รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567
“รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 11 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ภายใต้ธีมหลัก “ความเครียด ภัยเงียบของสังคมไทย” หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
2024 Financing for Sustainable Development Report: Financing for Development at a Crossroads
รายงาน “Financing for Sustainable Development Report 2024: Financing for Development at a Crossroads” นำเสนอสถานการณ์การเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่าความท้าทายด้านการเงินยังเป็นรากฐานปัญหาที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และการดำเนินการเพื่อแก้ไขและรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ช่องว่างทางการเงินสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นมีขนาดใหญ่และกว้างขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีสาเหตุมาจากทั้งกรอบนโยบายและกฎระเบียบที่ยังไม่สามารถกำหนดแรงจูงใจ (incentive) ที่เหมาะสม งบประมาณภาครัฐและการใช้จ่ายยังไม่สอดคล้องกับ SDGs อย่างเต็มที่ นักลงทุนภาคเอกชนยังขาดแรงจูงใจที่จะลงทุนใน SDGs และในกิจกรรมเพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้มากพอ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Human Development Report 2023-24
รายงานการพัฒนามนุษย์ “Human Development Report 2023-24 | Breaking the gridlock: Reimagining Cooperation in a Polarized World” นำเสนอดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดโดยรวมที่สะท้อนถึงรายได้ประชาชาติสุทธิต่อประชากร (Gross National Income: GNI) ต่อหัว การศึกษา และอายุขัยของประชากรในประเทศนั้น ๆ โดยรายงานของปีนี้เป็นการประเมินภาวะหยุดชะงักอันตรายที่เกิดจากความก้าวหน้าในการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรง และความแตกแยกทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น พร้อมกับเสนอแนวทางไปข้างหน้าโดยให้การทำงานแบบพหุภาคี (multilateralism) มีบทบาทสำคัญ หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Status Report for Buildings and Construction
รายงาน “Global Status Report for Buildings and Construction 2024” เป็นรายงานประจำปีที่แสดงภาพรวมความก้าวหน้าของภาคส่วนอาคารและการก่อสร้างในระดับโลก รายงานสถานการณ์อาคารโลกทบทวนสถานะของนโยบาย การเงิน เทคโนโลยี และแนวทางแก้ไข เพื่อติดตามความสอดคล้องของภาคส่วนนี้กับข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) นอกจากนี้ รายงานยังมอบข้อมูลเชิงประจักษ์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อโน้มน้าวให้ผู้กำหนดนโยบายและชุมชนคนทำงานภาคส่วนอาคารและการก่อสร้างให้ดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และพันธมิตรอาคารและการก่อสร้างโลก (GlobalABC) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin
รายงาน “Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin” ประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตข้าวและผลกระทบที่เกิดต่อการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Basin: LMB) ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมถึงเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของความร่วมมือระดับภูมิภาคและกลยุทธ์การปรับตัวเชิงรุกเพื่อความยั่งยืนและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของพื้นที่และผู้คนในระยะยาว หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Nature-based Infrastructure: How Natural Infrastructure Solutions Can Address Sustainable Development Challenges and the Triple Planetary Crisis
รายงาน “Nature-Based Infrastructure: How natural infrastructure solutions can address sustainable development challenges and the triple planetary crisis” นำเสนอผลการศึกษาว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based infrastructure) มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้มากถึง 79% ของเป้าหมายย่อยทั้งหมด และยังช่วยปิดช่องว่างของโครงสร้างพื้นฐาน และในขณะเดียวกันยังสามารถตอบสนองต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพไปพร้อมกัน หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) สำนักงานบริการโครงการแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Project Services: UNOPS) และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals
รายงาน “Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals” ได้สำรวจว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงความเสี่ยง (risk-informed sustainable development) มีลักษณะอย่างไรในโลกที่ซับซ้อนและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเน้นไปที่การอธิบายความเชื่อมโยงของความเสี่ยงและการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว (resilience) กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายของรัฐบาลพร้อมเผชิญภัยที่ซับซ้อนมากขึ้นอันเป็นผลจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นและภัยคุกคามอื่น ๆ นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังเน้นย้ำอีกว่าการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวจะต้องเป็นศูนย์กลางในการวางกรอบการดำเนินงานวาระการพัฒนาหลังปี 2030 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่
คู่มือองค์ความรู้ BCG
“คู่มือองค์ความรู้ BCG” จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงองค์ความรู้เรื่อง BCG โดยเน้นความรู้พื้นฐาน ภาพรวมของการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ความท้าทาย รวมถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศ จากประเทศที่มุ่งเน้น “ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่