SDG 6

Oct
09

เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (SDG 6: Clean water and sanitation)

ปัญหาการขาดแคลนน้ำส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วโลกกว่าร้อยละ 40 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ปริมาณน้ำดื่มสะอาดที่ลดลงยังเป็นปัญหาสำคัญ หลายประเทศทั่วโลกเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภัยแล้ง และภาวะการเป็นทะเลทรายที่รุนแรงขึ้น ดังนี้ การจัดหาน้ำดื่มที่ปลอดภัยในราคาที่เหมาะสมสำหรับทุกคนภายในปี 2573 จึงต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ รวมทั้งการมีสุขอนามัยและการสุขาภิบาลที่เหมาะสม ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น ป่าไม้ ภูเขาและแม่น้ำ ตลอดจนสร้างหลักประกันการเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยในราคาที่เหมาะสมโดยถ้วนหน้า หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Sep
13

Progress on Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools: Special focus on COVID-19

รายงานการติดตามสถานการณ์การเข้าถึงน้ำสะอาด ปลอดภัย การมีสุขาภิบาล และมีระบบจัดการที่ถูกสุขอนามัยในโรงเรียน ตั้งแต่ปี 2000 – 2020 ติดตามความคืบหน้าการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านข้อมูลการติดตามในระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก พร้อมทั้งข้อเสนอแนะสำคัญในช่วงสถานการณ์การแพร่ระชาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Sep 13 2020
รายงาน
DETAIL
Jun
02

Hygiene: UN-Water GLAAS Findings on National Policies, Plans, Targets and Finance

รายงานสรุปข้อมูลและสถานการณ์ของการดำเนินนโยบายของภาครัฐ และหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ (external support agencies: ESAs) เพื่อสร้างสุขอนามัยที่ดีในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ซึ่งข้อมูลถูกรวบรวมและวิเคราะห์โดย UN-Water Global Analysis and Assessment of Sanitation and Drinking-Water (GLAAS) หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jun 02 2020
รายงาน
DETAIL
Jan
01

The State of Food and Agriculture 2020

Overcoming water challenges in agriculture รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2563 ประเมินการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ทำชลประทานและในพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำฝน รวมทั้งประเมินผลกระทบที่มีต่อเกษตกรรายย่อยและประชาชน โดยมีข้อมูลและหลักฐานความแตกต่างตามบริบทของแต่ละประเทศ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ มีข้อมูลที่เพียงพอประกอบการจัดทำนโยบาย/มาตรการที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำสำหรับภาคเกษตรกรรม โดยที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภคได้อย่างเสมอภาคและยั่งยืน หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jan 01 2020
รายงาน
DETAIL
Aug
23

National Systems to Support Drinking-Water, Sanitation and Hygiene: Global Status Report 2019

รายงานสถานะระดับโลก ที่สำรวจระบบการบริหารจัดการน้ำสำหรับบริโภค สุขาภิบาล และระบบที่ส่งเสริมการมีสุขอนามัยที่ดีของ 115 ประเทศทั่วโลกในช่วงปี 2018 – 2019 รวมไปถึงการดำเนินงานของหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ (external support agencies: ESAs) ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่จัดทำ:United Nations Water (UN Water) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Aug 23 2019
รายงาน
DETAIL
Jun
19

Progress on Household Drinking Water, Sanitation, and Hygiene 2000-2017

รายงานสถานการณ์ของครัวเรือนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงน้ำดื่ม ระบบสุขาภิบาล และการมีสุขอนามัยที่ดี ระหว่างปี 2000 – 2017 โดยเน้นไปที่ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงในประเด็นดังกล่าวตั้งแต่ระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก พร้อมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมายที่อาจถูกทิ้งไว้ข้างหลังจากการพัฒนา หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jun 19 2019
รายงาน
DETAIL
Jun
09

Drinking Water, Sanitation and Hygiene in Schools: Global Baseline Report 2018

รายงานสถานการณ์การเข้าถึงน้ำสะอาด ระบบสุขาภิบาล และการมีสุขอนามัยที่ดีในโรงเรียน และกำหนดมาตรการขั้นพื้นฐานของโลกสำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งประเมินการเข้าถึงน้ำสะอาด ระบบสุขาภิบาล และสุขอนามัย ต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Jun 09 2019
รายงาน
DETAIL
Apr
03

WASH in Health Care Facilities: Global Baseline Report 2019

รายงานสถานการณ์ของการมีน้ำสะอาด ระบบสุขาภิบาล และสุขอนามัย (WASH) ในสถานบริการสุขภาพ ช่วงปี 2019 ซึ่งยังพบว่าในหลายประเทศสถานบริการสุขภาพยังเข้าไม่ถึงน้ำสะอาด และระบบสุขาภิบาล รวมทั้งการบริหารจัดการขยะปนเปื้อนอย่างถูกสุขอนามัย หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO)/ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

Apr 03 2019
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP