Sorting:
Sort Descending
  • คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action)

    คู่มือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรให้ยั่งยืน สำหรับเยาวชนนักเปลี่ยนแปลงสังคม (SDG Guidebook for Youth in Action) นำเสนอเส้นทางการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับเยาวชนเพื่อเข้าใจมุมมองรอบตัวพวกเขาผ่านเลนส์ของ SDGs คู่มือนี้มีคำถามเพื่อให้ผู้อ่านได้คิดทบทวนตนเองในการเลือกการออกแบบทำกิจกรรมเพื่อความยั่งยืนในชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังจัดให้มีแบบฝึกหัดสำหรับเยาวชนเพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงโลกผ่านโครงการเล็ก ๆ ที่ยั่งยืนที่ทำได้ในพื้นที่ของตัวเอง   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: คู่มือฉบับภาษาไทยและอังกฤษ ที่นี่ Related posts: SDG Compass คู่มือการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ SDGs Communities in Action – Lifelong Learning for Sustainable Development เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action) Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards the Health-related Sustainable Development […]

  • สุรชาติ ชาวประมงผู้พิชิตคลื่นสึนามิ

    หนังสือภาพ “สุรชาติ ชาวประมงผู้พิชิตคลื่นสึนามิ” เป็นส่วนหนึ่งของ UNDP ‘Tsunami Story Books’ ชุดของเรื่องราวชีวิตจริงจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงความรุนแรงของสึนามิและวิธีรับมือให้ดียิ่งขึ้น แต่ละเรื่องประกอบด้วยฮีโร่ในชุมชนที่แตกต่างกัน และอธิบายวิธีที่เด็ก ๆ สามารถปกป้องตนเอง ครอบครัว และเพื่อนฝูงจากสึนามิ และจัดการกับอารมณ์ที่ยากลำบากเมื่อต้องเผชิญกับสึนามิ เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี   หน่วยงานที่จัดทำ: UNDP Asia-Pacific ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: SDGs กับเกษตรกร เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13: Climate action) รายการ “เราปรับ…โลกเปลี่ยน” We Shift…World Change ตอน SDGs Talk บทบาทมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

  • บันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG Localization) พ.ศ. 2565

    บันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG Localization) จัดโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2565 ที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเสริมศักยภาพของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่ รวมทั้งแลกเปลี่ยนและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ SDGs ในระดับพื้นที่ อ่านรายละเอียดหัวข้อการเสวนาและการบรรยายทั้งหมดได้ที่นี่   Related posts: SDG 7 Localization: Affordable and Clean Energy in ASEAN Cities GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and Challenges รายงาน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2564-2565 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565

  • SDG Good Practices: A Compilation of Success Stories and Lessons Learned in SDG Implementation – Second Edition

    รายงาน “SDG Good Practices: A compilation of success stories and lessons learned in SDG Implementation – Second Edition” รวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Good practices) ที่ได้รับการคัดเลือกจากการเสนอชื่อทั่วโลกทั้งหมด 21 เรื่องราว เป็นฉบับที่สอง หลังจากเผยแพร่ไปครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2021 ให้เป็นบทเรียนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ว่าจะสามารถนำไปปรับใช้ในวงกว้างเพื่อทั้งเร่งความก้าวหน้าในการบรรลุ SDGs และรวมถึงฟื้นฟูสังคมโลกจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้อย่างไร     หน่วยงานที่จัดทำ: UN DESA ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: 10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร Climate Resilient Practices – Typology and Guiding […]

  • บทบาทมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

    การนำเสนอ “บทบาทมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ให้ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) และเชื่อมโยงการดำเนินกิจกรรมของสถาบันอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุ SDGs   หน่วยงานที่จัดทำ: ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่     Related posts: SDGs Mega Trends 2021: COVID-19 and a Great Reset to SDGs in Action การ์ตูนเพื่อการเรียนรู้ SDGs เรื่อง “โลกของเรา และ 17 เป้าหมาย” SDGs กับอาหารริมทาง การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทย โดย กลต.

  • ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19

    ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย “แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม และงานท่ีมีคุณค่าสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ในห้วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19” เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเสียหลากหลายกลุ่ม ที่จัดโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางแก่รัฐบาลไทยในการทบทวน พัฒนา และดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงานข้ามชาติที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index Putting Children at the Centre of the Sustainable Development Goals Small Island Developing States Response to COVID-19 Lessons from COVID-19 for […]

  • เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2565

    รวมเอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ภายในปี พ.ศ. 2565   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทย ที่นี่ Related posts: เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2559 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2560 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2561 เอกสารการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ปี พ.ศ. 2562

  • Compulsory Treatment and Rehabilitation in East and Southeast Asia

    รายงาน “Compulsory drug treatment & rehabilitation in East & Southeast Asia” หรือ การบำบัดและการฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดแบบบังคับในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเอกสาร 3 เล่มที่รายงานความก้าวหน้าและตัวอย่างกรณีในประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านจากการเข้าสถานบำบัดสำหรับผู้ใช้ยาเสพติดแบบบังคับมาเป็นให้สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาผู้ใช้ยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (community-based treatment: CBTX) และการแพทย์ทางเลือก รวมไปถึงประเด็นการลดอันตรายจากยาเสพติดและบริการสนับสนุนทางสังคมอื่น ๆ   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (UNAIDS Asia Pacific) และสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Synthetic Drugs in East and Southeast Asia: Latest Developments and Challenges – 2022 Infodemic and SDGs: […]

  • คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    “คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ให้ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและสนองตอบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างเป็นรูปธรรม     หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจพอเพียงและลดความเหลื่อมล้ำ หอการค้าไทย ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: WHO Guidance for Climate Resilient and Environmentally Sustainable Health Care Facilities International Health Regulations (IHR): Joint External Evaluation (JEE): Country Implementation Guide แนวทางการจัดทำแผนอาหารและโครงการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น Online Employability Resources for Youth 2021

  • ความเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

    เอกสาร “ความเชื่อมโยงระหว่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” เปรียบเทียบความเชื่อมโยงระหว่าง 169 เป้าหมายย่อย (target) ของ SDGs กับ 37 เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 จำนวน 23 ฉบับ (แผนระดับที่ 2) และ 140 เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทฯ (Y1) เพื่อประมวลความสอดคล้องการกำหนดทิศทางการพัฒนาระดับประเทศกับระดับนานาชาติ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ     หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: SDGs Mega Trends 2021: COVID-19 and a Great Reset to SDGs in Action แผนที่นำทางเพื่อการพัฒนา SDGs ในระดับพื้นที่: การดำเนินการ และการติดตามผล […]

  • Directory of Stateless Children Protection Stakeholders

    เอกสารรวบรวมรายชื่อองค์กรและหน่วยงานทั่วประเทศไทยที่ทำงานเพื่อสนับสนุนและคุ้มครองเด็กไร้สัญชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: World Social Protection Report 2017-19 World Social Protection Report 2020-22 Measuring Children’s Well-being: the Child Flourishing and Futures Index Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand

  • World Inequality Report 2022

    รายงาน “World Inequality Report 2022” นำเสนอข้อมูลและสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำโลกล่าสุดและครอบคลุมที่สุด ที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ทั้งมิติความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง รายได้ เพศ และทางนิเวศวิทยา (ecological) โดยเป็นผลลัพธ์จากการทำงานจากนักวิจัยกว่าร้อยคนในระยะเวลาสี่ปีจากทุกทั่วโลกที่ร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูลความเหลื่อมล้ำโลก (World Inequality Database: WID.world)   หน่วยงานที่จัดทำ: World Inequality Lab ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Wage Report 2014 / 15 Wages and income inequality Global Wage Report 2016/17: Wage inequality in the workplace Women as Agents of Change for Greening Agriculture and Reducing Gender Inequality […]

  • Global Commons Stewardship (GCS) Index 2021

    การจัดทำดัชนี “Global Commons Stewardship (GCS) Index” ประจำปี 2019 ให้ข้อมูลล่าสุดและจัดอันดับการส่งผ่านผลกระทบทางลบ (spillovers) ภายในประเทศและต่างประเทศต่อทรัพยากรร่วมของโลก (Global Commons) ของ 100 ประเทศ     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Commons Stewardship (GCS) Index 2022 Stronger Collaboration for an Equitable and Resilient Recovery Towards […]

  • คู่มือแนวทางการออกแบบและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

    “คู่มือแนวทางการออกแบบและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism)” ให้กระบวนการและองค์ความรู้ที่จะเปลี่ยนภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้เป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ เตรียมความพร้อมให้กับชุมชนและธุรกิจท่องเที่ยวสู่การท่องเที่ยววิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างจุดเด่นและข้อได้เปรียบในตลาดท่องเที่ยวโลก     หน่วยงานที่จัดทำ: ฝ่ายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: WHO Technical Guidance Notes on Sendai Framework Reporting for Ministries of Health International Health Regulations (2005): State Party Self-assessment Annual Report Tool SDG Compass คู่มือการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ SDGs Child-responsive Urban Policies, Laws and Standards: A Guidance

  • แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564 (National Tuberculosis Control Programme Guideline, Thailand 2021)

    เอกสาร “แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564” เป็นแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค เพื่อให้การดำเนินงาน ป้องกัน ดูแลรักษา และควบคุมวัณโรคของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนปฏิบัติการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทางการควบคุมวัณโรคในประเทศไทยหลักตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค เป้าหมายยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)   หน่วยงานที่จัดทำ: กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจของไทย พ.ศ. 2564 (2021 Thailand’s Voluntary National Review on The Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development) Global Tuberculosis Report 2023 Key Elements of An Effective National […]

  • 10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร

    รายงาน “10 Stories การจัดการของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร” เป็นผลงานจากโครงการระดับท้องถิ่นในหัวข้อ “การพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องิ่นและนำร่องแผนงานของชุมชนเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาหาร การบริโภคอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยในกลุ่มผู้เปราะบางในจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี” ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย สถาบันไทยนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นและสมาพันธ์สวิส มีวัตถุประสงค์ของเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในสังคมและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของท้องถิ่นผ่านการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองและชุมชนในบริบทของ COVID-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาไทยและอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The SDSN Italia SDGs City Index Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Federated States of Micronesia Joint External Evaluation of IHR Core Capacities of the Turkmenistan […]

  • สิทธิเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีในภูมิภาคอาเซียน – หลักการและแนวทางนโยบาย

    เอกสาร “สิทธิเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีในภูมิภาคอาเซียน – หลักการและแนวทางนโยบาย” นำเสนอเนื้อหาสรุปภาษาไทยฉบับ Child-friendly จากคู่มือ “Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region” กำหนดหลักการพื้นฐานเพื่อรับรองสิทธิของเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด สุขภาพดี และยั่งยืน รวมทั้งการยึดถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นศูนย์กลางของโครงการริเริ่มต่าง ๆ โดยทุกภาคส่วนของสังคมในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสำนักงานข้าสูงผู้แทนสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษไทยได้ ที่นี่     Related posts: ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ […]

  • Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region

    เอกสารคู่มือ “Principles and Policy Guidance on Children’s Rights to a Safe, Clean, Healthy and Sustainable Environment in the ASEAN Region” กำหนดหลักการพื้นฐานเพื่อรับรองสิทธิของเด็กในการมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด สุขภาพดี และยั่งยืน รวมทั้งการยึดถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นศูนย์กลางของโครงการริเริ่มต่าง ๆ โดยทุกภาคส่วนของสังคมในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อหาในเอกสารผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในด้านสิทธิเด็กและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงกับเด็กและเยาวชนจากทั่วทั้งภูมิภาคด้วย หลักการและแนวทางนโยบายในเอกสารนี้จะมอบแนวนโยบายที่เป็นประโยชน์ให้รัฐบาล ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ สื่อมวลชน และเด็กนำไปปฏิบัติเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสำนักงานข้าสูงผู้แทนสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: SDG 7 Localization: Affordable and […]

  • เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย (Prevention and Control of Noncommunicable Diseases in Thailand – The Case for Investment)

    รายงาน “เหตุผลสนับสนุนการลงทุนในมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย” แสดงหลักฐานว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างไรจากการลงทุนในมาตรการแทรกแซงนโยบายเพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และยังกล่าวถึงประเด็นอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย เช่น มลพิษทางอากาศ   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) องค์การอนามัยโลก (WHO) และกระทรวงสาธารณสุข ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ และภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: Summary and Recommendations: Regional Seminar on Integrated Approaches for SDG Planning: The Case of SDG 6 on Water and Sanitation GCED learning and assessment: An Analysis of Four Case Studies in Asia SDG Investor Map […]

  • The State of Food and Agriculture 2021

    Making agrifood systems more resilient to shocks and stresses รายงานสถานการณ์อาหารและเกษตรกรรมปี 2564 นำเสนอตัวชี้วัดระดับประเทศของความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของของระบบอาหารเกษตร ตัวชี้วัดเหล่านี้ใช้วัดความคงทนของการผลิตขั้นต้นและความพร้อมด้านอาหาร ตลอดจนการเข้าถึงอาหารทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ จึงสามารถช่วยประเมินความสามารถของระบบอาหารเกษตรระดับประเทศในสภาวะช็อกและความตึงเครียด เช่น จากวิกฤตการระบาดใหญ่ของ COVID-19 จึวจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้ระบบอาหารทางการเกษตรมีความสามารถในการตั้งรับปรับตัว มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The State of Food and Agriculture 2018 The State of Food and Agriculture 2020 The State of Food and Agriculture 2019 The Impact of Disasters and Crises […]