มาตรฐานแนวทางปฏิบัติของภาคธุรกิจเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเลสเบียน (หญิงรักหญิง) เกย์ (ชายรักชาย) ไบ (คนรักสองเพศ) ทรานส์ (คนข้ามเพศ) และอินเตอร์เซกส์ (บุคคลที่มีเพศสรีระทางชีววิทยาไม่ชัดเจน)
เอกสาร “มาตรฐานแนวทางปฏิบัติของภาคธุรกิจเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเลสเบียน (หญิงรักหญิง) เกย์ (ชายรักชาย) ไบ (คนรักสองเพศ) ทรานส์ (คนข้ามเพศ) และอินเตอร์เซกส์ (บุคคลที่มีเพศสรีระทางชีววิทยาไม่ชัดเจน)” เป็นฉบับแปลภาษาไทยของเอกสาร “Standards of Conduct for Business: Tackling Discrimination against Lesbian, Gay, Bi, Trans, & Intersex People” จัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นเครื่องมือชี้แนะแนวทางการส่งเสริมความเสมอภาคและการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่ม LGBTI ในสถานประกอบการสำหรับภาคธุรกิจ โดยยึดหลักสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ (1) เคารพสิทธิมนุษยชน (2) ยุติการเลือกปฏิบัติ (3) สนับสนุนชุมชน LGBTI (4) ป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ และ (5) มีบทบาทในภาคสาธารณะ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) และ UNDP ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
Progress on Children’s Well-Being: Centring Child Rights in the 2030 Agenda
รายงาน “Progress on Children’s Well-Being: Centring child rights in the 2030 Agenda” ศึกษาความก้าวหน้าของตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหมด 48 ตัวชี้วัด โดยจัดหมวดหมู่ความเป็นอยู่ดีที่ของเด็กไว้ 5 ด้าน ได้แก่ (1) การอยู่รอดและการเจริญเติบโต (2) การเรียนรู้ (3) การปกป้องจากอันตราย (4) สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะอาด และ (5) ชีวิตที่ปราศจากความยากจน พบว่ามีเด็กประมาณ 150 ล้านคน หรือเพียงร้อยละ 6 ของประชากรเด็กทั้งโลกเท่านั้นที่อาศัยอยู่ใน 11 ประเทศที่บรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้ถึงร้อยละ 50 ซึ่งถือเป็นระดับความสำเร็จสูงสุดที่เกิดขึ้นในระดับโลกขณะนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Tracking Progress on Food and Agriculture-related SDG Indicators 2023
รายงาน “Tracking progress on food and agriculture-related SDG indicators 2023” ติดตามความก้าวหน้าของตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและการเกษตรใน SDGs ทั้งหมด 8 เป้าหมาย ได้แก่ SDG 1, 2, 5, 6, 10, 12, 14, และ 15 เน้นไปที่ความก้าวหน้าทางสถิติและประเด็นที่ต้องพัฒนาเพิ่ม โดยเป็นรายงานการประเมินของ FAO ฉบับแรกที่รวมตัวชี้วัดทั้งหมดที่มุ่งเป้าไปที่การบรรลุ SDG 2 ไม่เพียงเฉพาะตัวชี้วัดที่ FAO ดูแลเท่านั้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on the Sustainable Development Goals: The Gender Snapshot 2023
รายงาน “Progress on the Sustainable Development Goals: The gender snapshot 2023” นำเสนอการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย และเน้นย้ำถึงแนวโน้ม ช่องว่าง อุปสรรคของการทำงานเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภายในปีค.ศ. 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women และ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Journey of Food
อินโฟกราฟิก “The Journey of Food” แสดงภาพรวมของความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารตลอดห่วงโซ่คุณค่าของระบบอาหาร พร้อมด้วยกรณีศึกษาที่สร้างแรงบันดาลใจและจุดเริ่มต้นสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน โดยเฉพาะผู้หญิงและเยาวชน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Path that Ends AIDS
รายงาน “The Path that Ends AIDS” นำเสนอข้อมูลและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า การยุติการเกิดโรคเอดส์ให้สำเร็จได้นั้นเป็นการทำงานทางการเมืองและการเงินที่เข้มแข็งของประเทศนั้น ๆ ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติตามข้อมูลวิทยาศาสตร์ ความรู้ และหลักฐาน การแก้ไขความเหลื่อมล้ำที่ขัดขวางความก้าวหน้า การสนับสนุนชุมชนและองค์กรภาคประชาสังคมในบทบาทสำคัญของการตอบสนอง และการประกันเงินทุนที่เพียงพอและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
COVID-19 Recovery in Thailand: a Case Study of the Role of Women’s Leadership
บทความวิจัยเชิงกรณีศึกษา “COVID-19 Recovery in Thailand: a Case Study of the Role of Women’s Leadership” ฉบับนี้ มุ่งศึกษาการมีส่วนร่วมและความเป็นผู้นำขององค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานด้านประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงในแผนฟื้นฟูหลังสถานการณ์โควิด-19 ของจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะยิ่งซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำและอุปสรรคที่มีอยู่เดิมที่ผู้หญิง แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ในประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ แต่ก็ยังมีตัวอย่างความเป็นผู้นำจากองค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานด้านประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสตรีระหว่างการรับมือกับโควิด-19 ซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะนำไปต่อยอดในการฟื้นฟูหลังโควิด-19 ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Women as Agents of Change for Greening Agriculture and Reducing Gender Inequality
บทสรุปเชิงนโยบาย “Women as Agents of Change for Greening Agriculture and Reducing Gender Inequality” เน้นย้ำถึงความสำคัญของผู้หญิงในภาคการเกษตรกรรมและศักยภาพของผู้หญิงในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เกษตรกรรมแบบยั่งยืน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เอกสารฉบับนี้ยังระบุถึงแนวทางปฏิบัติสำคัญที่สามารถขจัดอุปสรรคสำหรับผู้หญิงในภาคการเกษตรกรรม ซึ่งรวมถึง การรวบรวมข้อมูลที่แยกตามเพศสำหรับการวางแผนที่คำนึงถึงเพศ การวิจัยและวิเคราะห์ การผลักดันให้มีการเข้าถึงทรัพย์สินเพื่อการผลิตอย่างเท่าเทียมกัน การเสริมสร้างศักยภาพและการสร้างเสริมความตระหนัก การทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน เงินทุน ทรัพย์สินเพื่อการผลิต และบริการอื่น ๆ อย่างเท่าเทียมกันทางเพศ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่