Sorting:
Sort Ascending
  • The Climate-changed Child

    รายงาน “The Climate-changed Child” เป็นรายงานฉบับต่อยอดจากดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศสำหรับเด็ก (Children’s Climate Risk Index) ปี 2011 โดยมุ่งเน้นไปที่เด็ก ๆ ที่ต้องเผชิญภัยคุกตามจากภาวะน้ำขาดแคลนและภาวะเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ ควบคู่ไปกับการระบุถึงแนวทางสำคัญที่ประชาคมโลกต้องดำเนินการ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights Crisis: Children’s Climate Risk Index) Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for Climate Risk Screening Progress on Children’s Well-Being: Centring Child Rights […]

  • Emissions Gap Report 2023

    รายงาน “Emissions Gap Report 2023” ฉบับนี้เป็นรายงานช่องว่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฉบับที่ 14 โดยเป็นรายงานสำคัญประจำปีที่จะเผยแพร่ล่วงหน้าก่อนการเจรจาหัวข้อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปีนั้น เพื่อติดตาม ประเมิน และรายงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ตามข้อผูกพันที่ทุกประเทศได้ตกลงไว้ในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ผลการประเมินพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีค.ศ. 2030 ที่คาดการณ์ไว้จะต้องลดลงร้อยละ 28-42 สำหรับการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2°C และ 1.5°C   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Sustainable Development Report 2023 Sustainable Development Goals Report 2023: Special Edition Global Report on Food Crises 2023 World Social Report […]

  • Progress 2023: Periodic Global Report on the State of Solutions to Internal Displacement

    รายงาน “Progress 2023: Periodic Global Report on the State of Solutions to Internal Displacement” เป็นรายงานการวิเคราะห์สถานะของการแก้ปัญหาการพลัดถิ่นภายในประเทศ (Internal Displacement) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างครอบคลุม โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสที่ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศต้องเผชิญจากกลุ่มประเทศนำร่อง 15 ประเทศ ประกอบด้วยอัฟกานิสถาน, สาธารณรัฐอัฟริกากลาง, ชาด, โคลอมเบีย, เอธิโอเปีย, อิรัก, ลิเบีย, โมซัมบิก, ไนเจอร์, ไนจีเรีย, โซมาเลีย, ซูดานใต้, ซูดาน, วานูอาตู และเยเมน   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Global Assessment Report: Special Report 2023 – […]

  • Nature-based Infrastructure: How Natural Infrastructure Solutions Can Address Sustainable Development Challenges and the Triple Planetary Crisis

    รายงาน “Nature-Based Infrastructure: How natural infrastructure solutions can address sustainable development challenges and the triple planetary crisis” นำเสนอผลการศึกษาว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based infrastructure) มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้มากถึง 79% ของเป้าหมายย่อยทั้งหมด และยังช่วยปิดช่องว่างของโครงสร้างพื้นฐาน และในขณะเดียวกันยังสามารถตอบสนองต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพไปพร้อมกัน   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) สำนักงานบริการโครงการแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Project Services: UNOPS) และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate […]

  • On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators

    หนังสือ “”On Behalf of My Delegation: A Survival Guide for New and Lonely Climate Change Negotiators”” เขียนโดย Joyeeta Gupta และ Jennifer Allan สรุปบริบทการเจรจาต่อรองในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของระบอบสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ (international climate regime) และองค์กรภายในระบอบ เนื้อหาครอบคลุมกฎระเบียบ รัฐและผู้มีส่วนร่วมที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงกลุ่มต่างๆ ในระบอบการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น กลุ่ม G-77 และจีน ผู้เขียนยังนำเสนอกลยุทธ์ในการรับมือและ “เคล็ดลับ” สำหรับผู้เจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเน้นทักษะการเจรจาที่จำเป็น และเสริมด้วยคำแนะนำสำหรับ “ตัวแทนเจรจาทางการทูตด้านสภาพภูมิอากาศผู้โดดเดี่ยว” (Lonely Climate Change Negotiator) ที่มักเป็นผู้แทนเพียงคนเดียวจากประเทศกำลังพัฒนาในเวทีระดับโลกโดยเฉพาะ หนังสือเล่มนี้เป็นฉบับอัปเดตจากฉบับแรกที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2000 โดยปรับปรุงเนื้อหาจากการวิจัยติดตามผลและการสังเกตกระบวนการเจรจาของผู้เขียน   หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Institute […]

  • The Global Climate 2011-2020: A Decade of Acceleration

    “รายงาน “”The Global Climate 2011-2020: A Decade of Acceleration”” นำเสนอสถานการณ์ภูมิอากาศโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความมั่นคงทางอาหาร การอพยพ และการโยกย้ายถิ่น ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศและความก้าวหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อย่างไรก็ตาม รายงานยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการพยากรณ์ล่วงหน้าและระบบเตือนภัยล่วงหน้า และพบว่าเงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศทั้งจากภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าระหว่างปี 2011 ถึง 2020 รายงานนี้รวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพและการประเมินผลกระทบจากผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศหลายสิบคน จาก National Meteorological and Hydrological Services, Regional Climate Centres สำนักงานสถิติแห่งชาติของประเทศต่าง ๆ องค์กรภายใต้สหประชาชาติ”   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: The State of the World’s Midwifery 2011 SDGs ในทศวรรษแห่งการดำเนินการอย่างจริงจัง (Decade of Action) […]

  • State of Finance for Nature 2023

    รายงาน “State of Finance for Nature 2023” นำเสนอสถานะการไหลเวียนของเงินทุนไปสู่โครงการการแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions: NbS) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ประจำปี 2023 และเป็นครั้งแรกที่มีการประเมินมูลค่าของการไหลเวียนเงินทุนในเชิงลบต่อธรรมชาติจากทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Hygiene: UN-Water GLAAS Findings on National Policies, Plans, Targets and Finance Sustainable Finance: Bridging the Gap in Asia and the Pacific Nature-based Infrastructure: How Natural Infrastructure Solutions Can […]

  • Asia and the Pacific – Regional Overview of Food Security and Nutrition 2023

    “รายงาน “”Asia and the Pacific – Regional Overview of Food Security and Nutrition 2023 Statistics and Trends”” ในรูปแบบรายงานดิจิทัล นำเสนอสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการล่าสุดของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยเน้นย้ำถึงความก้าวหน้า (หรือความล่าช้า) ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยเฉพาะ SDG 2 ยุติความหิวโหย และเป้าหมาย World Health Assembly 2030 ด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ สถิติล่าสุดพบว่า ภูมิภาคนี้มีผู้ขาดสารอาหารมากถึง 370.7 ล้านคน คิดเป็นครึ่งหนึ่งของตัวเลขทั้งโลก เช่นเดียวกัน โดยผู้หญิงมีภาวะขาดแคลนอาหารมากกว่าผู้ชาย อัตราการเกิดภาวะแคระแกร็น ผอมแห้ง และน้ำหนักเกินในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี รวมถึงภาวะโลหิตจางในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ยังคงห่างไกลจากเป้าหมายโภชนาการทั่วโลกของ World Health Assembly”   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ […]

  • The Child Marriage Data Portal

    เว็บไซต์ “”Child Marriage Data Portal”” นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัดการแต่งงานในเด็กและประเด็นที่เกี่ยวข้องในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและสะดวกต่อการใช้งานในรูปแบบ interactive พัฒนาโดย The Child Marriage Monitoring Mechanism (CMMM) มีเป้าหมายเพื่อให้ข้อมูลสนับสนุนที่เชื่อถือได้เพื่อประเมินสถานการณ์ในประเทศเฉพาะแก่ผู้กำหนดนโยบายและผู้พัฒนาโครงการที่ต้องการยุติปัญหาการแต่งงานในวัยเด็ก นักวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักวิจัยที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงเจ้าหน้าที่กระทรวง องค์กรภาคประชาสังคม และกลุ่มชุมชน เว็บไซต์นี้จัดแสดงข้อมูลและแนวโน้มระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ในอดีต ปัจจุบัน และการคาดการณ์ในอนาคต จากนั้นข้อมูลจะถูกแบ่งย่อยเพื่อเน้นย้ำถึงความแตกต่างภายในและระหว่างประเทศ โดยพิจารณาจากฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ระดับการศึกษา ที่อยู่อาศัยในชนบทหรือในเมือง และยังสามารถเปรียบเทียบข้อมูลระดับประเทศกับข้อมูลระดับโลกและภูมิภาคได้   หน่วยงานที่จัดทำ:องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Asia-Pacific Migration Data Report 2021 Overcoming Data Graveyards in Official Statistics Practical Guide to Data Storytelling […]

  • Global Status Report on Road Safety 2023

    รายงาน “Global Status Report on Road Safety 2023” นำเสนอสถานะความปลอดภัยบนท้องถนนทั่วโลก ระบุว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อปีในระดับโลกลดลงเล็กน้อยเหลือ 1.19 ล้านคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความพยายามในการปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนนนั้นกำลังได้ผลจริง และหากมีการใช้มาตรการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพจะลดการเสียชีวิตจากการจราจรทางถนนลงได้   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: National Systems to Support Drinking-Water, Sanitation and Hygiene: Global Status Report 2019 Global Assessment Report: Special Report 2023 – Mapping Resilience for the Sustainable Development Goals Global Report on Food Crises 2023 Progress 2023: Periodic […]

  • จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2567 (ThaiHealth Watch 2024)

    รายงาน “จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2567” (ThaiHealth Watch 2024) สะท้อนอนาคตทิศทางสถานการ์ณสุขภาพของประเทศไทย พร้อม 7 ประเด็นสุขภาพสำคัญของปี ด้วยการเชื่อมองค์ความรู้ใน 3 ส่วน คือ 1) Situation สถานการณ์พฤติกรรมสุขภาพ จากรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566 2) Social Trend กระแสความสนใจในสื่อสังคมออนไลน์ และ 3) Solution ข้อแนะนำ ทั้งระดับปัจเจกบุคคลและข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสังคม   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาไทยได้ ที่นี่ Related posts: รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567 UN World Water Development Report 2024: Water for Prosperity and Peace Global Commons Stewardship Index 2024 World […]

  • World Economic Situation and Prospects 2024

    รายงาน “World Economic Situation and Prospects 2024” เป็นรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ประจำปี 2024 ได้นำเสนอมุมมองด้านเศรษฐกิจโลก และเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศและนโยบายที่รอบคอบในการยกระดับการเติบโตของโลกและเร่งความก้าวหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยรายการฉบับนี้ประเมินว่าการเติบโตเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงต่อไป จากประมาณ 2.7% ในปี 2023 เป็น 2.4% ในปี 2024 ยังคงต่ำกว่าอัตราการเติบโตก่อนเกิดโรคระบาดที่ 3% ผลการศึกษายังเรียกร้องให้มีการร่วมมือระหว่างประเทศที่เข้มแข็งขึ้น เพื่อกระตุ้นการเติบโตและส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว   หน่วยงานที่จัดทำ: สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN DESA) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Employment and Social Outlook: Trends 2024 Thailand Economic Monitor 2023 | Building a Resilient Future: Coping with Droughts and Floods Economic […]

  • World Employment and Social Outlook: Trends 2024

    รายงาน “World Employment and Social Outlook: Trends 2024” นำเสนอสถานการณ์การจ้างงานระดับโลกที่ซับซ้อน ผลการศึกษาคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2024 อันเป็นสัญญาณของความท้าทายใหม่ในตลาดแรงงาน รายงานยังเน้นย้ำถึงแนวโน้มที่แตกต่างกันระหว่างประเทศที่มีรายได้สูงและต่ำ ซึ่งระบุว่าประเทศที่มีรายได้ต่ำมีอัตราการว่างงานและความยากจนในสูงกว่า นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่า แรงงานส่วนใหญ่ของโลกยังคงอยู่ในภาคการจ้างงานไม่เป็นทางการ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Employment and Social Outlook: Trends 2018 World Employment and Social Outlook: Trends 2019 World Employment and Social Outlook: Trends 2020 World Employment and Social Outlook: Trends 2021

  • Integrating Climate Change (CC), Gender, and Social Inclusion (GSI) into Planning and Budgeting in Thailand

    คู่มือ “Integrating Climate Change (CC), Gender, and Social Inclusion (GSI) into Planning and Budgeting in Thailand” หรือ การบูรณาการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อัตลักษณ์ทางเพศและการมีส่วนร่วมทางสังคมเข้าสู่การวางแผนและการจัดทำงบประมาณในประเทศไทย เป็นแนวทางปฏิบัติที่มุ่งสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐของไทยในการบูรณาการมิติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและมิติเพศ-สังคมเข้าสู่การทำงานและการจัดงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของงบประมาณและจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand Summary and Recommendations: Regional Seminar on Integrated Approaches for SDG Planning: The Case of SDG […]

  • 2030 Recommendations of the United Nations Senior Leadership Group on Disaster Risk Reduction for Resilience

    เอกสาร “2030 Recommendations of the United Nations Senior Leadership Group on Disaster Risk Reduction for Resilience” เสนอการสนับสนุนของระบบองค์การสหประชาชาติทั้งหมดเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวจนถึงปี 2030 และยังเป็นการเสริมสร้างพันธกรณีที่ให้ไว้ในแผนปฏิบัติการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติเพื่อการตั้งรับปรับตัวขององค์การสหประชาชาติ   หน่วยงานที่จัดทำ: United Nations Office for Disaster Risk Reduction ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: United Nations Common Guidance on Helping Build Resilient Societies ESCAP Multi-Donor Trust Fund for Tsunami, Disaster and Climate Preparedness Summary and Recommendations: Regional […]

  • Asia and the Pacific SDG Progress Report 2024

    รายงาน “Asia and the Pacific SDG progress report 2024: Showcasing Transformative Actions” เป็นหนึ่งในรายงานสำคัญประจำปีของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ สำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) รายงานฉบับนี้ ให้ภาพรวมของความก้าวหน้าของการดำเนินงานเพื่อบรรลุ SDGs ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สำหรับปีนี้ รายงานเน้นย้ำเรื่องราวความสำเร็จและแนวโน้มต่าง ๆ พร้อมทั้งอุปสรรคเฉพาะที่พบในแต่ละพื้นที่ภายในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังระบุถึงลำดับความสำคัญในการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด SDGs โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มประชากรที่เปราะบางที่สุด ซึ่งจะช่วยในการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาให้เท่าเทียมและครอบคลุมยิ่งขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Asia and the Pacific SDG Progress Report 2021 Asia and the Pacific SDG Progress Report 2022 Background Documents – Asia-Pacific Progress […]

  • Sustainable and Circular Textile Value Chains: Linkages with Trade and Trade Policy – Case Study: Thailand

    รายงาน “Sustainable and Circular Textile Value Chains: Linkages with Trade and Trade Policy – Case Study: Thailand” ศึกษาอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยเป็นกรณีตัวอย่างที่แสดงถึงทั้งโอกาสและความท้าทายในการพัฒนาระบบการผลิตเสื้อผ้าที่ยั่งยืนและอยู่บนฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มากขึ้น รายงานบพว่าประเทศไทยมีภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอที่พัฒนาอย่างดีอยู่ระดับหนึ่งแล้วในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานจากฟอสซิลสูงและปริมาณมลพิษที่เกิดจากกระบวนการย้อมสีและตกแต่งสำเร็จ รวมถึงศึกษาว่านโยบายการค้าสามารถมีบทบาทส่งเสริมความยั่งยืนได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น การยกเลิกภาษีนำเข้าเทคโนโลยีสะอาด เป็นต้น   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: COVID-19 Recovery in Thailand: a Case Study of the Role of Women’s Leadership Thailand’s BCG Transformation […]

  • People and Planet: Addressing the Interlinked Challenges of Climate Change, Poverty and Hunger in Asia and the Pacific

    รายงาน “People and Planet: Addressing the Interlinked Challenges of Climate Change, Poverty and Hunger in Asia and the Pacific” ฉบับนี้อยู่ในซีรีย์ Asia-Pacific Sustainable Development Goals (SDG) Partnership กล่าวถึงการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความยากจน และความหิวโหยในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบที่แตกต่างกันของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งส่งผลต่อความยากจนและความหิวโหย สืบเนื่องจากภาวะกดดันด้านค่าครองชีพ ความขัดแย้งทั่วโลก และภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในขณะที่หลายประเทศยังคงฟื้นฟูจากความตึงเครียดทางการคลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การกู้ยืมเกินตัว และต้นทุนหนี้ที่สูง พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางแก้ไขเชิงบูรณาการ โดยคำนึงถึงปัจจัยสนับสนุน เช่น การศึกษา การสร้างเสริมศักยภาพของสถาบัน การเงินเพื่อนวัตกรรม และการสร้างความร่วมมือ พร้อมกับตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีและสัมฤทธิ์ผลเพื่อนำไปดำเนินการต่อ   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The […]

  • Health System Resilience Indicators: An Integrated Package for Measuring and Monitoring Health System Resilience in Countries

    เอกสารชุดตัวชี้วัด “Health System Resilience Indicators: An Integrated Package for Measuring and Monitoring Health System Resilience in Countries” ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการวัดและติดตามความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของระบบสุขภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤต เพื่อช่วยปิดช่องว่างด้านการติดตามประเมินผลระบบสุขภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับชาติและภูมิภาค ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข และองค์กรที่ทำงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพโดยเฉพาะ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Health Statistics 2021: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) World Health Statistics 2020: Monitoring Health for the Sustainable Development Goals (SDGs) World Health […]

  • Skills for a Green Transition: Solutions for Youth on the Move

    เอกสาร “Skills for a Green Transition: Solutions for Youth on the Move” ให้ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติสำหรับผู้กำหนดนโยบาย นักพัฒนา เพื่อสนับสนุนเยาวชนในการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาทักษะสีเขียว (Green Skills) หรือทักษะความรู้ที่จำเป็นในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยเน้นย้ำความครอบคลุมไปถึงกลุ่มเยาวชนที่ย้ายถิ่นฐาน ผู้ลี้ภัย และเยาวชนที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นฐานในการมีส่วนร่วมหารือและความพยายามที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ด้วย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ยูนิเซฟ และธนาคารโลก (World Bank) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: ข้อคิดเห็นของเยาวชนและนายจ้างเกี่ยวกับโอกาสในการมีงานทำของเยาวชนไทย (Voices of youth and employers on youth employability in Thailand) Energy Transition Pathways for the 2030 Agenda SDG 7 Roadmap […]