Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals
รายงาน “Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals” ได้สำรวจว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงความเสี่ยง (risk-informed sustainable development) มีลักษณะอย่างไรในโลกที่ซับซ้อนและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเน้นไปที่การอธิบายความเชื่อมโยงของความเสี่ยงและการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว (resilience) กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายของรัฐบาลพร้อมเผชิญภัยที่ซับซ้อนมากขึ้นอันเป็นผลจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นและภัยคุกคามอื่น ๆ นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังเน้นย้ำอีกว่าการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวจะต้องเป็นศูนย์กลางในการวางกรอบการดำเนินงานวาระการพัฒนาหลังปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Progress on Children’s Well-Being: Centring Child Rights in the 2030 Agenda
รายงาน “Progress on Children’s Well-Being: Centring child rights in the 2030 Agenda” ศึกษาความก้าวหน้าของตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหมด 48 ตัวชี้วัด โดยจัดหมวดหมู่ความเป็นอยู่ดีที่ของเด็กไว้ 5 ด้าน ได้แก่ (1) การอยู่รอดและการเจริญเติบโต (2) การเรียนรู้ (3) การปกป้องจากอันตราย (4) สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะอาด และ (5) ชีวิตที่ปราศจากความยากจน พบว่ามีเด็กประมาณ 150 ล้านคน หรือเพียงร้อยละ 6 ของประชากรเด็กทั้งโลกเท่านั้นที่อาศัยอยู่ใน 11 ประเทศที่บรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้ถึงร้อยละ 50 ซึ่งถือเป็นระดับความสำเร็จสูงสุดที่เกิดขึ้นในระดับโลกขณะนี้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Tracking Progress on Food and Agriculture-related SDG Indicators 2023
รายงาน “Tracking progress on food and agriculture-related SDG indicators 2023” ติดตามความก้าวหน้าของตัวชี้วัด SDGs ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและการเกษตรใน SDGs ทั้งหมด 8 เป้าหมาย ได้แก่ SDG 1, 2, 5, 6, 10, 12, 14, และ 15 เน้นไปที่ความก้าวหน้าทางสถิติและประเด็นที่ต้องพัฒนาเพิ่ม โดยเป็นรายงานการประเมินของ FAO ฉบับแรกที่รวมตัวชี้วัดทั้งหมดที่มุ่งเป้าไปที่การบรรลุ SDG 2 ไม่เพียงเฉพาะตัวชี้วัดที่ FAO ดูแลเท่านั้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือองค์ความรู้ BCG
“คู่มือองค์ความรู้ BCG” จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงองค์ความรู้เรื่อง BCG โดยเน้นความรู้พื้นฐาน ภาพรวมของการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ความท้าทาย รวมถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศ จากประเทศที่มุ่งเน้น “ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Thailand Economic Monitor 2023 | Building a Resilient Future: Coping with Droughts and Floods
รายงาน “Thailand Economic Monitor” หรือ รายงานตามติดเศรษฐกิจไทยประจำเดือนมิถุนายน 2566 ในหัวข้อ ‘การรับมือกับภัยแล้งและอุทกภัย เพื่อสร้างอนาคตที่อยู่รอดและยั่งยืน’ ให้ข้อมูลการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ที่ดีขึ้น แต่ยังคงระบุว่าการรับมือกับความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศไทย หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษและบทสรุปผู้บริหารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Health Statistics 2023: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs)
รายงาน “World health statistics 2023: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals” เป็นรายงานความก้าวหน้าตัวชี้วัดด้านสุขภาพประจำปีที่จัดทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 โดยในฉบับปี 2023 นี้ จะเป็นการทบทวนสถานะล่าสุดของตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Indicators) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพมากกว่า 50 ตัวชี้วัดที่อยู่ในเป้าหมายต่าง ๆ และสถานะตามแผนการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 13 (The Thirteenth General Programme of Work: GPW 13) ของทุกประเทศทั่วโลก จากข้อมูลจนถึงปี 2022 ตอกย้ำให้เห็นถึงความซบเซาของความก้าวหน้าด้านสุขภาพจากตัวชี้วัดด้านสุขภาพที่สำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับแนวโน้มที่เห็นในช่วงปี 2000-2015 หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
The State of the World’s Children 2023
รายงาน “The State of the World’s Children 2023” นำเสนอสถานการณ์เด็กทั่วโลก ฉบับประจำปีนี้มุ่งเป้าไปที่การศึกษาแนวทางที่จะทำให้แน่ใจว่าเด็กทุกคนในโลกได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่ โดยจะฉายภาพให้เห็นว่าความยากจน การทำให้เป็นชายขอบ (marginalization) และเพศส่งผลต่อการเข้าถึงวัคซีนของเด็กอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาหลังโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าด้านการได้รับวัคซีนให้เด็กทั่วโลก หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษ และอ่านรายงานรูปแบบ interactive ได้ ที่นี่
Bracing for Superbugs: Strengthening Environmental Action in the One Health Response to Antimicrobial Resistance
รายงาน “Bracing for Superbugs: Strengthening Environmental Action in the One Health Response to Antimicrobial Resistance” นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ที่บ่งชี้ว่า สิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญต่อการก่อตัว การแพร่เชื้อ และการติดเชื้อโรคดื้อยา (Antimicrobial Resistance: AMR) ซึ่งแนวทางในการรับมือปัญหานี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ตามแนวทาง “One Health” ซึ่งเป็นแนวทางแบบบูรณาการที่มองเห็นว่าสุขภาพของคน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด แนวทางนี้จึงจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเชื้อโรคดื้อยา หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่