Sorting:
Sort Descending
  • การส่งเสริมสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนพิการในประเทศไทย

    รายงาน “การส่งเสริมสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อคนพิการในประเทศไทย” (Promoting an Inclusive Workplace for Persons with Disabilities in Thailand) ฉายภาพสถานการณ์ปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของคนพิการในสถานที่ทำงาน ตลอดจนอุปสรรคในการจ้างงานที่มีคุณค่าของคนพิการ และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติต่อทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมสถานที่ทำงานที่เอื้อต่อผู้พิการและการจ้างงานที่มีคุณค่าของผู้พิการ     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: 2019 US Cities Sustainable Development Report Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Republic of Senegal Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda: SDG7 Roadmap for Indonesia Global Report on […]

  • Business Reporting on the SDGs: An Analysis of the Goals and Targets

    Business Reporting on the SDGs: An Analysis of the Goals and Targets เป็นแนวทางเเนะนำ (guidance) ฉบับปรับปรุงล่าสุดปี 2022 เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ใช้สำหรับบูรณาการ SDGs เข้ากับกระบวนการรายงานความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์เเก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเปรียบเทียบและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: Global Reporting Initiative (GRI) และ UN Global Compact (UNGC) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: SDG Compass คู่มือการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ SDGs Hygiene: UN-Water GLAAS Findings on National Policies, Plans, Targets and Finance Advancing SDG 5 in […]

  • Thailand & Sustainable Development Goals guided by Sufficiency Economy Philosophy (SEP) and accelerated through BCG Economic Model

    เอกสาร “Thailand & Sustainable Development Goals guided by Sufficiency Economy Philosophy (SEP) and accelerated through BCG Economic Model” นำเสนอกรอบแนวทางของประเทศไทยในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ขับเคลื่อนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) และเร่งรัดความสำเร็จผ่านโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) แยกตามรายมิติ ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ มิติสังคม (People) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership)     หน่วยงานที่จัดทำ: กระทรวงการต่างประเทศ ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Thailand’s BCG Transformation – 40 case studies on […]

  • Circular Economy Policy Forum Report 2022 ภายใต้โครงการบูรณาการและขับเคลือนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

    รายงาน “Circular Economy Policy Forum Report 2022” รวบรวบและประมวลข้อมูลเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ได้จากการประชุมหารือภายใต้โครงการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือโครงการ Circular Economy Innovation Policy Forum ภายใต้ข้อตกลงบันทึกความร่วมมือ “โครงการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน” ระหว่างสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กับ สมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ประเทศไทย) กิจกรรม โครงการฯ เริ่มดำเนิน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนา Circular Economy Innovation Forum ให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมความคิดเห็นให้เกิดการตั้งประเด็น (Agenda) เพื่อระดมความคิดในการเสนอแนะเชิงนโยบายในการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคทียังยืน (ประเทศไทย) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่ Related posts: Thailand’s BCG Transformation – 40 case […]

  • รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564

    “รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564” เป็นรายงานประจำปีที่ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565 รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2564 รายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2564

  • รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63

    “รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2562-63” เป็นรายงานประจำปีที่ติดตามสถานการณ์และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ทั้งในเชิงประเด็น เชิงกลุ่มเป้าหมาย และเชิงพื้นที่ ใช้ข้อมูลทางสังคมทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้มีอำนาจในการวิเคราะห์ทิศทางสำหรับการกำหนดนโยบายพัฒนาสังคมของประเทศไทยในอนาคต     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2565 รายงานสถานการณ์ทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564 รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2562-2563 รายงานช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ – ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2562 (Addressing the gaps (MICS6))

  • Sustainable Development Report 2022

    รายงาน “Sustainable Development Report 2022” นำเสนอดัชนี SDG (SDG Index) และ dashboards สำหรับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) จัดทำโดย SDSN และมูลนิธิ Bertelsmann โดยฉบับนี้มาในธีม “From Crisis to Sustainable Development: the SDGs as Roadmap to 2030 and Beyond” หรือ “จากวิกฤตสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: SDGs ในฐานะ roadmap สู่ปี ค.ศ. 2030 และไกลกว่านั้น”   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Bertelsmann Stiftung ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Sustainable Development […]

  • รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2564

    รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปีพ.ศ. 2564 (Thailand SDGs 16 Progress Report 2021) รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 16 ประกอบด้วยผลการดำเนินงานผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยและข้อมูลสถิติตามตัวชี้วัด SDG16 จำนวน 24 ตัวชี้วัด       หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2563 รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2565 รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2563-2564 รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย […]

  • รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565

    “รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565” เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นรายปี รวบรวมประเด็นสำคัญทางสุขภาพและสังคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ฉบับปีนี้นำเสนอ 12 ตัวชี้วัดทางสุขภาพ 10 สถานการณ์สำคัญทางสุขภาพ และ 4 ผลงานดี ๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ฉบับปีนี้มาในธีม “ครอบครัวไทยในวิกฤตโควิด-19”   หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2564 รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565 รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2565

  • Global Happiness and Well-being Policy Report 2022

    รายงาน “Global Happiness and Well-being Policy Report 2022” จัดทำโดย Global Happiness Council (GHC) ซึ่งเป็นเครือข่ายของนักวิชาการชั้นนำด้านความสุขและคนทำงานในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ การศึกษา สาธารณสุข ภาคประชาสังคม ธุรกิจ และรัฐบาล ทำการประเมินผลกระทบและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ผ่านเลนส์ความเป็นอยู่ที่ดี (well-being) และถ่ายทอดบทเรียนข้อค้นพบบางประการที่จะมีประโยชน์กับรัฐบาลในการกำหนดนโยบายในอนาคต     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network และ Global Happiness Council ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Happiness Report 2022 Global Wage Report 2008/09: Minimum wages and collective bargaining: Towards […]

  • Migration and the SDGs: Measuring Progress – An Edited Volume

    รายงาน “Migration and the SDGs: Measuring Progress – An Edited Volume” นำเสนอข้อมูลล่าสุดของแนวโน้มการโยกย้ายถิ่นฐานที่ส่งผลกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะกับทุกตัวชี้วัดภายใต้เป้าประสงค์ SDG10.7 รวมทั้งยังรวบรวมแนวคิดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบและติดตามข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐานในระดับโลก   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Migration Governance Insights: Informing People-centred Migration Policies Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index Health System Resilience Indicators: An Integrated Package for Measuring and Monitoring Health System Resilience in Countries […]

  • Synthetic Drugs in East and Southeast Asia: Latest Developments and Challenges – 2022

    รายงาน “Synthetic Drugs in East and Southeast Asia: Latest Developments and Challenges – 2022” หรือ “รายงานยาเสพประเภทติดสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การพัฒนาและความท้าทายล่าสุด ปี 2565” แสดงสถานการณ์รล่าสุดของยาเสพติดประเภทสังเคราะห์ (synthetic drugs) โดยเฉพาะสารกระตุ้นประเภทแอมเฟตามีน (ATS) และสารออกฤทธิ์ทางจิตใหม่ ๆ รวมถึงฝิ่นสังเคราะห์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ดาวน์โหลด: รายงานภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and […]

  • Lessons from COVID-19 for Climate Change

    เอกสารสมุดปกขาว​ “Lessons from COVID-19 for Climate Change” นำเสนอการพัฒนายุทธศาสตร์ในรูปแบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อกระกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จัดการกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ซึ่งเป็นบทเรียนที่ได้จากช่วงเวลาการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นวิกฤติระดับโลกเช่นกัน     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand Climate Change, Environmental Degradation and International Labour Migration in Asia: Exploring the Role of Business Motivators for Sustainability: 17 Lessons […]

  • Global Report on Food Crises 2022

    Global Report on Food Crises – 2022 รายงานวิกฤตการณ์อาหารโลกปี 2022 (GRFC 2022) เน้นย้ำถึงความรุนแรงและจำนวนผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤตใน 53 ประเทศ/เขตแดน ที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งที่มีอยู่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 และสภาพอากาศสุดขั้ว โดยตัวเลขผู้รับผลกระทบในรายงานฉบับปี 2022 นี้เป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่มีการทำงานรายงานมาหกปี หน่วยงานที่จัดทำ: Global Network against Food Crises โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการอาหารโลก (WFP) และสหภาพยุโรป ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Report on Food Crises 2019 Global Report on Food Crises 2020 Global Report on Food Crises 2017 Global Report […]

  • Child Health and Well-being Dashboard

    เว็บไซต์แสดงผล “Child Health and Well-being Dashboard” นำเสนอสถานการณ์ปัจจุบันด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของวัยรุ่นและเด็กในระดับประเทศทั่วโลกผ่านตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา สิทธิเด็ก เพื่อสนับสนุนนโยบาย รัฐบาล และองค์กรต่าง ๆ ในการติดตามและเปรียบเทียบตัวชี้วัดของแต่ละประเทศ ไปจนถึงการวางแผนและการกำหนดนโยบายเพื่อสิทธิเด็ก     หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และโครงการ CAP 2030 ดาวน์โหลด: ข้อมูลฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: The Child Marriage Data Portal Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines […]

  • มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

    เอกสาร “มรดกวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: SOFT POWER เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเศรษฐสร้างสรรค์ในฐานะ Soft Power ตลอดจนรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ จากวิทยานิพนธ์และงานวิจัยสําคัญในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับไทยได้ ที่นี่ Related posts: Textbooks for Sustainable Development: a Guide to Embedding Education for Sustainable Development Goals: Learning Objectives Motivators for Sustainability: 17 Lessons of Sustainable Development Goals in Thailand นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม (Public Policy for Just Sustainable Futures)

  • World Happiness Report 2022

    รายงานความสุขโลกประจำปี 2022 เป็นฉบับครบ 10 ปีของรายงานที่ประเมินความสุขของคนทั่วโลกในมากกว่า 150 ประเทศ โดยรายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานเท่านั้น แต่ยังเพิ่มการสนับสนุนทางสังคมและความเมตตากรุณาที่คนมีให้กันด้วย ซึ่งทำให้เห็นความสามารถของปัจเจกบุคคลและชุมชนในการสนับสนุนซึ่งกันและกันในยามยากลำบากเมื่อต้องต่อสู้กับทั้งโรคและสงคราม   หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Happiness Report 2017 World Happiness Report 2018 World Happiness Report 2019 World Happiness Report 2021

  • Asia and the Pacific SDG Progress Report 2022

    รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2022 : widening disparities amid COVID-19” แสดงความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และยังประเมินปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเปราะบางระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ ในภูมิภาค ชี้ให้เห็นช่องว่างที่จำเป็นต้องถมปิดเพื่อการบรรลุ SDGs ให้ทันภายในปีค.ศ. 2030 โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific: ESCAP) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Asia-Pacific Migration Data Report 2022 Asia and the Pacific SDG Progress Report 2021 […]

  • SDGs Mega Trends 2022: Corporate Climate Action

    รายงาน “SDGs Mega Trends 2022” นำเสนอ 5 แนวโน้มสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. 2022” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยคัดเลือกประเด็นเด่น 5 ประเด็นเกี่ยวกับความยั่งยืนจากแหล่งข้อมูลชั้นนำทั่วโลกที่ควรให้ความสำคัญ โดยเรื่องเด่นที่ภาคธุรกิจต้องใส่ใจในปีนี้คือ การปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ     หน่วยงานที่จัดทำ: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: SDGs Mega Trends 2021: COVID-19 and a Great Reset to SDGs in Action SDGs Mega Trends 2023: Unlock the Global Pathways to Resilience, Growth, and Sustainability Global Employment Trends for Youth 2022: […]

  • ชุดวิดีโอประกอบคู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)

    ชุดวิดีโอประกอบ “คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)” นำเสนอเนื้อหาโดยสรุปของคู่มือทั้งการทำความเข้าใจประเด็นความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มาและความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเชื่อมโยงกับประเด็นรอบตัวที่เยาวชนกำลังเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวันภายใต้มุมมองของ SDGs  พร้อมทั้งแนะนำวิธีการที่เยาวชนจะพัฒนากิจกรรมและโครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างยั่งยืนได้อย่างไร   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) รับชมวิดิโอได้ที่นี่:             Related posts: คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action) SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action) Tri-fold brochure: Towards a Global Action Plan […]