ประเทศไทย

Oct
09

เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality)

การยุติการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิงเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยการเสริมสร้างบทบาทของผู้หญิงและเด็กหญิงจะช่วยสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แม้ในปัจจุบันจะมีเด็กผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น และมีจำนวนผู้หญิงในตลาดแรงงานมากขึ้น แต่ยังคงมีความไม่เสมอภาคระหว่างเพศในการเข้าถึงสิทธิแรงงานและค่าจ้าง นอกจากนี้ ความรุนแรงและการละเมิดทางเพศ รวมทั้งการทำงานบ้านและงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และการเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิง ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมในการถือครองที่ดินและทรัพย์สิน ตลอดจนเข้าถึงสิทธิสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต จึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญให้บรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมทางเพศ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
09

เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพ (SDG 4: Quality education)

เป้าหมายที่ 4 มุ่งสร้างหลักประกันว่าเด็กทั้งชายและหญิงสามารถเข้าถึงการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยและระดับมัธยมศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายภายในปี 2573 รวมทั้งให้มีการเข้าถึงการฝึกอบรมทักษะอาชีพในราคาที่เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน และขจัดความไม่เสมอภาคทางเพศและความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนบรรลุการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพอย่างถ้วนหน้า หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :  

DETAIL
Oct
06

เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3: Good Health and Well-being)

การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ในช่วงปี 2543 – 2558 ประสบผลสำเร็จอย่างมากในการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็ก การส่งเสริมสุขภาพของมารดา และการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มาลาเรียและโรคอื่นๆ โดยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มุ่งมั่นที่จะสานต่อความสำเร็จของ MDGs ในการยุติการระบาดของโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรียและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี 2573 โดยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งการเข้าถึงยาและวัคซีนอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับทุกคน ในราคาที่เหมาะสม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
06

เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (SDG 2: Zero Hunger)

เป้าหมายที่ 2 (SDG 2: Zero Hunger) มุ่งมั่นที่จะขจัดความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบ ภายในปี 2573 เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและผู้ด้อยโอกาส เข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ยังมุ่งส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และกำลังการผลิตของเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งที่ดินทำกิน เทคโนโลยีและการตลาดอย่างเท่าเทียม หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
06

เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (SDG 1: No Poverty)

การขจัดความยากจนทุกรูปแบบยังคงเป็นความท้าทายสำคัญของประชากรโลก ในปี 2558 ประชากรกว่า 736 ล้านคนทั่วโลก ยังดำรงชีพด้วยเงินน้อยกว่า 1.90 ดอลลาร์ต่อวัน หลายคนยังขาดการเข้าถึงอาหาร น้ำดื่มที่สะอาดและสุขอนามัยที่เพียงพอ หน่วยงานที่จัดทำ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับชมวิดิโอได้ที่นี่ :

DETAIL
Oct
01

รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2562-2563

รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ.​ 2562-2563   หน่วยงานที่จัดทำ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่

Oct 01 2020
รายงาน
DETAIL
Oct
01

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ.​ 2561-2563

“CHULALONGKORN UNIVERSITY SUSTAINABILITY REPORT 2018-2020” รายงานการดำเนินการด้านความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ.​ 2561-2563    หน่วยงานที่จัดทำ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลด: เอกสารอังกฤษได้ ที่นี่

Oct 01 2020
รายงาน
DETAIL
Sep
14

เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2563

รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2563   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่

Sep 14 2020
รายงาน
DETAIL

Resources

  • Book
  • Report
  • Guide book
  • Article
  • Journal
  • Media

Actors

  • ภาควิชาการ
  • ภาคประชาสังคม
  • ภาคเอกชน
  • ภาครัฐ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
TOP