The Cost of Inaction: Quantifying the Impact of Climate Change on Health in Low- and Middle-Income Countries
รายงาน “The Cost of Inaction: Quantifying the Impact of Climate Change on Health in Low- and Middle-Income Countries” ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประเด็นสุขภาพในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง (LMICs) โดยประเมินผลกระทบจากโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ เช่น โรคที่เกิดจากยุงและน้ำ การขาดสารอาหาร และอุณหภูมิความร้อนที่สูงเกินไป พร้อมทั้งคำนวณต้นทุนทางเศรษฐกิจจากการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต รายงานนี้ครอบคลุม 69 ประเทศใน LMICs และประเมินผลกระทบในช่วงปี 2026-2100 ตามสองสถานการณ์เศรษฐกิจ (SSP3 และ SSP2) โดยเรียกร้องให้มีการดำเนินการเร่งด่วนเพื่อลดผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Health Equity for Persons with Disabilities: Guide for Action
เอกสาร “Health Equity for Persons with Disabilities: Guide for Action” เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของคนพิการ ซึ่งรายงานของ WHO พบว่าคนพิการมักเสียชีวิตเร็วกว่า มีสุขภาพไม่ดี และได้รับผลกระทบจากโรคภัยไข้เจ็บมากกว่าคนทั่วไป คู่มือฉบับนี้จึงเสนอแนวทางให้ประเทศต่างๆ ปรับปรุงระบบสุขภาพ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเท่าเทียมทางสุขภาพและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
The State of Food and Agriculture 2024
รายงาน “The State of Food and Agriculture 2024” นำเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับระบบการผลิตอาหารทั่วโลกยอดจาก The State of Food and Agriculture 2023 โดยมุ่งเน้นการใช้วิธีการประเมินต้นทุนที่แท้จริง (True Cost Accounting) ในการวิเคราะห์ระบบเกษตรและอาหาร (agri-food systems) และเสนอแนวทางนโยบายเพื่อการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบที่ยั่งยืนมากขึ้น รายงานนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมในระบบเกษตรและอาหาร และเน้นความสำคัญในการทำให้ระบบนี้มีความครอบคลุม (inclusive) ทนทาน (resilient) และยั่งยืน (sustainable) มากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Happiness Report 2025
รายงาน “World Happiness Report 2025” จัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยใช้ข้อมูลจาก Gallup World Poll และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ โดยฉบับปีพ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) กล่าวถึงวัยหนุ่มสาวทั่วโลกกว่า 19% ระบุว่าไม่มีใครให้พึ่งพิงทางสังคม ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นกว่า 39% จากปี 2006 หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Population Prospects 2024: Summary of Results
รายงาน “World Population Prospects 2024: Summary of Results” เป็นรายงานสรุปผลการประมาณการและการคาดการณ์ประชากรโลกอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ โดยใช้ข้อมูลประชากรจาก 237 ประเทศ/รัฐทั่วโลก ตั้งแต่ปีค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน โดยรายงานฉบับนี้ยังได้คาดการณ์จำนวนและสถานการณ์ประชากรไปจนถึงปีค.ศ. 2100 โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้หลายกรณีในระดับโลก ภูมิภาค และระดับชาติ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ((United Nations Department of Economic and Social Affairs: UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools 2015-2023: Special Focus on Menstrual Health
รายงาน “Progress on Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools 2015-2023: Special Focus on Menstrual Health” นำเสนอข้อมูลสถานการณ์น้ำสะอาด สุขาภิบาล และสุขอนามัย (Wash and Sanitation, Hygiene) ในโรงเรียนจนถึงปีค.ศ. 2023 ทั้งระดับชาติ ภูมิภาค และระดับโลก โดยมุ่งเน้นเป็นพิเศษเรื่องสุขอนามัยขณะมีประจำเดือน หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
World Health Statistics 2024: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World Health Statistics 2024: Monitoring Health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นรายงานความก้าวหน้าตัวชี้วัดด้านสุขภาพประจำปีที่จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 โดยในฉบับปี 2024 นี้ จะเป็นการทบทวนสถานะล่าสุดของตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Indicators) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพมากกว่า 50 ตัวชี้วัดที่อยู่ในเป้าหมายต่าง ๆ และสถานะตามแผนการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 13 (The Thirteenth General Programme of Work: GPW 13) ของทุกประเทศทั่วโลก พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ที่ทำให้แนวโน้มความก้าวหน้าที่ดีขึ้นของอายุขัยคาดเฉลี่ยแรกเกิดและอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีถอยหลังลง หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 11 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “ความเครียด ภัยเงียบของสังคมไทย” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่