รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2563
“รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2563” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย โดยวิเคราะห์ถึงลักษณะปัญหา โครงการสำคัญของภาครัฐในการแก้ปัญหา ช่องว่างของนโยบาย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
National Cooling Action Plan Methodology
รายงาน “National Cooling Action Plan Methofology” นำเสนอหลักการแบบองค์รวมสำหรับการพัฒนาแผนปฏิบัติการการใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (NCAP) ซึ่งเอกสารฉบับนี้ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับบริบทในแต่ละประเทศ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ใช้ระบบการทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
การนำโรงเรียนไปสู่ทุกคน – การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสใน “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” จังหวัดแม่ฮ่องสอน
รายงาน “การนำโรงเรียนไปสู่ทุกคน – การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสใน “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ((Bringing the School to the Students: Education Provision for Disadvantaged Children in the ‘District Schools’ of Mae Hong Son Province) นำเสนอข้อมูลประวัติความเป็นมา บทเรียนที่ได้รับจากการทำโครงการ “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กเครือข่ายอื่น ๆ โดยเป็นบทเรียนเฉพาะจากพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2564
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2564” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 10 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “COVID-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
In the Red: the US Failure to Deliver on a Promise of Racial Equality
รายงาน “In the Red: the US Failure to Deliver on a Promise of Racial Equality” เผยถึงความไม่ท่าเทียมทางเชื้อชาติ ซึ่งโดยเฉลี่ยชุมชนของคนขาว (white communities) ได้รับทรัพยากรและบริการมากกว่ากลุมอื่น ๆ ถึง 3 เท่า ขณะที่กลุ่มคนผิวสีและคนพื้นเมืองมีแนวโน้มที่จะถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลังมากที่สุด หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น: 48 ปีสถานการณ์เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย (2515–2563)
รายงานสรุป “ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น: 48 ปีสถานการณ์เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย (2515 – 2563) (Invisible Lives: 48 Years of the Situation of Stateless Children in Thailand (1972-2020))” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Ending Childhood Statelessness in Thailand: Developing an Accelerated Nationality Review Model through Research and Empowerment of Stakeholders ดำเนินการศึกษาทบทวนสถานการณ์ปัญหา ข้อจำกัดในการเข้าถึงการจดทะเบียนการเกิด และพัฒนาสิทธิในสัญชาติไทยของเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางปฏิบัติ เพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก
รายงาน “Assessing internet development in Thailand: using UNESCO’s Internet Universality ROAM-X Indicators” หรือ “การประเมินผลการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ROAM-X ของยูเนสโก” เสนอผลประเมินความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัด ROAM-X ของยูเนสโก ผ่านการศึกษาบทสัมภาษณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ การทบทวนงานเขียน และข้อคิดเห็นจากรัฐบาล ภาคประชาสังคม และตัวแทนภาคธุรกิจ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่
เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ (SDG 10: Reduced Inequalities)
ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยร้อยละ 10 ของผู้ร่ำรวยที่สุด มีรายได้เป็นร้อยละ 40 ของรายได้รวมทั่วโลก ในขณะที่ร้อยละ 10 ของคนจนที่สุด มีรายได้เพียงร้อยละ 2 – 7 ของรายได้รวมทั่วโลกและพบว่าในประเทศกำลังพัฒนา ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ตามการเติบโตของประชากร การจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องมีนโยบายที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประชากรกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ และส่งเสริมความครอบคลุมทางเศรษฐกิจให้กับทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกทางเพศ เชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ยังต้องมีความร่วมมือระดับโลกเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและกำกับดูแลตลาดและสถาบันการเงิน รวมทั้งส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาคที่มีความจำเป็นมากที่สุดการอำนวยความสะดวกการอพยพย้ายถิ่นที่ปลอดภัยและการเคลื่อนย้ายของผู้คนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :