The State of Food and Agriculture 2020
Overcoming water challenges in agriculture รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2563 ประเมินการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ทำชลประทานและในพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำฝน รวมทั้งประเมินผลกระทบที่มีต่อเกษตกรรายย่อยและประชาชน โดยมีข้อมูลและหลักฐานความแตกต่างตามบริบทของแต่ละประเทศ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ มีข้อมูลที่เพียงพอประกอบการจัดทำนโยบาย/มาตรการที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำสำหรับภาคเกษตรกรรม โดยที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภคได้อย่างเสมอภาคและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Small Island Developing States Response to COVID-19
Highlighting food security, nutrition and sustainable food systems Policy Brief นี้ได้สำรวจผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อระบบอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการของรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก รวมถึงการใช้มาตรการตอบสนองอย่างรวดเร็ว อาทิ การพยายามทำให้มาตรการหลาย ๆ อย่างของภาคเกษตรกรรมเป็นรูปแบบดิจิทัล เช่น e-commerce และ mobile banking เป็นต้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Fisheries and Aquaculture Advantage: Fostering Food Security and Nutrition, Increasing Incomes and Empowerment
รายงาน “The Fisheries and Aquaculture Advantage: Fostering food security and nutrition, increasing incomes and empowerment” นำเสนอบทเรียนและความสำเร็จของการลงทุนด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการดำเนินการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) กับเกษตรกรรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agricultural Development: IFAD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food Security and Nutrition in the World 2019
Safeguarding against economic slowdowns and downturns รายงานฉบับนี้เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าระดับโลกในการบรรลุ SDG 2 โดยได้ให้ข้อมูลการประมาณการล่าสุดของจำนวนผู้หิวโหยในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ และข้อมูลล่าสุดของภาวะแคระแกร็นและภาวะผมแห้งในเด็ก รวมถึงโรคอ้วนในทั้งผู้ใหญ่และเด็ก รายงานยังมีการวิเคราะห์ปัจจัยขับเคลื่อนของความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะจากผลกระทบของเศรษฐกิจที่ตกต่ำด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Report on Food Crises 2019
รายงานระดับโลกว่าด้วยวิกฤติอาหาร 2562 ให้ข้อมูลการประเมินสถานการณ์ความหิวโหยอย่างรุนแรงล่าสุด โดยรวมถึงที่มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งและความไม่มั่นคง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทั้งด้านสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจ หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันระดับโลกและระดับภูมิภาคภายใต้ Food Security Information Network ซึ่งรวมถึงองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2019
Moving forward on food loss and waste reduction รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2562 เน้นประเด็นขยะอาหาร (food waste) และการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตและหลังการเก็บเกี่ยว (food loss) โดยเป็นการประเมินที่ยังไม่นับรวมการสูญเสียในระดับการค้าปลีก ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายมีข้อมูลบทวิเคราะห์การสูญเสียอาหารในระบบห่วงโซ่อุปทานที่รอบด้าน และมีตัวอย่างมาตรการที่จะนำไปสู่การลดขยะอาหารและการสูญเสียอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
FAO’s Work With Small Island Developing States
Transforming food systems, sustaining small islands FAO ชวนสำรวจดูความท้าทายและโอกาสในปัจจุบันของรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก และจะทำอย่างไรให้ประเทศเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงระบบอาหารจากรากฐานเพื่อเลี้ยงดูประชากรของหมู่เกาะได้ โดยการนำแผนระดับโลกด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการสำหรับรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กไปใช้ (Global Action Programme on Food Security and Nutrition in Small Island Developing States – SIDS) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The State of Food Security and Nutrition in the World 2018
Building climate resilience for food security and nutrition รายงานฉบับนี้ เผยให้เห็นความท้าทายใหม่ในการยุติความหิวโหย ความไม่มั่นคงทางอาหาร และภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบ โดยได้สำรวจสาเหตุปัจจัยของความหิวโหยและวิกฤติอาหารที่ร้ายแรงระดับโลก ซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ซ้ำยังมีประเด็นปัญหาใหม่ อาทิ โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน โดยพบว่านอกเหนือจากปัจจัยอย่างความขัดแย้งที่มีผลต่อความมั่นคงทางอาหารแล้ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาพอากาศที่สุดขั้ว ยังแทรกตัวอยู่ในทุกมิติปัจจัยที่เกี่ยวข้องของความมั่นคงทางอาหาร ทั้งในด้านการทำให้มี (availability) การเข้าถึง (accessibility) การใช้ประโยชน์ (utilization) และการมีเสถียรภาพ (stability) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่