Global Commons Stewardship Index 2024
รายงาน “Global Commons Stewardship Index 2024” จัดทำขึ้นเป็นฉบับที่ 4 รวบรวมข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในประเทศและผลกระทบล้นไหล (spillover) ข้ามพรมแดนของแต่ละประเทศ โดยได้นำเสนอข้อมูล สถิติ และแนวทางนโยบายในการลดผลกระทบที่จะมีต่อทรัพย์สินร่วมของโลก เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับการปกป้องระบบนิเวศของโลกมากยิ่งขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy, และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
State of Global Environmental Governance 2023
รายงาน “State of Global Environmental Governance 2023” นำเสนอสถานการณ์ของการอภิบาลด้านสิ่งแวดล้อมโลกประจำปีเป็นฉบับที่ 5 โดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกจาก Earth Negotiations Bulletin (ENB) ที่ติดตามการเจรจาระหว่างประเทศในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ สารเคมี ป่าไม้ และที่ดิน หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Institute for Sustainable Development: IISD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Tracking Progress on Food and Agriculture-related SDG Indicators 2023
รายงาน “Tracking progress on food and agriculture-related SDG indicators 2023” ติดตามความก้าวหน้าของตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและการเกษตรใน SDGs ทั้งหมด 8 เป้าหมาย ได้แก่ SDG 1, 2, 5, 6, 10, 12, 14, และ 15 เน้นไปที่ความก้าวหน้าทางสถิติและประเด็นที่ต้องพัฒนาเพิ่ม โดยเป็นรายงานการประเมินของ FAO ฉบับแรกที่รวมตัวชี้วัดทั้งหมดที่มุ่งเป้าไปที่การบรรลุ SDG 2 ไม่เพียงเฉพาะตัวชี้วัดที่ FAO ดูแลเท่านั้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือองค์ความรู้ BCG
“คู่มือองค์ความรู้ BCG” จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงองค์ความรู้เรื่อง BCG โดยเน้นความรู้พื้นฐาน ภาพรวมของการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ความท้าทาย รวมถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศ จากประเทศที่มุ่งเน้น “ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
The Journey of Food
อินโฟกราฟิก “The Journey of Food” แสดงภาพรวมของความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารตลอดห่วงโซ่คุณค่าของระบบอาหาร พร้อมด้วยกรณีศึกษาที่สร้างแรงบันดาลใจและจุดเริ่มต้นสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน โดยเฉพาะผู้หญิงและเยาวชน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 10 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 12 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “คำสัญญาของไทยใน “คอป” (COP: Conference of Parties) กับการรับมือ “โลกรวน” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Thailand’s BCG Transformation – 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action
หนังสือ “Thailand’s BCG Transformation. 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” รวบรวมเรื่องราวความสำเร็จของ BCG Model ที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งระดับบุคคลหรือครัวเรือน ระดับองค์กรธุรกิจ และระดับชาติ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งแสดงความเชื่อมโยงในการใช้กลยุทธ BCG Model บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างแนวทางที่ชัดเจนไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Circular Economy Policy Forum Report 2022 ภายใต้โครงการบูรณาการและขับเคลือนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
รายงาน “Circular Economy Policy Forum Report 2022” รวบรวบและประมวลข้อมูลเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ได้จากการประชุมหารือภายใต้โครงการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือโครงการ Circular Economy Innovation Policy Forum ภายใต้ข้อตกลงบันทึกความร่วมมือ “โครงการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน” ระหว่างสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กับ สมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ประเทศไทย) กิจกรรม โครงการฯ เริ่มดำเนิน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนา Circular Economy Innovation Forum ให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมความคิดเห็นให้เกิดการตั้งประเด็น (Agenda) เพื่อระดมความคิดในการเสนอแนะเชิงนโยบายในการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคทียังยืน (ประเทศไทย) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่