Report 2021
รายงาน “Asia–Pacific Migration Data Report 2021” รวบรวมหลักฐานล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์การย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปีพ.ศ. 2564 โดยเสนอผ่านเลนส์ของการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และภายใต้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอัฟกานิสถานและเมียนมา และผลกระทบที่เด่นชัดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564
รายงาน “รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอและเผยแพร่ดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index: HAI) พร้อมผลการวิเคราะห์และการประเมินความก้าวหน้าของคนในระดับประเทศ ภาค และจังหวัดของไทย ผ่านกรอบแนวคิดการวิเคราะห์หลายด้าน ครอบคลุมดัชนีย่อยในประเด็น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ชีวิตการงาน เศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ชีวิตครอบครัวและชุมชน การคมนาคมและการสื่อสาร และการมีส่วนร่วม หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564
“รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564” เป็นรายงานประจำปีที่ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63
“รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63” เป็นรายงานประจำปีที่ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 12 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ และ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ฉบับปีนี้มาในธีม “ครอบครัวไทยในวิกฤตโควิด-19” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร
รายงาน “10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร” เป็นผลงานจากโครงการระดับท้องถิ่นในหัวข้อ “การพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องิ่นและนำร่องแผนงานของชุมชนเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาหาร การบริโภคอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยในกลุ่มผู้เปราะบางในจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี” ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย สถาบันไทยนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและสมาพันธ์สวิส มีวัตถุประสงค์ของเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในสังคมและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของท้องถิ่นผ่านการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองและชุมชนในบริบทของ COVID-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
World Social Protection Report 2020-22
Social protection at the crossroads – in pursuit of a better future รายงานการคุ้มครองทางสังคมของโลก 2563 – 2565 รวบรวมข้อมูลระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลกล่าสุด รวมถึงแนวโน้มระบบการคุ้มครองทางสังคม การคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐาน (social protection floors) และการใช้จ่ายของงบประมาณภาครัฐ อาทิ นโยบายที่เกี่ยวกับวัยแรงงานผู้หญิงและผู้ชาย การให้กำเนิดบุตร การจ้างงานผู้พิการและผู้ที่เจ็บป่วย การว่างงาน ผู้สูงอายุและเงินบำนาญ รวมถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และที่สำคัญคือผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อมาตรการคุ้มครองทางสังคม รายงานฉบับนี้เป็นแหล่งข้อมูลเชิงสถิติสำหรับตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 1.3.1 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่