WHO Technical Guidance Notes on Sendai Framework Reporting for Ministries of Health
คู่มือ “WHO technical guidance notes on Sendai framework reporting for ministries of health” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ภาคสาธารณสุข โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกับบทบาทที่จะต้องเก็บรวบรวมและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเป้าประสงค์ 7 ประการของกรอบปฏิญญาเซนได (Sendai Framework targets) ตลอดจนกรอบการทำงานอื่น อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
WHO Guidance for Climate Resilient and Environmentally Sustainable Health Care Facilities
คู่มือ “WHO guidance for climate resilient and environmentally sustainable health care facilities” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการเพิ่มขีดความสามารถของการปกป้องและช่วยพัฒนาให้สุขภาวะของชุมชนที่อยู่ในสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอนดีขึ้น ตลอดจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal health coverage – UHC) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3: Good Health and Well-being)
การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ในช่วงปี 2543 – 2558 ประสบผลสำเร็จอย่างมากในการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็ก การส่งเสริมสุขภาพของมารดา และการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มาลาเรียและโรคอื่นๆ โดยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มุ่งมั่นที่จะสานต่อความสำเร็จของ MDGs ในการยุติการระบาดของโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรียและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี 2573 โดยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งการเข้าถึงยาและวัคซีนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับทุกคน ในราคาที่เหมาะสม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
Stronger Collaboration, Better Health: 2020 Progress Report on the Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All
รายงานฉบับนี้เป็นรายงานความคืบหน้าของแผนปฏิบัติการเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีสำหรับทุกคน (Global Action Plan for Healthy Lives and Well-being for All) ฉบับแรก ซึ่งครอบคลุมการดำเนินการ 8 เดือนแรกตั้งแต่ที่ได้เปิดตัวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ เมื่อกันยายน 2562 โดยหน่วยงานภาคีได้ขยับจากคำมั่นสู่การลงมือปฏิบัติ ตลอดจนได้ใช้แผนดังกล่าวเพื่อเติมช่องว่างและเพิ่มคุณค่าในกลไกความร่วมมือระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลกที่มีอยู่เดิม เพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโควิด-19 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
State of World Population 2020
– Defying the practices that harm women and girls and undermine equality รายงานฉบับนี้อธิบายสถานการณ์ของเด็กผู้หญิงที่เผชิญกับการปฏิบัติซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ โดยที่ครอบครัว เพื่อน และชุมชนต่างรับรู้แต่กลับมองว่าเป็นเรื่องปกติในสังคม สถานการณ์เช่นนี้เป็นการปิดกั้นโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา สิทธิในอนามัยเจริญพันธุ์ และการใช้สิทธิเพื่อปกป้องตนเองของเด็กผู้หญิง รายงานรายปี State of World Population จัดทำโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) เผยแพร่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นรายงานที่เน้นประเด็นใหม่ด้านความท้าทายและโอกาสของสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในการพัฒนาระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UN Population Fund – UNFPA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
World Health Statistics 2020: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World health statistics 2020: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” สรุปแนวโน้มล่าสุดเรื่องอายุขัยของคน (life expectancy) และรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพ ตลอดจนเป้าหมายและเป้าประสงค์อื่นที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Putting Children at the Centre of the Sustainable Development Goals
Policy Brief 5 ปีให้หลังจากที่ประเทศต่าง ๆ ให้คำมั่นต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเมื่อปี 2015 เด็กจำนวนมากถึง 250 ล้านคนยังไม่ได้รับการส่งเสริมตามศักยภาพของตนอย่างเต็มกำลังได้ รายงาน “Putting children at the centre of the Sustainable Development Goals” ฉบับนี้ เป็นคำแนะนำให้ผู้กำหนดนโยบายตระหนักว่าความเป็นอยู่ของเด็กเป็นตัวชี้วัดหรือหัวใจสำคัญของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index
Policy Brief จากสถานการณ์โลกที่เผชิญกับภาวะโลกร้อน โรคระบาด วิกฤติภาวะทุพโภชนาการ และวิกฤติความขัดแย้งและการโยกย้ายถิ่นฐาน ทำให้เด็กเปราะบางและมักตกเป็นเหยื่อ รายงานสรุปเชิงนโยบาย “Measuring children’s well-being: the Child Flourishing and Futures Index” จึงนำเสนอดัชนีโลก (global index) ที่สำรวจ 180 ประเทศ โดยแสดงให้เห็นว่าไม่มีประเทศใดที่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับการที่เด็กจะมีได้มีสุขภาพที่ดีทั้งในวันนี้และในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่