Global Hepatitis Report 2024: Action for Access in Low- and Middle-income Countries
รายงาน “Global Hepatitis Report 2024” เป็นรายงานฉบับรวบรวมเล่มแรกขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบและการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขและยา โดยมีข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อใช้ในการดำเนินการ โดยเน้นไปที่ประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลางซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อสูง รายงานฉบับนี้ นำเสนอข้อมูลประมาณการล่าสุดเกี่ยวกับภาระของโรคและการเข้าถึงบริการไวรัสตับอักเสบที่จำเป็นจาก 187 ประเทศทั่วโลก แบ่งการวิเคราะห์ตาม 6 ภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Role of Artificial Intelligence in Sexual and Reproductive Health and Rights
เอกสาร “The Role of Artificial Intelligence in Sexual and Reproductive Health and Rights” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาพรวมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและการสืบพันธุ์ (Sexual and Reproductive Health and Rights: SRHR) รวมถึงเน้นให้ข้อมูลความเสี่ยง ผลกระทบ และข้อควรพิจารณาเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาถึงลักษณะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ บทสรุปนี้มุ่งเน้นที่จะสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ใน SRHR และชี้ประเด็นสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าปัญญาประดิษฐ์จะถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และมีความรับผิดชอบ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
World Happiness Report 2024
รายงาน “World Happiness Report ประจำปี 2024” จัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยจะประเมินความสุขตามเกณฑ์ต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนทางสังคม รายได้ ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี และการทุจริต เป็นต้น โดยฉบับนี้กล่าวถึงความสุขของคนแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงสูงอายุ หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Human Development Report 2023-24
รายงานการพัฒนามนุษย์ “Human Development Report 2023-24 | Breaking the gridlock: Reimagining Cooperation in a Polarized World” นำเสนอดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดโดยรวมที่สะท้อนถึงรายได้ประชาชาติสุทธิต่อประชากร (Gross National Income: GNI) ต่อหัว การศึกษา และอายุขัยของประชากรในประเทศนั้น ๆ โดยรายงานของปีนี้เป็นการประเมินภาวะหยุดชะงักอันตรายที่เกิดจากความก้าวหน้าในการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรง และความแตกแยกทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น พร้อมกับเสนอแนวทางไปข้างหน้าโดยให้การทำงานแบบพหุภาคี (multilateralism) มีบทบาทสำคัญ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work
รายงาน “Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work” เสนอผลการศึกษาว่าการลงทุนอย่างเท่าเทียมกันระหว่างเพศในด้านสุขภาพและงานดูแล (care work) สามารถช่วยยอมรับคุณค่าของงานเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยุติธรรมและครอบคลุมมากขึ้น ตลอดจนทำให้คนทุกเพศสภาพมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น โดยการลงทุนในระบบสุขภาพและการดูแลไม่เพียงแต่เร่งความก้าวหน้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage: UHC) เท่านั้น แต่ยังช่วยกระจายภาระงานด้านสุขภาพและการดูแลที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Levels and Trends in Child Mortality Report 2023
รายงาน “Levels and Trends in Child Mortality” ประจำปี 2023 นำเสนอข้อมูลและการประมาณการอัตราการตายของเด็กและวัยรุ่นจากทุกสาเหตุในแต่ละประเทศ ผลการศึกษาค้นพบว่าจำนวนการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต่อปี ลดลงเหลือ 4.9 ล้านคนในปี 2023 และลดลง 51% ตั้งแต่ปี 2000 รวมถึงอัตราการลดลงของเด็กตายในประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลางล่างหลายประเทศต่ำลงกว่าตัวเลขประมาณการ ซึ่งเป็นผลของความมุ่งมั่นของรัฐบาล องค์กร ชุมชนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และครอบครัว หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific
เอกสารสรุปข้อมูล (Information brief) “The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific” นำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างสัตว์ป่า-สุขภาพ-การดำรงชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จัดทำขึ้นเป็นฉบับแรก วัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นภาพรวมของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ป่า และสุขภาพ ตลอดจนประเด็นด้านความท้าทาย โอกาส และศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งได้เสนอข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดนโยบายถึงวิธีการปกป้องทั้งชนิดพันธุ์สัตว์ป่า ความเป็นอยู่ของคน และสังคมได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและการลงทุนในด้านการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า การดำรงชีวิตของผู้คนในชนบท และแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin
รายงาน “Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin” ประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตข้าวและผลกระทบที่เกิดต่อการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Basin: LMB) ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมถึงเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของความร่วมมือระดับภูมิภาคและกลยุทธ์การปรับตัวเชิงรุกเพื่อความยั่งยืนและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของพื้นที่และผู้คนในระยะยาว หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่