Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook
คู่มือ “Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook” นำเสนอแนวทางเบื้องต้นเพื่อสนับสนุนผู้กำหนดนโยบายในการบูรณาการการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) เข้ากับนโยบายและระบบการศึกษาในประเทศ พร้อมตัวอย่างจากหลายประเทศในเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
ESCAP Multi-Donor Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness
รายงาน “ESCAP Multi-Donor Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness” ประจำปี 2020 ฉบับนี้กล่าวถึงความคืบหน้าของการจัดตั้งการป้องกันภัยสึนามิรวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายใต้กองทุน กองทุน ESCAP Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness ซึ่งจะออกเป็นประจำทุกปีเพื่อรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงาน หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development
คู่มือ “Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development” นำเสนอการใช้กระบวนการเรียนรู้ “สะท้อน-แบ่งปัน-ลงมือทำ” เพื่อการค้นหาและกำหนดนิยามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนบริบทของแต่ละชุมชนร่วมกับสมาชิกในชุมชน ผ่านข้อมูลประสบการณ์จริงของชุมชนใน 5 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Impact of Disasters and Crises on Agriculture and Food Security: 2021
รายงานสำรวจวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ที่กระทบต่อภาคการเกษตรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ การปศุสัตว์ การป่าไม้ การประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำ ทั้งในลักษณะที่เกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น โดยได้ประเมินความเสียหายและความสูญเสียของภาคเกษตรกรรม ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารและการพัฒนาที่สำคัญ โดยเฉพาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่ำ หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Building Agricultural Resilience to Natural Hazard-induced Disasters
Insights from country case studies รายงานโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แนะนำแนวทางการจัดการผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีต่อภาคเกษตรกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เข้ามาเป็นตัวเร่งให้ผลกระทบเหล่านี้รุนแรงขึ้นจนไม่สามารถดำเนินการอย่างที่เคยทำมาได้ รายงานฉบับนี้เป็นการรวบรวม 7 กรณีศึกษาจากประเทศชิลี อิตาลี ญี่ปุ่น นามิเบีย นิวซีแลนด์ ตุรกี และสหรัฐอเมริกา ที่รัฐบาลรวมถึงเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ลดผลกระทบ และฟื้นฟูให้ภาคเกษตรกรรมมีภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for Climate Risk Screening
การมีภูมิต้านทานตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate resilience) เป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ รายงานฉบับนี้หยิบยกตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของภาคเกษตร ที่หมายรวมถึงพืชผล การปศุสัตว์ การป่าไม้ และการประมง ว่าจะสามารถเสริมขีดความสามารถและเตรียมพร้อมระบบเกษตรกรรมให้สามารถปรับตัวและฟื้นกลับจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ผู้อ่านสามารถนำรายงานฉบับนี้ไปใช้เป็นข้อมูลประกอบ หรือเป็นแนวทางในการระบุชี้/ตรวจสอบความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ตอนต้นของการออกแบบและการผลักดันโครงการที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local’
เอกสาร “Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local” เป็นคู่มือที่จะทำให้นักการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาค อันเป็นองค์ประกอบหลักประการหนึ่งของ GCED ที่จะสามารถนำไปสู่การสังคมที่สงบสุข ครอบคลุม และยั่งยืนมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action)
ทุกประเทศในโลกล้วนประสบกับผลกระทบอันรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศ ซึ่งหากไม่เริ่มดำเนินการอย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายที่ 13 มุ่งระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งควรดำเนินการควบคู่ไปกับการบูรณาการมาตรการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษย์ เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ การรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส จำเป็นต้องมีเจตจำนงทางการเมืองที่เข้มแข็ง การลงทุนและการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเร่งด่วน หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :