2023 Gender Social Norms Index (GSNI)
รายงาน “2023 Gender Social Norms Index (GSNI)” หรือดัชนีบรรทัดฐานทางสังคมทางเพศ ประเมินว่าความเชื่อทางสังคม (social beliefs) นั้นขัดขวางการสร้างความเท่าเทียมทางเพศในด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง การทำงาน และการศึกษาอย่างไร โดยการจัดทำดัชนี GSNI ปี 2023 ดัชนีดังกล่าวครอบคลุมร้อยละ 85 ของประชากรโลก และผลการศึกษาเผยให้เห็นว่าชายและหญิงเกือบ 9 ใน 10 คนมีอคติพื้นฐานต่อผู้หญิง หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
World Health Statistics 2023: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World health statistics 2023: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นรายงานความก้าวหน้าตัวชี้วัดด้านสุขภาพประจำปีที่จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 โดยในฉบับปี 2023 นี้ จะเป็นการทบทวนสถานะล่าสุดของตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Indicators) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพมากกว่า 50 ตัวชี้วัดที่อยู่ในเป้าหมายต่าง ๆ และสถานะตามแผนการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 13 (The Thirteenth General Programme of Work: GPW 13) ของทุกประเทศทั่วโลก จากข้อมูลจนถึงปี 2022 ตอกย้ำให้เห็นถึงความซบเซาของความก้าวหน้าด้านสุขภาพจากตัวชี้วัดด้านสุขภาพที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับแนวโน้มที่เห็นในช่วงปี 2000-2015 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The State of the World’s Children 2023
รายงาน “The State of the World’s Children 2023” นำเสนอสถานการณ์เด็กทั่วโลก ฉบับประจำปีนี้มุ่งเป้าไปที่การศึกษาแนวทางที่จะทำให้แน่ใจว่าเด็กทุกคนในโลกได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่ โดยจะฉายภาพให้เห็นว่าความยากจน การทำให้เป็นชายขอบ (marginalization) และเพศส่งผลต่อการเข้าถึงวัคซีนของเด็กอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาหลังโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าด้านการได้รับวัคซีนให้เด็กทั่วโลก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษ และอ่านรายงานรูปแบบ interactive ได้ ที่นี่
Financing for Sustainable Development Report 2023: Financing Sustainable Transformations
รายงาน “Financing for Sustainable Development Report 2023: Financing Sustainable Transformations” พบว่า ความต้องการด้านการเงินสำหรับการดำเนินการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กำลังเพิ่มขึ้น แต่การจัดหาเงินทุนที่ได้ในปัจจุบันนั้นตามไม่ทัน เป็นผลมาจากทั้งสงครามในยูเครน ราคาอาหารและพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเงื่อนไขทางการเงินที่ตึงตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัญหาความหิวโหยและความยากจนรุนแรงขึ้น และจะทำให้ความก้าวหน้าเพื่อบรรลุ SDGs นั้นเดินถอยหลัง หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565
“รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565” ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
งานดูแลและงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างของหญิงไทย และผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีคุณค่า
รายงาน “งานดูแลและงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างของหญิงไทย และผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีคุณค่า” (Thai Women’s Unpaid Care and Domestic Work and the Impact on Decent Employment) อธิบายขอบเขตพลวัต และผลกระทบจากการดูแลโดยไม่ได้รับค่าจ้างและงานบ้านที่มีต่อผู้หญิงในประเทศไทย และระบุมาตรการสำคัญหลายประการเพื่อจัดการกับพลวัตดังกล่าว รวมถึงเสนอการฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยการสร้างงานที่มีคุณค่าสำหรับผู้หญิงมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Gendered Impacts of Climate Change: Evidence from Asia
รายงาน “Gendered impacts of climate change: Evidence from Asia” เสนอข้อค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างปรากฏการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับทางเพศจากการศึกษาในประเทศบังคลาเทศ กัมพูชา เนปาล ฟิลิปปินส์ และติมอร์-เลสเต เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ในการเพิ่มความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทั้งผู้หญิงและผู้ชายในสถานะที่หลากหลายให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Resilient Futures: Young People, the Climate Crisis, and Sexual and Reproductive Health and Rights
คู่มือกระบวรกร “Resilient Futures: Young People, the Climate Crisis, and Sexual and Reproductive Health and Rights” ฉบับนี้จะช่วยให้กระบวนกรนำกิจกรรมเวิร์กช็อปสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิทธิด้านสุขภาพอนามัยทางเพศและการสืบพันธุ์แก่เยาวชนได้ง่ายขึ้น เยาวชนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบบางประการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสิทธิและสุขภาพของตนเอง ไปจนถึงสุขภาพของผู้หญิงและเด็กหญิงโดยรวม จุดมุ่งหมายคือการเสริมพลังให้เยาวชนผ่านการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโลกใบนี้ สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างแนวคิดรวมถึงแรงจูงใจให้เยาวชนลงมือทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับพื้นที่และระดับโลก หน่วยงานที่จัดทำ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่