SDG 13

Mar
01

Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin

รายงาน “Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin” ประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตข้าวและผลกระทบที่เกิดต่อการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Basin: LMB) ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมถึงเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของความร่วมมือระดับภูมิภาคและกลยุทธ์การปรับตัวเชิงรุกเพื่อความยั่งยืนและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของพื้นที่และผู้คนในระยะยาว   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Mar 01 2024
รายงาน
DETAIL
Feb
22

Skills for a Green Transition: Solutions for Youth on the Move

เอกสาร “Skills for a Green Transition: Solutions for Youth on the Move” ให้ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติสำหรับผู้กำหนดนโยบาย นักพัฒนา เพื่อสนับสนุนเยาวชนในการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาทักษะสีเขียว (Green Skills) หรือทักษะความรู้ที่จำเป็นในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยเน้นย้ำความครอบคลุมไปถึงกลุ่มเยาวชนที่ย้ายถิ่นฐาน ผู้ลี้ภัย และเยาวชนที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นฐานในการมีส่วนร่วมหารือและความพยายามที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ด้วย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ยูนิเซฟ และธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Feb 22 2024
คู่มือ
DETAIL
Feb
20

People and Planet: Addressing the Interlinked Challenges of Climate Change, Poverty and Hunger in Asia and the Pacific

รายงาน “People and Planet: Addressing the Interlinked Challenges of Climate Change, Poverty and Hunger in Asia and the Pacific” ฉบับนี้อยู่ในซีรีย์ Asia-Pacific Sustainable Development Goals (SDG) Partnership กล่าวถึงการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความยากจน และความหิวโหยในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบที่แตกต่างกันของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งส่งผลต่อความยากจนและความหิวโหย สืบเนื่องจากภาวะกดดันด้านค่าครองชีพ ความขัดแย้งทั่วโลก และภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในขณะที่หลายประเทศยังคงฟื้นฟูจากความตึงเครียดทางการคลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การกู้ยืมเกินตัว และต้นทุนหนี้ที่สูง พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางแก้ไขเชิงบูรณาการ โดยคำนึงถึงปัจจัยสนับสนุน เช่น การศึกษา การสร้างเสริมศักยภาพของสถาบัน การเงินเพื่อนวัตกรรม และการสร้างความร่วมมือ พร้อมกับตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีและสัมฤทธิ์ผลเพื่อนำไปดำเนินการต่อ   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The […]

Feb 20 2024
รายงาน
DETAIL
Jan
26

Integrating Climate Change (CC), Gender, and Social Inclusion (GSI) into Planning and Budgeting in Thailand

คู่มือ “Integrating Climate Change (CC), Gender, and Social Inclusion (GSI) into Planning and Budgeting in Thailand” หรือ การบูรณาการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อัตลักษณ์ทางเพศและการมีส่วนร่วมทางสังคมเข้าสู่การวางแผนและการจัดทำงบประมาณในประเทศไทย เป็นแนวทางปฏิบัติที่มุ่งสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐของไทยในการบูรณาการมิติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและมิติเพศ-สังคมเข้าสู่การทำงานและการจัดงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของงบประมาณและจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 26 2024
คู่มือ
DETAIL
Dec
09

State of Finance for Nature 2023

รายงาน “State of Finance for Nature 2023” นำเสนอสถานะการไหลเวียนของเงินทุนไปสู่โครงการการแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ประจำปี 2023 และเป็นครั้งแรกที่มีการประเมินมูลค่าของการไหลเวียนเงินทุนในเชิงลบต่อธรรมชาติจากทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 09 2023
รายงาน
DETAIL
Dec
05

The Global Climate 2011-2020: A Decade of Acceleration

“รายงาน “”The Global Climate 2011-2020: A Decade of Acceleration”” นำเสนอสถานการณ์ภูมิอากาศโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความมั่นคงทางอาหาร การอพยพ และการโยกย้ายถิ่น ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศและความก้าวหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อย่างไรก็ตาม รายงานยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการพยากรณ์ล่วงหน้าและระบบเตือนภัยล่วงหน้า และพบว่าเงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศทั้งจากภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าระหว่างปี 2011 ถึง 2020 รายงานนี้รวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพและการประเมินผลกระทบจากผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศหลายสิบคน จาก National Meteorological and Hydrological Services, Regional Climate Centres สำนักงานสถิติแห่งชาติของประเทศต่าง ๆ องค์กรภายใต้สหประชาชาติ”   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Dec 05 2023
รายงาน
DETAIL
Dec
04

On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators

หนังสือ “”On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators”” เขียนโดย Joyeeta Gupta และ Jennifer Allan สรุปบริบทการเจรจาต่อรองในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของระบอบสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ (international climate regime) และองค์กรภายในระบอบ เนื้อหาครอบคลุมกฎระเบียบ รัฐและผู้มีส่วนร่วมที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงกลุ่มต่างๆ ในระบอบการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น กลุ่ม G-77 และจีน ผู้เขียนยังนำเสนอกลยุทธ์ในการรับมือและ “เคล็ดลับ” สำหรับผู้เจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเน้นทักษะการเจรจาที่จำเป็น และเสริมด้วยคำแนะนำสำหรับ “ตัวแทนเจรจาทางการทูตด้านสภาพภูมิอากาศผู้โดดเดี่ยว” (Lonely Climate Change Negotiator) ที่มักเป็นผู้แทนเพียงคนเดียวจากประเทศกำลังพัฒนาในเวทีระดับโลกโดยเฉพาะ หนังสือเล่มนี้เป็นฉบับอัปเดตจากฉบับแรกที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2000 โดยปรับปรุงเนื้อหาจากการวิจัยติดตามผลและการสังเกตกระบวนการเจรจาของผู้เขียน   หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Institute […]

Dec 04 2023
คู่มือ
DETAIL
Nov
29

Nature-based Infrastructure: How Natural Infrastructure Solutions Can Address Sustainable Development Challenges and the Triple Planetary Crisis

รายงาน “Nature-Based Infrastructure: How natural infrastructure solutions can address sustainable development challenges and the triple planetary crisis” นำเสนอผลการศึกษาว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based infrastructure) มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้มากถึง 79% ของเป้าหมายย่อยทั้งหมด และยังช่วยปิดช่องว่างของโครงสร้างพื้นฐาน และในขณะเดียวกันยังสามารถตอบสนองต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพไปพร้อมกัน   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) สำนักงานบริการโครงการแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Project Services: UNOPS) และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่

Nov 29 2023
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP