Lessons from COVID-19 for Climate Change
เอกสารสมุดปกขาว “Lessons from COVID-19 for Climate Change” นำเสนอการพัฒนายุทธศาสตร์ในรูปแบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อกระกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จัดการกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ซึ่งเป็นบทเรียนที่ได้จากช่วงเวลาการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤติระดับโลกเช่นกัน หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เอกสาร “มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเศรษฐสร้างสรรค์ในฐานะ Soft Power ตลอดจนรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ จากวิทยานิพนธ์และงานวิจัยสําคัญในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
สุรชาติ ชาวประมงผู้พิชิตคลื่นสึนามิ
หนังสือภาพ “สุรชาติ ชาวประมงผู้พิชิตคลื่นสึนามิ” เป็นส่วนหนึ่งของ UNDP ‘Tsunami Story Books’ ชุดของเรื่องราวชีวิตจริงจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงความรุนแรงของสึนามิและวิธีรับมือให้ดียิ่งขึ้น แต่ละเรื่องประกอบด้วยฮีโร่ในชุมชนที่แตกต่างกัน และอธิบายวิธีที่เด็ก ๆ สามารถปกป้องตนเอง ครอบครัว และเพื่อนฝูงจากสึนามิ และจัดการกับอารมณ์ที่ยากลำบากเมื่อต้องเผชิญกับสึนามิ เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี หน่วยงานที่จัดทำ: UNDP Asia-Pacific ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
คู่มือแนวทางการออกแบบและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
“คู่มือแนวทางการออกแบบและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism)” ให้กระบวนการและองค์ความรู้ที่จะเปลี่ยนภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้เป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ เตรียมความพร้อมให้กับชุมชนและธุรกิจท่องเที่ยวสู่การท่องเที่ยววิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างจุดเด่นและข้อได้เปรียบในตลาดท่องเที่ยวโลก หน่วยงานที่จัดทำ: ฝ่ายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
สิทธิเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีในภูมิภาคอาเซียน – หลักการและแนวทางนโยบาย
เอกสาร “สิทธิเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีในภูมิภาคอาเซียน – หลักการและแนวทางนโยบาย” นำเสนอเนื้อหาสรุปภาษาไทยฉบับ Child-friendly จากคู่มือ “Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region” กำหนดหลักการพื้นฐานเพื่อรับรองสิทธิของเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด สุขภาพดี และยั่งยืน รวมทั้งการยึดถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นศูนย์กลางของโครงการริเริ่มต่าง ๆ โดยทุกภาคส่วนของสังคมในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสำนักงานข้าสูงผู้แทนสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษไทยได้ ที่นี่
Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region
เอกสารคู่มือ “Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region” กำหนดหลักการพื้นฐานเพื่อรับรองสิทธิของเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด สุขภาพดี และยั่งยืน รวมทั้งการยึดถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นศูนย์กลางของโครงการริเริ่มต่าง ๆ โดยทุกภาคส่วนของสังคมในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อหาในเอกสารผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในด้านสิทธิเด็กและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงกับเด็กและเยาวชนจากทั่วทั้งภูมิภาคด้วย หลักการและแนวทางนโยบายในเอกสารนี้จะมอบแนวนโยบายที่เป็นประโยชน์ให้รัฐบาล ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ สื่อมวลชน และเด็กนำไปปฏิบัติเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสำนักงานข้าสูงผู้แทนสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights Crisis: Children’s Climate Risk Index)
รายงานสรุป “วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก” นำเสนอข้อเท็จจริงใหม่ในระดับโลกเกี่ยวกับจำนวนเด็กที่กำลังเผชิญกับอันตรายและการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (Children’s Climate Risk Index) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
National Cooling Action Plan Methodology
รายงาน “National Cooling Action Plan Methofology” นำเสนอหลักการแบบองค์รวมสำหรับการพัฒนาแผนปฏิบัติการการใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (NCAP) ซึ่งเอกสารฉบับนี้ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับบริบทในแต่ละประเทศ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ใช้ระบบการทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่