Turning the Tide: From Climate Crisis to Climate Action
รายงาน “Turning the Tide: From Climate Crisis to Climate Action” เน้นย้ำความเร่งด่วนในการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศเพื่อจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส หากไม่ทำตามเป้าหมายนี้ ผลกระทบจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รายงานชี้ให้เห็นถึงช่องว่างทางการเงินมหาศาลในการบรรลุเป้าหมายนี้ และเสนอแนวทางการแก้ไขโดยการระดมทุนและความร่วมมือจากทั่วโลก เพื่อสนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์ป่า การใช้พลังงานสะอาด และการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รายงานฉบับนี้เป็นการเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันลงทุนในอนาคตที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Global Risks Report 2025
รายงาน “Global Risks Report 2025” นำเสนอผลจากการเก็บข้อมูลผ่านการสำรวจ Global Risks Perception Survey (GRPS) ปี พ.ศ. 2567 – 2568 สำรวจความเห็นข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 900 รายทั่วโลกในหลากหลายสาขารวมถึงผู้กำหนดนโยบายและผู้นำในอุตสาหกรรมที่มีต่อความเสี่ยงโลกที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น (2 ปี) และความเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นในระยะยาว (10 ปี) หน่วยงานที่จัดทำ: สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ
คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ คู่มือ “Active Learning on Biodiversity and Climate Change: ABC” เพื่อช่วยในการสอนเด็กอายุ 7-18 ปีเกี่ยวกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คู่มือนี้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) องค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) และเครือข่ายเยาวชน โดยประกอบด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุกซึ่งสามารถปรับให้เหมาะสมกับบริบทในท้องถิ่นได้ หน่วยงานที่จัดทำ: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม, องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
State of the Climate in Asia 2023
รายงาน “State of the Climate in Asia 2023” นำเสนอสถานการณ์ภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชีย โดยเน้นย้ำถึงอัตราเร่งของตัวชี้วัดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิผิวน้ำ การละลายของธารน้ำแข็ง และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศในภูมิภาค หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
UNTAPPED: Collective Intelligence for Climate Action
รายงาน “UNTAPPED: Collective Intelligence for Climate Action” เป็นรายงานฉบับแรกที่ศึกษาว่า “ปัญญารวมหมู่” (collective intelligence) สามารถยกระดับการรับมือกับปัญหาโลกร้อนได้อย่างไร ผ่านการระดมข้อมูลสภาพภูมิอากาศแบบเรียลไทม์ในพ้นที่อย่างละเอียด รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้คนจำนวนมากขึ้นและมุมมองที่หลากหลายขึ้น ให้ข้อมูลครอบคลุมพื้นที่กว่าประเทศในกลุ่มประเทศโลกใต้ (Global South) กว่า 100 ประเทศ ซึ่งรวมไปถึงประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LDCs) 36 ประเทศและกลุ่มรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก (Small Island Developing States: SIDS) 38 ประเทศ วิเคราะห์โดย UNDP Accelerator Labs Network หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Commons Stewardship Index 2024
รายงาน “Global Commons Stewardship Index 2024” จัดทำขึ้นเป็นฉบับที่ 4 รวบรวมข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในประเทศและผลกระทบล้นไหล (spillover) ข้ามพรมแดนของแต่ละประเทศ โดยได้นำเสนอข้อมูล สถิติ และแนวทางนโยบายในการลดผลกระทบที่จะมีต่อทรัพย์สินร่วมของโลก เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับการปกป้องระบบนิเวศของโลกมากยิ่งขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy, และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
State of Global Environmental Governance 2023
รายงาน “State of Global Environmental Governance 2023” นำเสนอสถานการณ์ของการอภิบาลด้านสิ่งแวดล้อมโลกประจำปีเป็นฉบับที่ 5 โดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกจาก Earth Negotiations Bulletin (ENB) ที่ติดตามการเจรจาระหว่างประเทศในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ สารเคมี ป่าไม้ และที่ดิน หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Institute for Sustainable Development: IISD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific
เอกสารสรุปข้อมูล (Information brief) “The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific” นำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างสัตว์ป่า-สุขภาพ-การดำรงชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จัดทำขึ้นเป็นฉบับแรก วัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นภาพรวมของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ป่า และสุขภาพ ตลอดจนประเด็นด้านความท้าทาย โอกาส และศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งได้เสนอข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดนโยบายถึงวิธีการปกป้องทั้งชนิดพันธุ์สัตว์ป่า ความเป็นอยู่ของคน และสังคมได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและการลงทุนในด้านการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า การดำรงชีวิตของผู้คนในชนบท และแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่