มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เอกสาร “มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเศรษฐสร้างสรรค์ในฐานะ Soft Power ตลอดจนรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ จากวิทยานิพนธ์และงานวิจัยสําคัญในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร
รายงาน “10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร” เป็นผลงานจากโครงการระดับท้องถิ่นในหัวข้อ “การพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องิ่นและนำร่องแผนงานของชุมชนเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาหาร การบริโภคอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยในกลุ่มผู้เปราะบางในจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี” ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย สถาบันไทยนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและสมาพันธ์สวิส มีวัตถุประสงค์ของเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในสังคมและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของท้องถิ่นผ่านการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองและชุมชนในบริบทของ COVID-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2021
Making agrifood systems more resilient to shocks and stresses รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2564 นำเสนอตัวชี้วัดระดับประเทศของความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของของระบบอาหารเกษตร ตัวชี้วัดเหล่านี้ใช้วัดความคงทนของการผลิตขั้นต้นและความพร้อมด้านอาหาร ตลอดจนการเข้าถึงอาหารทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ จึงสามารถช่วยประเมินความสามารถของระบบอาหารเกษตรระดับประเทศในสภาวะช็อกและความตึงเครียด เช่น จากวิกฤตการระบาดใหญ่ของ COVID-19 จึวจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้ระบบอาหารทางการเกษตรมีความสามารถในการตั้งรับปรับตัว มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แนวทางการจัดทำแผนอาหารและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น
“แนวทางการจัดทำแผนอาหารและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น” ให้แนวทางแก่หน่วยงานและชุมชนระดับท้องถิ่นที่มีความประสงค์จะทำแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับระบบอาหาร ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาได้ ที่นี่
National Cooling Action Plan Methodology
รายงาน “National Cooling Action Plan Methofology” นำเสนอหลักการแบบองค์รวมสำหรับการพัฒนาแผนปฏิบัติการการใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (NCAP) ซึ่งเอกสารฉบับนี้ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับบริบทในแต่ละประเทศ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ใช้ระบบการทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food Security and Nutrition in the World 2021
Transforming food systems for food security, improved nutrition and affordable healthy diets for all รายงานนี้นำเสนอการประเมินความไม่มั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการระดับขอปี 2020 และบ่งชี้ว่าสถานการณ์ความหิวโหยจะเป็นอย่างไรภายในปี 2030 ภายใต้สถานการณ์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นจากผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 นอกจากนี้ยังมีการประมาณการใหม่เกี่ยวกับต้นทุนและความสามารถในการจ่ายซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ด้วย ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ ในภาพรวม รายงานฉบับนี้ยังเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นในการสะท้อนคิดถึงวิธีจัดการกับสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของโลกเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2564
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2564” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 10 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “COVID-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ – ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2562 (Addressing the gaps (MICS6))
“รายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ – ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2562 (Addressing the gaps (MICS6): Key results from the multiple indicator cluster survey Thailand 2019)” นำเสนอข้อมูลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและความท้าทาย ในประเด็นความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กในมิติต่าง ๆ อาทิ โภชนาการของเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย การเข้าเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ทักษะการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานและการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ การสร้างวินัยให้กับเด็ก การสมรสในวัยเด็ก การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ และรายงานฉบับนี้ยังเน้นให้เห็นสถานการณ์ความเหลือล้ำในการพัฒนาเด็ก โดยสามารถประเมินได้จากตัวชี้วัดที่แสดงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ระดับการศึกษาของมารดา ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นกับเด็กที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงความแตกต่างระหว่างประชากรที่อาศัยในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่