National Cooling Action Plan Methodology
รายงาน “National Cooling Action Plan Methofology” นำเสนอหลักการแบบองค์รวมสำหรับการพัฒนาแผนปฏิบัติการการใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (NCAP) ซึ่งเอกสารฉบับนี้ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับบริบทในแต่ละประเทศ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ใช้ระบบการทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
The Energy Progress Report 2021
รายงานสถานการณ์ความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 7 การเข้าถึงพลังงานและพลังงานสะอาด ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พลังงงานหมุนเวียน และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ 7 โดยรายงานฉบับนี้ได้รวบรวมข้อมูลและสถานะจากหลากหลายประเทศในปี 2020/21 เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับผู้กำหนดนโยบาย และผู้สนใจ ในการติดตามสถานการณ์และออกแบบแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว หน่วยงานที่จัดทำ: International Energy Agency (IEA) the International Renewable Energy Agency (IRENA), the UN Department of Economic and Social Affairs (UN DESA), the World Bank และ the World Health Organization (WHO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
SDG 7 Localization: Affordable and Clean Energy in ASEAN Cities
รายงาน “SDG 7 Localization AFFORDABLE AND CLEAN ENERGY in ASEAN cities” นำเสนอผลงานการวิจัยและการวิเคราะห์ที่เริ่มโดย ESCAP ร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และ United Cities and Local Governments AsiaPacific (UCLG ASPAC) ภายใต้การสนับสนุนทุนจาก Energy Foundation China ความสำคัญของรายงานฉบับนี้คือการพัฒนากรอบการวิเคราะห์สำหรับการประเมินสถานะการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #SDG7 ในท้องถิ่น (localization) และการประยุกต์ใช้กับเมืองที่อยู่ในประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Georgia
รายงาน “Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap for Georgia” นำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศจอร์เจีย โดยใช้เครื่องมือ National Expert SDG Tool for Energy Planning (NEXSTEP) ซึ่งออกแบบโดย ESCAP ในการกำหนดนโยบายสามารถตัดสินใจการออกนโยบายได้ที่เหมาะสม รวมถึงเป็นการช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน #SDG7 ซึ่งรวมไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ (NDCs) ด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Regional Energy Trends Report 2020: Tracking SDG 7 in the ASEAN Region
รายงาน “Regional Energy Trends Report 2020 : Tracking SDG 7 in the ASEAN Region” รายงานแนวโน้มการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนที่สูงขึ้น ทำให้ผู้กำหนดนโยบายต้องเผชิญกับความท้าทาย ในการสร้างความสมดุลนโยบายต่อโลก ภูมิภาค ประเทศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน รายงานฉบับนี้ได้ติดตามความคืบหน้าของภูมิภาคอาเซียนในการจัดให้มีการเข้าถึงไฟฟ้าอย่างทั่วถึง รวมถึงส่วนแบ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนแบบผสมที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนถูกจัดเป็นภูมิภาคที่มีความเข้มข้นในการใช้พลังงานในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานในภูมิภาคนี้ยังคงช้าเกินไปในหลาย ๆ กรณีในการที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #SDG7 ในปี ค.ศ. 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เป้าหมายที่ 7 ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาย่อมเยา (SDG 7: Affordable and clean energy)
ในห้วงเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมา ประชากรโลกสามารถเข้าถึงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 1,700 ล้านคนทั่วโลก และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีความต้องการใช้พลังงานราคาถูกมากขึ้น ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ดังนั้น การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ 7 ภายในปี 2573 จึงจำเป็นต้องมีการลงทุนในแหล่งพลังงานสะอาด อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อน รวมทั้งการเพิ่มผลิตภาพพลังงาน และการสร้างหลักประกันการเข้าถึงพลังงานโดยถ้วนหน้า โดยการขยายโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานที่สะอาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกประเทศจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและรักษาสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :
Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG7 Roadmap for Indonesia
รายงาน “Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG7 Roadmap for Indonesia” นำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศอินโดนีเซีย โดยใช้เครื่องมือ National Expert SDG Tool for Energy Planning (NEXSTEP) ซึ่งออกแบบโดย ESCAP ในการกำหนดนโยบายสามารถตัดสินใจการออกนโยบายได้ที่เหมาะสม รวมถึงเป็นการช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน #SDG7 ซึ่งรวมไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ (NDCs) ด้วย หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่