เอกสารรายงานแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ระดับจังหวัด
“เอกสารรายงานแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” รวบรวมแผนการขับเคลื่อน SDGs รายจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด อันเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากที่กระทรวงมหาดไทยพร้อมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศได้ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ “76 จังหวัด 76 คํามั่นสัญญา เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน” (Statement of Commitment to Sustainable Thailand by the Governors of the Provinces of Thailand) กับสหประชาชาติประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565 หน่วยงานที่จัดทำ: กองการต่างประเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
งานดูแลและงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างของหญิงไทย และผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีคุณค่า
รายงาน “งานดูแลและงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างของหญิงไทย และผลกระทบต่อการจ้างงานที่มีคุณค่า” (Thai Women’s Unpaid Care and Domestic Work and the Impact on Decent Employment) อธิบายขอบเขตพลวัต และผลกระทบจากการดูแลโดยไม่ได้รับค่าจ้างและงานบ้านที่มีต่อผู้หญิงในประเทศไทย และระบุมาตรการสำคัญหลายประการเพื่อจัดการกับพลวัตดังกล่าว รวมถึงเสนอการฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยการสร้างงานที่มีคุณค่าสำหรับผู้หญิงมากขึ้น หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2566
รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2566 หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่
รายงานสถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2566
รายงาน “สถานะตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ.2566” นำเสนอสถานะข้อมูลตัวชี้วัด (indicators) SDGs ของประเทศไทยทั้ง 17 เป้าหมาย ตามกรอบตัวชี้วัดสากลขององค์การสหประชาชาติ เป็นรายงานฉบับที่สองต่อเนื่องจากฉบับปี 2562 เพื่อติดตามความก้าวหน้าของข้อมูลตัวชี้วัดแต่ละตัว หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่
สิทธิและแนวทางการพัฒนาสถานะบุคคลของเด็กอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย
เอกสาร “สิทธิและแนวทางการพัฒนาสถานะบุคคลของเด็กอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย” ศึกษารวบรวมกลุ่มผู้ติดตามผู้ลี้ภัย ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ และกลุ่มอื่น ๆ ที่มีปัญหาเรื่องสถานะบุคคลตามกฎหมายของประเทศไทย โดยสรุปความสำคัญในการพัฒนาสถานะบุคคล สิทธิที่กฎหมายรับรอง และกฎหมายนโยบายที่เกี่ยวข้องพอสังเขปเพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติหรือกลุ่มอื่น ๆ จะได้ศึกษาข้อมูลด้านสถานะบุคคล และสิทธิตามกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับตนเองเบื้องต้นได้ หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ประจำประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่
Thailand’s BCG Transformation – 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action
หนังสือ “Thailand’s BCG Transformation. 40 case studies on the Bio-Circular-Green Strategy and the Sufficiency Economy Philosophy In Action” รวบรวมเรื่องราวความสำเร็จของ BCG Model ที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งระดับบุคคลหรือครัวเรือน ระดับองค์กรธุรกิจ และระดับชาติ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งแสดงความเชื่อมโยงในการใช้กลยุทธ BCG Model บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างแนวทางที่ชัดเจนไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
แผนพัฒนาประชากร เพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565-2580)
เอกสาร “แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว ปี 2565-2580” นำเสนอกรอบแนวทางการพัฒนาประชากรไทย โดยให้ความสำคัญกับ 3 ด้าน ได้แก่ การเกิดอย่างมีคุณภาพ การอยู่อย่างมีคุณภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และการแก่และตายอย่างมีคุณภาพ หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่
การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดย กลต.
การนำเสนอ ” การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดย กลต.” ให้แผนการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดยเน้นไปที่บริษัทและธุรกิจที่อยู่ในตลาดหุ้นและตลาดทุน หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่