Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work
รายงาน “Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work” เสนอผลการศึกษาว่าการลงทุนอย่างเท่าเทียมกันระหว่างเพศในด้านสุขภาพและงานดูแล (care work) สามารถช่วยยอมรับคุณค่าของงานเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยุติธรรมและครอบคลุมมากขึ้น ตลอดจนทำให้คนทุกเพศสภาพมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น โดยการลงทุนในระบบสุขภาพและการดูแลไม่เพียงแต่เร่งความก้าวหน้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage: UHC) เท่านั้น แต่ยังช่วยกระจายภาระงานด้านสุขภาพและการดูแลที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Levels and Trends in Child Mortality Report 2023
รายงาน “Levels and Trends in Child Mortality” ประจำปี 2023 นำเสนอข้อมูลและการประมาณการอัตราการตายของเด็กและวัยรุ่นจากทุกสาเหตุในแต่ละประเทศ ผลการศึกษาค้นพบว่าจำนวนการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต่อปี ลดลงเหลือ 4.9 ล้านคนในปี 2023 และลดลง 51% ตั้งแต่ปี 2000 รวมถึงอัตราการลดลงของเด็กตายในประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลางล่างหลายประเทศต่ำลงกว่าตัวเลขประมาณการ ซึ่งเป็นผลของความมุ่งมั่นของรัฐบาล องค์กร ชุมชนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และครอบครัว หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific
เอกสารสรุปข้อมูล (Information brief) “The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific” นำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างสัตว์ป่า-สุขภาพ-การดำรงชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จัดทำขึ้นเป็นฉบับแรก วัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นภาพรวมของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ป่า และสุขภาพ ตลอดจนประเด็นด้านความท้าทาย โอกาส และศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งได้เสนอข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดนโยบายถึงวิธีการปกป้องทั้งชนิดพันธุ์สัตว์ป่า ความเป็นอยู่ของคน และสังคมได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและการลงทุนในด้านการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า การดำรงชีวิตของผู้คนในชนบท และแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin
รายงาน “Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin” ประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตข้าวและผลกระทบที่เกิดต่อการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Basin: LMB) ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมถึงเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของความร่วมมือระดับภูมิภาคและกลยุทธ์การปรับตัวเชิงรุกเพื่อความยั่งยืนและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของพื้นที่และผู้คนในระยะยาว หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Waste Management Outlook 2024
รายงาน “Global Waste Management Outlook 2024” นำเสนอสถานการณ์วิกฤติขยะที่กำลังใกล้เข้ามา มีการคาดการณ์ว่าปริมาณขยะทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในปี 2050 ส่งผลให้ต้นทุนการจัดการขยะจะเพิ่มขึ้นตามเป็นสองเท่า อย่างไรก็ตามต้นทุนนี้หลีกเลี่ยงได้ด้วยการลดปริมาณขยะอย่างจริงจังเท่านั้น รายงานเสนอแนวทางการเปลี่ยนไปสู่ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) ที่มองขยะเป็นทรัพยากร ไม่ใช่สิ่งของไร้ค่า ด้วยการควบคุมการเกิดขยะ ใช้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน และการจัดการขยะที่ดีขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Health System Resilience Indicators: An Integrated Package for Measuring and Monitoring Health System Resilience in Countries
เอกสารชุดตัวชี้วัด “Health System Resilience Indicators: An Integrated Package for Measuring and Monitoring Health System Resilience in Countries” ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการวัดและติดตามความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของระบบสุขภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤต เพื่อช่วยปิดช่องว่างด้านการติดตามประเมินผลระบบสุขภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับชาติและภูมิภาค ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข และองค์กรที่ทำงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพโดยเฉพาะ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2567 (ThaiHealth Watch 2024)
รายงาน “จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2567” (ThaiHealth Watch 2024) สะท้อนอนาคตทิศทางสถานการ์ณสุขภาพของประเทศไทย พร้อม 7 ประเด็นสุขภาพสำคัญของปี ด้วยการเชื่อมองค์ความรู้ใน 3 ส่วน คือ 1) Situation สถานการณ์พฤติกรรมสุขภาพ จากรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566 2) Social Trend กระแสความสนใจในสื่อสังคมออนไลน์ และ 3) Solution ข้อแนะนำ ทั้งระดับปัจเจกบุคคลและข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสังคม หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Global Status Report on Road Safety 2023
รายงาน “Global Status Report on Road Safety 2023” นำเสนอสถานะความปลอดภัยบนท้องถนนทั่วโลก ระบุว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อปีในระดับโลกลดลงเล็กน้อยเหลือ 1.19 ล้านคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความพยายามในการปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนนนั้นกำลังได้ผลจริง และหากมีการใช้มาตรการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพจะลดการเสียชีวิตจากการจราจรทางถนนลงได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่