The Least Developed Countries Report 2024
รายงาน “The Least Developed Countries Report 2024” เป็นแหล่งข้อมูลและการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและสังคมประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก (LDCs) ที่ครอบคลุม โดยมุ่งเน้นให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสของประเทศยากจนที่สุดในโลก โดยเฉพาะในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเข้าร่วมตลาดคาร์บอน รายงานฉบับนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงประสบการณ์ของประเทศเหล่านี้ในการใช้ตลาดคาร์บอนเพื่อพัฒนาประเทศ และเสนอแนวทางในการใช้ประโยชน์จากตลาดคาร์บอนอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
World Happiness Report 2025
รายงาน “World Happiness Report 2025” จัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยใช้ข้อมูลจาก Gallup World Poll และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ โดยฉบับปีพ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) กล่าวถึงวัยหนุ่มสาวทั่วโลกกว่า 19% ระบุว่าไม่มีใครให้พึ่งพิงทางสังคม ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นกว่า 39% จากปี 2006 หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 11 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “ความเครียด ภัยเงียบของสังคมไทย” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
IMF ทำงานส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินชั่วคราวและความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ประเทศต่าง ๆ ปัจจุบัน IMF มียอดสินเชื่อคงค้างใน 74 ประเทศ ถึง 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
The Impact of Climate Change on Education and What to do About it
รายงานการศึกษา “The Impact of Climate Change on Education and What to do About it” มุ่งเน้นไปที่การค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการศึกษา โดยเฉพาะผลกระทบเชิงลบของสภาพอากาศเลวร้ายที่มีต่อผลลัพธ์ด้านการศึกษา งานวิจัยนี้มุ่งเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนที่รัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญและดำเนินกลยุทธ์เพื่อปกป้องระบบการศึกษาจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การลดความยากจน และความเป็นปึกแผ่นสมานฉันท์ในสังคม (social cohesion) หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Ensuring Safety and Health at Work in a Changing Climate
รายงาน “Ensuring Safety and Health at Work in a Changing Climate” ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความปลอดภัยและสุขภาพของแรงงานในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนจัดและมลพิษทางอากาศ โดยค้นพบว่าปัญหาสุขภาพของแรงงาน ทั้งโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ ภาวะไตทำงานผิดปกติ และความเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิต มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รายงานยังศึกษาการตอบสนองของแต่ละประเทศ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงหรือสร้างกฎหมาย ระเบียบ และแนวทางเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ เช่น มาตรการประหยัดพลังงานในสภาพแวดล้อมการทำงาน เป็นต้น หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
2024 Financing for Sustainable Development Report: Financing for Development at a Crossroads
รายงาน “Financing for Sustainable Development Report 2024: Financing for Development at a Crossroads” นำเสนอสถานการณ์การเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่าความท้าทายด้านการเงินยังเป็นรากฐานปัญหาที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และการดำเนินการเพื่อแก้ไขและรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ช่องว่างทางการเงินสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นมีขนาดใหญ่และกว้างขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีสาเหตุมาจากทั้งกรอบนโยบายและกฎระเบียบที่ยังไม่สามารถกำหนดแรงจูงใจ (incentive) ที่เหมาะสม งบประมาณภาครัฐและการใช้จ่ายยังไม่สอดคล้องกับ SDGs อย่างเต็มที่ นักลงทุนภาคเอกชนยังขาดแรงจูงใจที่จะลงทุนใน SDGs และในกิจกรรมเพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้มากพอ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Human Development Report 2023-24
รายงานการพัฒนามนุษย์ “Human Development Report 2023-24 | Breaking the gridlock: Reimagining Cooperation in a Polarized World” นำเสนอดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดโดยรวมที่สะท้อนถึงรายได้ประชาชาติสุทธิต่อประชากร (Gross National Income: GNI) ต่อหัว การศึกษา และอายุขัยของประชากรในประเทศนั้น ๆ โดยรายงานของปีนี้เป็นการประเมินภาวะหยุดชะงักอันตรายที่เกิดจากความก้าวหน้าในการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรง และความแตกแยกทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น พร้อมกับเสนอแนวทางไปข้างหน้าโดยให้การทำงานแบบพหุภาคี (multilateralism) มีบทบาทสำคัญ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่