Thailand Public Revenue and Spending Assessment: Promoting an Inclusive and Sustainable Future
รายงาน “Thailand Public Revenue and Spending Assessment: Promoting an Inclusive and Sustainable Future” ประเมินรายได้และรายจ่ายภาครัฐของประเทศไทย หลังมีการใช้นโยบายการคลังขนานใหญ่ในการรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระบุถึงแนวทางปฏิรูปที่จำเป็นเพื่อรับมือกับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของภาครัฐด้วย เพื่อการรับประกันอนาคตที่ยั่งยืนและครอบคลุม หน่วยงานที่จัดทำ: ธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Financing for Sustainable Development Report 2023: Financing Sustainable Transformations
รายงาน “Financing for Sustainable Development Report 2023: Financing Sustainable Transformations” พบว่า ความต้องการด้านการเงินสำหรับการดำเนินการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กำลังเพิ่มขึ้น แต่การจัดหาเงินทุนที่ได้ในปัจจุบันนั้นตามไม่ทัน เป็นผลมาจากทั้งสงครามในยูเครน ราคาอาหารและพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเงื่อนไขทางการเงินที่ตึงตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัญหาความหิวโหยและความยากจนรุนแรงขึ้น และจะทำให้ความก้าวหน้าเพื่อบรรลุ SDGs นั้นเดินถอยหลัง หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565
“รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565” ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
งานดูแลและงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างของหญิงไทย และผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีคุณค่า
รายงาน “งานดูแลและงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างของหญิงไทย และผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีคุณค่า” (Thai Women’s Unpaid Care and Domestic Work and the Impact on Decent Employment) อธิบายขอบเขตพลวัต และผลกระทบจากการดูแลโดยไม่ได้รับค่าจ้างและงานบ้านที่มีต่อผู้หญิงในประเทศไทย และระบุมาตรการสำคัญหลายประการเพื่อจัดการกับพลวัตดังกล่าว รวมถึงเสนอการฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยการสร้างงานที่มีคุณค่าสำหรับผู้หญิงมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Thailand’s BCG Transformation – 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action
หนังสือ “Thailand’s BCG Transformation. 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” รวบรวมเรื่องราวความสำเร็จของ BCG Model ที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งระดับบุคคลหรือครัวเรือน ระดับองค์กรธุรกิจ และระดับชาติ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งแสดงความเชื่อมโยงในการใช้กลยุทธ BCG Model บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างแนวทางที่ชัดเจนไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แผนพัฒนาประชากร เพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565-2580)
เอกสาร “แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว ปี 2565-2580” นำเสนอกรอบแนวทางการพัฒนาประชากรไทย โดยให้ความสำคัญกับ 3 ด้าน ได้แก่ การเกิดอย่างมีคุณภาพ การอยู่อย่างมีคุณภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และการแก่และตายอย่างมีคุณภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand
รายงาน “Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand” หรือ รายงาน “การประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมต่อเด็กในประเทศไทย” จะชี้ให้เห็นว่าเด็ก ๆ ทีเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และน้ำท่วม มากที่สุด อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหลือและภาคใต้ของประเทศไทย แผนที่ความเสี่ยงจากการศึกษาฉบับนี้เผยให้เห็น 10 จังหวัด (อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีษะเกษ นครศรีธรรมราช นาราธิวาส สุรินทร์ สงขลา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี) มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2578 โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ RCP4.5 (มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับปานกลาง) หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Social Outlook 2022: The Workforce We Need
รายงาน ‘Social Outlook for Asia and the Pacific: The Workforce We Need’ ระบุถึงสถานการณ์แรงงานในภูมิภาคเอเชีย-เเปซิฟิก ว่า เเรงงานกว่า 2.1 พันล้านคนถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงงานที่มีคุณค่า (decent work) การดูแลสุขภาพ (healthcare) และการคุ้มครองทางสังคม (social protection) เเม้ว่าจะมีนโยบายและเครื่องมือการจัดการจำนวนมากที่รัฐบาลสามารถใช้เพื่อแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง สร้างหลักประกันว่าสิทธิความต้องการของเเรงงานและครอบครัวของพวกเขาจะถูกยกระดับให้ดีขึ้นก็ตาม หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่