Migration and the SDGs: Measuring Progress – An Edited Volume
รายงาน “Migration and the SDGs: Measuring Progress – An Edited Volume” นำเสนอข้อมูลล่าสุดของแนวโน้มการโยกย้ายถิ่นฐานที่ส่งผลกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะกับทุกตัวชี้วัดภายใต้เป้าประสงค์ SDG10.7 รวมทั้งยังรวบรวมแนวคิดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบและติดตามข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานในระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เอกสาร “มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเศรษฐสร้างสรรค์ในฐานะ Soft Power ตลอดจนรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ จากวิทยานิพนธ์และงานวิจัยสําคัญในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย “แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19” เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเสียหลากหลายกลุ่ม ที่จัดโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางแก่รัฐบาลไทยในการทบทวน พัฒนา และดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงานข้ามชาติที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่
Compulsory Treatment and Rehabilitation in East and Southeast Asia
รายงาน “Compulsory drug treatment & rehabilitation in East & Southeast Asia” หรือ การบำบัดและการฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดแบบบังคับในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเอกสาร 3 เล่มที่รายงานความก้าวหน้าและตัวอย่างกรณีในประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านจากการเข้าสถานบำบัดสำหรับผู้ใช้ยาเสพติดแบบบังคับมาเป็นให้สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาผู้ใช้ยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (community-based treatment: CBTX) และการแพทย์ทางเลือก รวมไปถึงประเด็นการลดอันตรายจากยาเสพติดและบริการสนับสนุนทางสังคมอื่น ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (UNAIDS Asia Pacific) และสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Directory of Stateless Children Protection Stakeholders
เอกสารรวบรวมรายชื่อองค์กรและหน่วยงานทั่วประเทศไทยที่ทำงานเพื่อสนับสนุนและคุ้มครองเด็กไร้สัญชาติ หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
World Inequality Report 2022
รายงาน “World Inequality Report 2022” นำเสนอข้อมูลและสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำโลกล่าสุดและครอบคลุมที่สุด ที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ทั้งมิติความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง รายได้ เพศ และทางนิเวศวิทยา (ecological) โดยเป็นผลลัพธ์จากการทำงานจากนักวิจัยกว่าร้อยคนในระยะเวลาสี่ปีจากทุกทั่วโลกที่ร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูลความเหลื่อมล้ำโลก (World Inequality Database: WID.world) หน่วยงานที่จัดทำ: World Inequality Lab ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role of Business
งานวิจัย “Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role of Business” ศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมจะเพิ่มความเสี่ยงของการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ในห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศอย่างไร โดยมุ้งเน้นพื้นที่ศึกษาคือภาคเกษตรกรรมในมาเลเซียและไทย หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) และ Stockholm Environment Institute ดาวน์โหลด: เอกสารอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2563
รายงาน “รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2563” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอและเผยแพร่ดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index: HAI) พร้อมผลการวิเคราะห์และการประเมินความก้าวหน้าของคนในระดับประเทศ ภาค และจังหวัดของไทย ผ่านกรอบแนวคิดการวิเคราะห์หลายด้าน ครอบคลุมดัชนีย่อยในประเด็น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ชีวิตการงาน เศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ชีวิตครอบครัวและชุมชน การคมนาคมและการสื่อสาร และการมีส่วนร่วม หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่