Online Employability Resources for Youth 2021
“ONLINE EMPLOYABILITY RESOURCES FOR YOUTH 2021” เป็นคู่มือเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ทักษะออนไลน์แหล่งค้นหางานออนไลน์ สถานที่ฝึกงาน งานอาสาสมัคร และข้อมูลทุนการศึกษาสำหรับเยาวชนในประเทศไทย หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจพัฒนาทักษะใหม่ ๆ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
การนำโรงเรียนไปสู่ทุกคน – การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสใน “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” จังหวัดแม่ฮ่องสอน
รายงาน “การนำโรงเรียนไปสู่ทุกคน – การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสใน “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ((Bringing the School to the Students: Education Provision for Disadvantaged Children in the ‘District Schools’ of Mae Hong Son Province) นำเสนอข้อมูลประวัติความเป็นมา บทเรียนที่ได้รับจากการทำโครงการ “โรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา” ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กเครือข่ายอื่น ๆ โดยเป็นบทเรียนเฉพาะจากพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook
คู่มือ “Global Citizenship Education: A Policymaking Awareness and Advocacy Handbook” นำเสนอแนวทางเบื้องต้นเพื่อสนับสนุนผู้กำหนดนโยบายในการบูรณาการการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) เข้ากับนโยบายและระบบการศึกษาในประเทศ พร้อมตัวอย่างจากหลายประเทศในเอเชียและแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ – ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2562 (Addressing the gaps (MICS6))
“รายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ – ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2562 (Addressing the gaps (MICS6): Key results from the multiple indicator cluster survey Thailand 2019)” นำเสนอข้อมูลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและความท้าทาย ในประเด็นความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กในมิติต่าง ๆ อาทิ โภชนาการของเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย การเข้าเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ทักษะการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานและการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ การสร้างวินัยให้กับเด็ก การสมรสในวัยเด็ก การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ และรายงานฉบับนี้ยังเน้นให้เห็นสถานการณ์ความเหลือล้ำในการพัฒนาเด็ก โดยสามารถประเมินได้จากตัวชี้วัดที่แสดงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ระดับการศึกษาของมารดา ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นกับเด็กที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงความแตกต่างระหว่างประชากรที่อาศัยในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และเอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development
คู่มือ “Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development” นำเสนอการใช้กระบวนการเรียนรู้ “สะท้อน-แบ่งปัน-ลงมือทำ” เพื่อการค้นหาและกำหนดนิยามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนบริบทของแต่ละชุมชนร่วมกับสมาชิกในชุมชน ผ่านข้อมูลประสบการณ์จริงของชุมชนใน 5 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
GCED learning and assessment: An Analysis of Four Case Studies in Asia
เอกสาร “GCED learning and assessment: an analysis of four case studies in Asia” รวมกรณีตัวอย่างวิธีการบูรณาการ Global Citizenship Education (GCED) เข้ากับระบบการศึกษาในประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี และเวียดนาม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่มีประโยชน์สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อสร้างสังคมที่มีความสันติสุข ครอบคลุมและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local’
เอกสาร “Understanding GCED in Asia-Pacific: A How-to Guide for ‘Taking It Local” เป็นคู่มือที่จะทำให้นักการศึกษา ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship Education: GCED) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาค อันเป็นองค์ประกอบหลักประการหนึ่งของ GCED ที่จะสามารถนำไปสู่การสังคมที่สงบสุข ครอบคลุม และยั่งยืนมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพ (SDG 4: Quality education)
เป้าหมายที่ 4 มุ่งสร้างหลักประกันว่าเด็กทั้งชายและหญิงสามารถเข้าถึงการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยและระดับมัธยมศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายภายในปี 2573 รวมทั้งให้มีการเข้าถึงการฝึกอบรมทักษะอาชีพในราคาที่เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน และขจัดความไม่เสมอภาคทางเพศและความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนบรรลุการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพอย่างถ้วนหน้า หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :