The Cost of Inaction: Quantifying the Impact of Climate Change on Health in Low- and Middle-Income Countries
รายงาน “The Cost of Inaction: Quantifying the Impact of Climate Change on Health in Low- and Middle-Income Countries” ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประเด็นสุขภาพในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง (LMICs) โดยประเมินผลกระทบจากโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ เช่น โรคที่เกิดจากยุงและน้ำ การขาดสารอาหาร และอุณหภูมิความร้อนที่สูงเกินไป พร้อมทั้งคำนวณต้นทุนทางเศรษฐกิจจากการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต รายงานนี้ครอบคลุม 69 ประเทศใน LMICs และประเมินผลกระทบในช่วงปี 2026-2100 ตามสองสถานการณ์เศรษฐกิจ (SSP3 และ SSP2) โดยเรียกร้องให้มีการดำเนินการเร่งด่วนเพื่อลดผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2024
รายงาน “The State of Food and Agriculture 2024” นำเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับระบบการผลิตอาหารทั่วโลกยอดจาก The State of Food and Agriculture 2023 โดยมุ่งเน้นการใช้วิธีการประเมินต้นทุนที่แท้จริง (True Cost Accounting) ในการวิเคราะห์ระบบเกษตรและอาหาร (agri-food systems) และเสนอแนวทางนโยบายเพื่อการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบที่ยั่งยืนมากขึ้น รายงานนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมในระบบเกษตรและอาหาร และเน้นความสำคัญในการทำให้ระบบนี้มีความครอบคลุม (inclusive) ทนทาน (resilient) และยั่งยืน (sustainable) มากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Turning the Tide: From Climate Crisis to Climate Action
รายงาน “Turning the Tide: From Climate Crisis to Climate Action” เน้นย้ำความเร่งด่วนในการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศเพื่อจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส หากไม่ทำตามเป้าหมายนี้ ผลกระทบจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รายงานชี้ให้เห็นถึงช่องว่างทางการเงินมหาศาลในการบรรลุเป้าหมายนี้ และเสนอแนวทางการแก้ไขโดยการระดมทุนและความร่วมมือจากทั่วโลก เพื่อสนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์ป่า การใช้พลังงานสะอาด และการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รายงานฉบับนี้เป็นการเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันลงทุนในอนาคตที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
The Least Developed Countries Report 2024
รายงาน “The Least Developed Countries Report 2024” เป็นแหล่งข้อมูลและการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและสังคมประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก (LDCs) ที่ครอบคลุม โดยมุ่งเน้นให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสของประเทศยากจนที่สุดในโลก โดยเฉพาะในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเข้าร่วมตลาดคาร์บอน รายงานฉบับนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงประสบการณ์ของประเทศเหล่านี้ในการใช้ตลาดคาร์บอนเพื่อพัฒนาประเทศ และเสนอแนวทางในการใช้ประโยชน์จากตลาดคาร์บอนอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Cities Report 2024: Cities and Climate Action
รายงาน “World Cities Report 2024: Cities and Climate Action” ชี้ให้เห็นว่าเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนจำนวนมากในเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง ทั้งนี้ เมืองต่าง ๆ ยังขาดแคลนงบประมาณในการปรับตัวรับกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้เสี่ยงต่อภัยพิบัติต่างๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม รายงานยังมองในแง่บวก โดยชี้ให้เห็นว่าเมืองสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาได้ หากมีการวางแผนและดำเนินการที่เหมาะสม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและการปรับตัวให้เข้ากับบริบทท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Global Risks Report 2025
รายงาน “Global Risks Report 2025” นำเสนอผลจากการเก็บข้อมูลผ่านการสำรวจ Global Risks Perception Survey (GRPS) ปี พ.ศ. 2567 – 2568 สำรวจความเห็นข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 900 รายทั่วโลกในหลากหลายสาขารวมถึงผู้กำหนดนโยบายและผู้นำในอุตสาหกรรมที่มีต่อความเสี่ยงโลกที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น (2 ปี) และความเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นในระยะยาว (10 ปี) หน่วยงานที่จัดทำ: สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ
คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ คู่มือ “Active Learning on Biodiversity and Climate Change: ABC” เพื่อช่วยในการสอนเด็กอายุ 7-18 ปีเกี่ยวกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คู่มือนี้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) องค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) และเครือข่ายเยาวชน โดยประกอบด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุกซึ่งสามารถปรับให้เหมาะสมกับบริบทในท้องถิ่นได้ หน่วยงานที่จัดทำ: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม, องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG 7 Road Map for Thailand
เอกสาร “Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG 7 Road Map for Thailand” มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนรัฐบาลไทยในการประเมินว่านโยบายและกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่มีอยู่สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมาย SDG 7 และ การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDCs) ภายในปี ค.ศ. 2030 เสนอมุมมองเชิงยุทธศาสตร์แก่ผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพลังงานคาร์บอนต่ำของไทย ให้สอดคล้องกับการพยายามระดับโลกเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UN ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่