Child-responsive Urban Policies, Laws and Standards: A Guidance
คู่มือ “Child-responsive urban policies, laws and standards: a guidance” พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนภาครัฐในการสร้างพื้นที่เขตเมืองที่เด็กสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน อากาศและน้ำสะอาดได้ รวมถึงรู้สึกปลอดภัยที่จะเล่น เรียนรู้ และเติบโต โดยรับฟังความต้องการของเด็กเข้ามาในนโยบายสาธารณะและกระบวนการตัดสินใจด้วย และชี้ให้เห็นว่านโยบายและกฎหมายมีบทบาทในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในประเด็นดังกล่าวอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) และกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas
เอกสาร “Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas” พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยและข้อมูลจากโครงการเชิงปฏิบัติการที่ใช้การแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) เพื่อการปรับตัวและสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่พื้นที่ที่อยู่อาศัยแออัดเพื่อให้เข้าใจถึงศักยภาพในการดำเนินการขยายขนาดและความท้าทายได้ดียิ่งขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการศึกษาที่ประโยชน์ในการสร้างความสามารถลดความเสี่ยง จัดการกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับคนยากจนในเขตเมืองและแก่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Managing Smart City Governance – A playbook for Local and Regional Governments
เอกสาร “Managing smart city governance – A playbook for local and regional governments” ฉบับนี้มุ่งเน้นสร้างประโยชน์ให้แก่องค์การการปกครองท้องถิ่น ผู้นำทางการเมือง ผู้บริหารระดับท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการริเริ่มเมืองอัจฉริยะ ในการพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และยั่งยืนสำหรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลของเมืองต่าง ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
ASEAN Sustainable Urbanisation Report
รายงาน “ASEAN Sustainable Urbanisation Report” ฉายภาพความหลากหลายของบริบทเมืองในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำคัญของเมืองรอง (Secondary Cities) ที่เพิ่มขึ้นและความจำเป็นในการเสริมสร้างศักยภาพของเมืองเหล่านี้อย่างเต็มที่ รายงานนี้มุ่งหวังส่งเสริมความเข้าใจถึงโอกาสและความท้าทายของการพัฒนาเมืองและเน้นวิธีการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดอนาคตเมืองที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Thailand’s BCG Transformation – 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action
หนังสือ “Thailand’s BCG Transformation. 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” รวบรวมเรื่องราวความสำเร็จของ BCG Model ที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งระดับบุคคลหรือครัวเรือน ระดับองค์กรธุรกิจ และระดับชาติ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งแสดงความเชื่อมโยงในการใช้กลยุทธ BCG Model บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างแนวทางที่ชัดเจนไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDG Investor Map Thailand 2022
โครงการ “แผนท่ีการลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนา ท่ียั่งงยืน” (SDG Investor Maps) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มการลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Investor Platform) เพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการนำเสนอโอกาสด้านการลงทุน (Investment Opportunity Area: IOA) ในธุรกิจท่ีสามารถตอบ โจทย์การพัฒนาท่ียั่งยืนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยเป็นการนำเสนอข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนต่าง ๆ อาทิ โอกาสทางการตลาด ผลตอบแทนจากการลงทุน ผลประโยชน์ด้านความยั่งยืนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงความเสี่ยงท่ีเกี่ยวข้อง โดยเป็นความร่วมมือระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือสถาปัตยกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ 17 ประการ ฉบับภาษาไทย
“คู่มือสถาปัตยกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ 17 ประการ ฉบับภาษาไทย” (AN ARCHITECTURE GUIDE to the UN 17 Sustainable Development Goals (THAI VERSION) ให้ตัวอย่างสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่การออกแบบอย่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้พื้นฐานของการมีสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างที่สามารถสนับสนุน SDGs แต่ละเป้าหมายอย่างไร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมสีเขียวและยั่งยืนที่ดีที่สุดในบริบทของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: มูลนิธิอาคารเขียวไทย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564
รายงาน “รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564” เป็นรายงานประจำปีที่นำเสนอและเผยแพร่ดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index: HAI) พร้อมผลการวิเคราะห์และการประเมินความก้าวหน้าของคนในระดับประเทศ ภาค และจังหวัดของไทย ผ่านกรอบแนวคิดการวิเคราะห์หลายด้าน ครอบคลุมดัชนีย่อยในประเด็น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ชีวิตการงาน เศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ชีวิตครอบครัวและชุมชน การคมนาคมและการสื่อสาร และการมีส่วนร่วม หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่