The Path that Ends AIDS
รายงาน “The Path that Ends AIDS” นำเสนอข้อมูลและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า การยุติการเกิดโรคเอดส์ให้สำเร็จได้นั้นเป็นการทำงานทางการเมืองและการเงินที่เข้มแข็งของประเทศนั้น ๆ ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติตามข้อมูลวิทยาศาสตร์ ความรู้ และหลักฐาน การแก้ไขความเหลื่อมล้ำที่ขัดขวางความก้าวหน้า การสนับสนุนชุมชนและองค์กรภาคประชาสังคมในบทบาทสำคัญของการตอบสนอง และการประกันเงินทุนที่เพียงพอและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
COVID-19 Recovery in Thailand: a Case Study of the Role of Women’s Leadership
บทความวิจัยเชิงกรณีศึกษา “COVID-19 Recovery in Thailand: a Case Study of the Role of Women’s Leadership” ฉบับนี้ มุ่งศึกษาการมีส่วนร่วมและความเป็นผู้นำขององค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานด้านประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงในแผนฟื้นฟูหลังสถานการณ์โควิด-19 ของจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะยิ่งซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำและอุปสรรคที่มีอยู่เดิมที่ผู้หญิง แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ในประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ แต่ก็ยังมีตัวอย่างความเป็นผู้นำจากองค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานด้านประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสตรีระหว่างการรับมือกับโควิด-19 ซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะนำไปต่อยอดในการฟื้นฟูหลังโควิด-19 ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Framework for the Response to Malaria in Urban Areas
รายงาน “Global framework for the response to malaria in urban areas” นำเสนอกรอบการทำงานในการสนับสนุนการควบคุมและกำจัดโรคติดต่อมาลาเลีย (รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่มีแมลงเป็นพาหะ) ในสภาพแวดล้อมเขตเมืองที่จะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่บริหารพื้นที่เขตเมือง โครงการด้านสุขภาพ และนักออกแบบผังเมือง ให้ตอบสนองต่อปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วทันต่อการขยายตัวของเมืองและประชากรที่เพิ่มขึ้น มีประสิทธิภาพ และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามบริบทของเมืองแต่ละที่ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN HABITAT) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Thailand Economic Monitor 2023 | Building a Resilient Future: Coping with Droughts and Floods
รายงาน “Thailand Economic Monitor” หรือ รายงานตามติดเศรษฐกิจไทยประจำเดือนมิถุนายน 2566 ในหัวข้อ ‘การรับมือกับภัยแล้งและอุทกภัย เพื่อสร้างอนาคตที่อยู่รอดและยั่งยืน’ ให้ข้อมูลการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ที่ดีขึ้น แต่ยังคงระบุว่าการรับมือกับความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษและบทสรุปผู้บริหารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 10 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 12 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “คำสัญญาของไทยใน “คอป” (COP: Conference of Parties) กับการรับมือ “โลกรวน” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Thailand Public Revenue and Spending Assessment: Promoting an Inclusive and Sustainable Future
รายงาน “Thailand Public Revenue and Spending Assessment: Promoting an Inclusive and Sustainable Future” ประเมินรายได้และรายจ่ายภาครัฐของประเทศไทย หลังมีการใช้นโยบายการคลังขนานใหญ่ในการรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระบุถึงแนวทางปฏิรูปที่จำเป็นเพื่อรับมือกับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของภาครัฐด้วย เพื่อการรับประกันอนาคตที่ยั่งยืนและครอบคลุม หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562
“รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562” แสดงภาระทางสุขภาพด้วยดัชนี DALYs หรือปีสุขภาวะที่สูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควร และภาวะบกพร่องทางสุขภาพจากการเจ็บป่วยและความพิการ และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี เพื่อใช้ประกอบการจัดลำดับความสำคัญและนำ เสนอปัญหาภาระทางสุขภาพของประชากรไทย สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพ วางระบบงานสาธารณสุข และเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการวิจัยต่อไป เช่น การสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภาระทางสุขภาพ การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Health Statistics 2023: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World health statistics 2023: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นรายงานความก้าวหน้าตัวชี้วัดด้านสุขภาพประจำปีที่จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 โดยในฉบับปี 2023 นี้ จะเป็นการทบทวนสถานะล่าสุดของตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Indicators) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพมากกว่า 50 ตัวชี้วัดที่อยู่ในเป้าหมายต่าง ๆ และสถานะตามแผนการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 13 (The Thirteenth General Programme of Work: GPW 13) ของทุกประเทศทั่วโลก จากข้อมูลจนถึงปี 2022 ตอกย้ำให้เห็นถึงความซบเซาของความก้าวหน้าด้านสุขภาพจากตัวชี้วัดด้านสุขภาพที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับแนวโน้มที่เห็นในช่วงปี 2000-2015 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่