SDG 2

May
05

Global Report on Food Crises 2021

รายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหาร 2564 ฉายภาพสถานการณ์วิกฤติความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรงใน 55 ประเทศ/เขตแดนทั่วโลก โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่เดิม การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างฉับพลันอันเป็นผลมาจากโควิด-19 และสภาพอากาศสุดขั้ว (extreme weather) ทั้งนี้ สำหรับปี 2564 จำนวนประชากรโลกที่เผชิญกับสภาวะดังกล่าว ถือว่ามีจำนวนสูงที่สุด ตามข้อมูลที่ปรากฎในรายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหารที่มีมา 5 ปีแล้ว หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

May 05 2021
รายงาน
DETAIL
Apr
06

The Impact of Disasters and Crises on Agriculture and Food Security: 2021

รายงานสำรวจวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ที่กระทบต่อภาคการเกษตรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ การปศุสัตว์ การป่าไม้ การประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำ ทั้งในลักษณะที่เกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น โดยได้ประเมินความเสียหายและความสูญเสียของภาคเกษตรกรรม ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารและการพัฒนาที่สำคัญ โดยเฉพาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่ำ หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Apr 06 2021
รายงาน
DETAIL
Jan
01

Building Agricultural Resilience to Natural Hazard-induced Disasters

Insights from country case studies รายงานโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แนะนำแนวทางการจัดการผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีต่อภาคเกษตรกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เข้ามาเป็นตัวเร่งให้ผลกระทบเหล่านี้รุนแรงขึ้นจนไม่สามารถดำเนินการอย่างที่เคยทำมาได้ รายงานฉบับนี้เป็นการรวบรวม 7 กรณีศึกษาจากประเทศชิลี อิตาลี ญี่ปุ่น นามิเบีย นิวซีแลนด์ ตุรกี และสหรัฐอเมริกา ที่รัฐบาลรวมถึงเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ลดผลกระทบ และฟื้นฟูให้ภาคเกษตรกรรมมีภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2021
รายงาน
DETAIL
Jan
01

Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for Climate Risk Screening

การมีภูมิต้านทานตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate resilience) เป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ รายงานฉบับนี้หยิบยกตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของภาคเกษตร ที่หมายรวมถึงพืชผล การปศุสัตว์ การป่าไม้ และการประมง ว่าจะสามารถเสริมขีดความสามารถและเตรียมพร้อมระบบเกษตรกรรมให้สามารถปรับตัวและฟื้นกลับจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ผู้อ่านสามารถนำรายงานฉบับนี้ไปใช้เป็นข้อมูลประกอบ หรือเป็นแนวทางในการระบุชี้/ตรวจสอบความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ตอนต้นของการออกแบบและการผลักดันโครงการที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2021
รายงาน
DETAIL
Jan
01

Agricultural Trade & Policy Responses During the First Wave of the COVID-19 Pandemic in 2020

รายงานสำรวจดูนโยบาย มาตรการ และรูปแบบการค้าสินค้าเกษตรของประเทศต่าง ๆ ในห้วงขณะการระบาดของโควิด-19 เพราะอุปสงค์และอุปทานด้านสินค้าเกษตรและสินค้าอาหาร ได้รับผลกระทบจากระบบการค้าในโลกเนื่องมาจากโรคระบาด ตัวอย่างมาตรการมีอาทิ การจำกัดการส่งออก การกำหนดมาตรการของตลาดภายในประเทศ โดยมาตรการใดที่เป็นการดำเนินการฝ่ายเดียวสามารถส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของส่วนอื่นในโลกได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2021
รายงาน
DETAIL
Oct
06

เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger)

เป้าหมายที่ 2 (SDG 2: Zero Hunger) มุ่งมั่นที่จะขจัดความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบ ภายในปี 2573 เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและผู้ด้อยโอกาส เข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ยังมุ่งส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และกำลังการผลิตของเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งที่ดินทำกิน เทคโนโลยีและการตลาดอย่างเท่าเทียม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Jul
13

The State of Food Security and Nutrition in the World 2020

Transforming food systems for affordable healthy diets รายงานฉบับนี้ได้ยืนยันแนวโน้มนับตั้งแต่ปี 2014 ของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากความหิวโหยในระดับโลก ความท้าทายของภาวะทุพโภชนาการในทุกรูปแบบที่ยังคงอยู่ แม้จะมีความก้าวหน้าในการลดจำนวนของเด็กที่มีภาวะแคระแกร็น น้ำหนักแรกเกิดต่ำ เพิ่มการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมมารกาเพียงอย่างเดียว แต่ก็ยังคงช้าเกินไป รายงานฉบับนี้ยังนำเสนอการวิเคราะห์เกี่ยวกับต้นทุนและความสามารถในการจ่ายซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพในระดับโลก ระดับภูมิภาค และในบริบทการพัฒนาที่แตกต่างกันด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jul 13 2020
รายงาน
DETAIL
Apr
20

Global Report on Food Crises 2020

รายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหาร 2563 อธิบายถึงขนาดของความหิวโหยอย่างรุนแรงในโลก พร้อมวิเคราะห์สาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤติอาหาร และสำรวจสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ว่ามีผลต่อประเด็นความมั่นคงอาหารอย่างไร หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Apr 20 2020
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP