The State of the World’s Children 2023
รายงาน “The State of the World’s Children 2023” นำเสนอสถานการณ์เด็กทั่วโลก ฉบับประจำปีนี้มุ่งเป้าไปที่การศึกษาแนวทางที่จะทำให้แน่ใจว่าเด็กทุกคนในโลกได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่ โดยจะฉายภาพให้เห็นว่าความยากจน การทำให้เป็นชายขอบ (marginalization) และเพศส่งผลต่อการเข้าถึงวัคซีนของเด็กอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาหลังโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าด้านการได้รับวัคซีนให้เด็กทั่วโลก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษ และอ่านรายงานรูปแบบ interactive ได้ ที่นี่
รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565
“รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565” ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Bracing for Superbugs: Strengthening Environmental Action in the One Health Response to Antimicrobial Resistance
รายงาน “Bracing for Superbugs: Strengthening Environmental Action in the One Health Response to Antimicrobial Resistance” นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ที่บ่งชี้ว่า สิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญต่อการก่อตัว การแพร่เชื้อ และการติดเชื้อโรคดื้อยา (Antimicrobial Resistance: AMR) ซึ่งแนวทางในการรับมือปัญหานี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ตามแนวทาง “One Health” ซึ่งเป็นแนวทางแบบบูรณาการที่มองเห็นว่าสุขภาพของคน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด แนวทางนี้จึงจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเชื้อโรคดื้อยา หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Resilient Futures: Young People, the Climate Crisis, and Sexual and Reproductive Health and Rights
คู่มือกระบวรกร “Resilient Futures: Young People, the Climate Crisis, and Sexual and Reproductive Health and Rights” ฉบับนี้จะช่วยให้กระบวนกรนำกิจกรรมเวิร์กช็อปสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิทธิด้านสุขภาพอนามัยทางเพศและการสืบพันธุ์แก่เยาวชนได้ง่ายขึ้น เยาวชนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบบางประการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสิทธิและสุขภาพของตนเอง ไปจนถึงสุขภาพของผู้หญิงและเด็กหญิงโดยรวม จุดมุ่งหมายคือการเสริมพลังให้เยาวชนผ่านการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโลกใบนี้ สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างแนวคิดรวมถึงแรงจูงใจให้เยาวชนลงมือทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับพื้นที่และระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Thailand’s BCG Transformation – 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action
หนังสือ “Thailand’s BCG Transformation. 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” รวบรวมเรื่องราวความสำเร็จของ BCG Model ที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งระดับบุคคลหรือครัวเรือน ระดับองค์กรธุรกิจ และระดับชาติ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งแสดงความเชื่อมโยงในการใช้กลยุทธ BCG Model บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างแนวทางที่ชัดเจนไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แผนพัฒนาประชากร เพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565-2580)
เอกสาร “แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว ปี 2565-2580” นำเสนอกรอบแนวทางการพัฒนาประชากรไทย โดยให้ความสำคัญกับ 3 ด้าน ได้แก่ การเกิดอย่างมีคุณภาพ การอยู่อย่างมีคุณภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และการแก่และตายอย่างมีคุณภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Global Tuberculosis Report 2022
รายงาน “Global Tuberculosis Report 2022” เป็นรายงานประจำปีที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของวัณโรคที่ครอบคลุมและเป็นปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขของ 202 ประเทศ เพื่อฉายภาพความก้าวหน้าในการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาโรค ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยคำนึงเป้าหมายด้านวัณโรคระหว่างประเทศ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand
รายงาน “Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand” หรือ รายงาน “การประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมต่อเด็กในประเทศไทย” จะชี้ให้เห็นว่าเด็ก ๆ ทีเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และน้ำท่วม มากที่สุด อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหลือและภาคใต้ของประเทศไทย แผนที่ความเสี่ยงจากการศึกษาฉบับนี้เผยให้เห็น 10 จังหวัด (อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีษะเกษ นครศรีธรรมราช นาราธิวาส สุรินทร์ สงขลา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี) มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2578 โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ RCP4.5 (มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับปานกลาง) หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่