Sorting:
Sort Ascending
  • Global Waste Management Outlook 2024

    รายงาน “Global Waste Management Outlook 2024” นำเสนอสถานการณ์วิกฤติขยะที่กำลังใกล้เข้ามา มีการคาดการณ์ว่าปริมาณขยะทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในปี 2050 ส่งผลให้ต้นทุนการจัดการขยะจะเพิ่มขึ้นตามเป็นสองเท่า อย่างไรก็ตามต้นทุนนี้หลีกเลี่ยงได้ด้วยการลดปริมาณขยะอย่างจริงจังเท่านั้น รายงานเสนอแนวทางการเปลี่ยนไปสู่ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) ที่มองขยะเป็นทรัพยากร ไม่ใช่สิ่งของไร้ค่า ด้วยการควบคุมการเกิดขยะ ใช้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน และการจัดการขยะที่ดีขึ้น   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Resources Outlook 2024 World Employment and Social Outlook: Trends 2024 Progress on Integrated Water Resources Management – Global Baseline for SDG Indicator 6.5.1 Nature-based […]

  • Global Resources Outlook 2024

    รายงาน “Global Resources Outlook 2024” นำเสนอสถานการณ์การใช้ทรัพยากรของโลก โดยพบว่าการดึงทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 60% ภายในปี 2060 หากเราไม่เปลี่ยนแปลงแนวทางการใช้ทรัพยากร การดำเนินการที่ไม่ยั่งยืนเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment. Programme: UNEP) และ International Resource Panel (IRP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Employment and Social Outlook: Trends 2024 Progress on Integrated Water Resources Management – Global Baseline for SDG Indicator 6.5.1 Progress […]

  • Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin

    รายงาน “Review on the Impacts of Climate Change on Rice Production and Cross- sectoral Transboundary Water Issues in the Lower Mekong Basin” ประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตข้าวและผลกระทบที่เกิดต่อการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Basin: LMB) ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมถึงเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของความร่วมมือระดับภูมิภาคและกลยุทธ์การปรับตัวเชิงรุกเพื่อความยั่งยืนและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของพื้นที่และผู้คนในระยะยาว   หน่วยงานที่จัดทำ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Gendered Impacts of Climate Change: Evidence from Asia Progress on Transboundary Water Cooperation – 2021 Update Progress on […]

  • The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific

    เอกสารสรุปข้อมูล (Information brief) “The Wildlife–Livelihoods–Health Nexus: Challenges and Priorities in Asia and the Pacific” นำเสนอข้อมูลความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างสัตว์ป่า-สุขภาพ-การดำรงชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จัดทำขึ้นเป็นฉบับแรก วัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นภาพรวมของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ป่า และสุขภาพ ตลอดจนประเด็นด้านความท้าทาย โอกาส และศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งได้เสนอข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดนโยบายถึงวิธีการปกป้องทั้งชนิดพันธุ์สัตว์ป่า ความเป็นอยู่ของคน และสังคมได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและการลงทุนในด้านการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า การดำรงชีวิตของผู้คนในชนบท และแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health)   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: GCED: Taking It Local in Asia-Pacific – A Regional Study on GCED Localization and Challenges People and Planet: Addressing the […]

  • The Unjust Climate

    รายงาน “The Unjust Climate” นำเสนอผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อรายได้และการปรับตัวของคนในพื้นที่ชนบทที่แตกต่างกันเพราะเพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ และอายุของประชากร โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลจากประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง 24 ประเทศ ใน 5 ภูมิภาคของโลก จากครัวเรือนในชนบททั้งหมด 109,341 ครัวเรือน (คิดเป็นประชากรชนบทกว่า 950 ล้านคน) วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลฝนรายวันและอุณหภูมิที่อ้างอิงทางภูมิศาสตร์ 70 ปี เพื่อช่วยในการแยกแยะว่าสภาวะกดดันด้านสภาพภูมิอากาศแบบต่าง ๆ ส่งผลต่อรายได้จากกิจกรรมการเกษตร/นอกการเกษตรและรายได้รวม การจัดสรรแรงงาน และการปรับตัวของผู้คนอย่างไร   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for Climate Risk Screening วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights […]

  • Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems

    เอกสาร “Social Protection in the Digital Age: A Summary of the Human Rights Risks of Digital Technologies in Social Protection Systems” นำเสนอสรุปงานวิจัยแนวโน้มการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบสวัสดิการสังคมทั่วโลก และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องมีกระบวนการที่โปร่งใสและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ดีขึ้น บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดความกระจ่างในประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เพิ่งเกิดขึ้น และเสนอแนะแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดหย่อนภัยคุกคามดังกล่าว   หน่วยงานที่จัดทำ: Amnesty International ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Social Protection Report 2017-19 World Social Protection Report 2020-22 National Systems to Support Drinking-Water, Sanitation and Hygiene: Global Status Report 2019 Leveraging Human […]

  • Migration Governance Insights: Informing People-centred Migration Policies

    รายงาน “Migration Governance Insights: Informing People-centred Migration Policies” นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการการย้ายถิ่นฐานทั่วโลก โดยใช้ข้อมูลดัชนีการบริหารจัดการการย้ายถิ่น (Migration Governance Indicators: MGI) จาก 100 ประเทศและ 69 หน่วยงานปกครองท้องถิ่น เพื่อประเมินแนวโน้มทั่วโลก เสนอข้อเสนอแนะ และแสดงตัวอย่างแนวทางการตอบสนองด้านนโยบายในบริบทต่าง ๆ นอกจากนี้ บทวิเคราะห์ยังเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันในประเด็นนโยบายต่าง ๆ และเน้นบทบาทสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายการย้ายถิ่นฐานที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Transforming Our World: Interdisciplinary Insights on the Sustainable Development Goals Managing Smart City Governance – A playbook for Local and Regional Governments […]

  • Female Genital Mutilation: A Global Concern – 2024 Update

    อินโฟกราฟิก “Female Genital Mutilation: A Global Concern – 2024 Update” นำเสนอผลการประเมินสถานการณ์การขลิบอวัยวะเพศหญิง (Female Genital Mutilation: FGM) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยจะเล่าเรื่องผ่านตัวเลขเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจสถานการณ์ของผู้หญิงและเด็กหญิงหลายล้านคนที่รอดชีวิตจากการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรมนี้   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Hepatitis Report 2024: Action for Access in Low- and Middle-income Countries World Employment and Social Outlook: Trends 2024 World Economic Situation and Prospects 2024 UN World Water Development Report 2024: Water […]

  • Global Status Report for Buildings and Construction

    รายงาน “Global Status Report for Buildings and Construction 2024” เป็นรายงานประจำปีที่แสดงภาพรวมความก้าวหน้าของภาคส่วนอาคารและการก่อสร้างในระดับโลก รายงานสถานการณ์อาคารโลกทบทวนสถานะของนโยบาย การเงิน เทคโนโลยี และแนวทางแก้ไข เพื่อติดตามความสอดคล้องของภาคส่วนนี้กับข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) นอกจากนี้ รายงานยังมอบข้อมูลเชิงประจักษ์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อโน้มน้าวให้ผู้กำหนดนโยบายและชุมชนคนทำงานภาคส่วนอาคารและการก่อสร้างให้ดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก     หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และพันธมิตรอาคารและการก่อสร้างโลก (GlobalABC) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: National Systems to Support Drinking-Water, Sanitation and Hygiene: Global Status Report 2019 Global Status Report on Road Safety 2023 Global Assessment Report: Special Report […]

  • The Contribution of Volunteering to Climate Action and Community Resilience

    รายงาน “The Contribution of Volunteering to Climate Action and Community Resilience” นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์ถึงวิธีการที่อาสาสมัครทั่วโลกสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือชุมชนของตนเองในการปรับตัว – และสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว – เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังกล่าวถึงรูปแบบและขอบเขตที่หลากหลายของงานอาสาสมัคร โดยเน้นที่งานอาสาสมัครในระดับท้องถิ่น   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติ (UNV) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Reflect–Share–Act: A Guide to Community-based Education for Sustainable Development Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas The Race to Net Zero: Accelerating Climate Action […]

  • Levels and Trends in Child Mortality Report 2023

    รายงาน “Levels and Trends in Child Mortality” ประจำปี 2023 นำเสนอข้อมูลและการประมาณการอัตราการตายของเด็กและวัยรุ่นจากทุกสาเหตุในแต่ละประเทศ ผลการศึกษาค้นพบว่าจำนวนการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต่อปี ลดลงเหลือ 4.9 ล้านคนในปี 2023 และลดลง 51% ตั้งแต่ปี 2000 รวมถึงอัตราการลดลงของเด็กตายในประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลางล่างหลายประเทศต่ำลงกว่าตัวเลขประมาณการ ซึ่งเป็นผลของความมุ่งมั่นของรัฐบาล องค์กร ชุมชนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และครอบครัว   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Global Trends in Child Monetary Poverty According to International Poverty Lines SDGs Mega Trends 2023: Unlock the Global Pathways to Resilience, […]

  • Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work

    รายงาน “Fair Share for Health and Care: Gender and the Undervaluation of Health and Care Work” เสนอผลการศึกษาว่าการลงทุนอย่างเท่าเทียมกันระหว่างเพศในด้านสุขภาพและงานดูแล (care work) สามารถช่วยยอมรับคุณค่าของงานเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยุติธรรมและครอบคลุมมากขึ้น ตลอดจนทำให้คนทุกเพศสภาพมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น โดยการลงทุนในระบบสุขภาพและการดูแลไม่เพียงแต่เร่งความก้าวหน้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage: UHC) เท่านั้น แต่ยังช่วยกระจายภาระงานด้านสุขภาพและการดูแลที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนด้วย   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Report of the Global Conference on Primary Health Care: From Alma-Ata Towards Universal Health Coverage and the Sustainable Development Goals […]

  • State of Global Environmental Governance 2023

    รายงาน “State of Global Environmental Governance 2023” นำเสนอสถานการณ์ของการอภิบาลด้านสิ่งแวดล้อมโลกประจำปีเป็นฉบับที่ 5 โดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกจาก Earth Negotiations Bulletin (ENB) ที่ติดตามการเจรจาระหว่างประเทศในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ สารเคมี ป่าไม้ และที่ดิน     หน่วยงานที่จัดทำ: สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Institute for Sustainable Development: IISD) ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand Climate […]

  • Human Development Report 2023-24

    รายงานการพัฒนามนุษย์ “Human Development Report 2023-24 | Breaking the gridlock: Reimagining Cooperation in a Polarized World” นำเสนอดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดโดยรวมที่สะท้อนถึงรายได้ประชาชาติสุทธิต่อประชากร (Gross National Income: GNI) ต่อหัว การศึกษา และอายุขัยของประชากรในประเทศนั้น ๆ โดยรายงานของปีนี้เป็นการประเมินภาวะหยุดชะงักอันตรายที่เกิดจากความก้าวหน้าในการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน ความเหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรง และความแตกแยกทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น พร้อมกับเสนอแนวทางไปข้างหน้าโดยให้การทำงานแบบพหุภาคี (multilateralism) มีบทบาทสำคัญ   หน่วยงานที่จัดทำ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: Leveraging Human Mobility to Rescue the 2030 Agenda Social Protection in the Digital […]

  • State of the Global Climate 2023

    รายงาน “State of the Global Climate 2023” นำเสนอสถานการณ์สภาพภูมิอากาศโลก ผ่านข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่าสถิติระดับก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิผิวน้ำ ความร้อนและกรดในมหาสมุทร ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ปริมาณน้ำแข็งทะเลแอนตาร์กติกา และธารน้ำแข็งที่ละลาย ล้วนทำลายสถิติเดิมอย่างสิ้นเชิง และรายงานฉบับนี้ยังยืนยันอีกว่า ปี 2023 เป็นปีที่โลกร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ และนำเสนอผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความมั่นคงด้านอาหารและการอพยพของประชากร   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: 2023 State of Climate Services: Health Progress 2023: Periodic Global Report on the State of Solutions to Internal Displacement Climate Resilient Practices – Typology and Guiding Material for […]

  • World Happiness Report 2024

    รายงาน “World Happiness Report ประจำปี 2024” จัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยจะประเมินความสุขตามเกณฑ์ต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนทางสังคม รายได้ ชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี และการทุจริต เป็นต้น โดยฉบับนี้กล่าวถึงความสุขของคนแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงสูงอายุ     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network ดาวน์โหลด: เอกสารภาษาอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: World Happiness Report 2019 World Happiness Report 2020 World Happiness Report 2021 World Happiness Report 2023

  • Women in Action

    หนังสือภาพ “Women in Action” รวบรวมเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจของผู้หญิงและเด็กหญิงชาวอินเดียห้าคนที่เข้าร่วมโครงการเสริมพลังให้แก่ผู้หญิง Women’s Access to Education and Livelihood Opportunities in Maharashtra โดยเขียนจากมุมมองของเธอเอง เล่าถึงการต่อสู้ อุปสรรคจากความด้อยโอกาสอันมาจากการอยู่ในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ ติดเชื้อ และเปราะบางต่อการติดเชื้อ HIV หรือเอดส์ ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการ ไม่มีทักษะการจ้างงาน และไม่ได้รับโอกาสในการเป็นผู้ประกอบการ จนถึงวันที่ประสบความสำเร็จ มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการเงินได้     หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: การสนทนาครั้งใหญ่: คู่มือในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อผู้หญิงในสื่อและโดยสื่อ (The Big Conversation: Handbook to Address Violence against Women in and through the Media) COVID-19 Recovery […]

  • The Role of Artificial Intelligence in Sexual and Reproductive Health and Rights

    เอกสาร “The Role of Artificial Intelligence in Sexual and Reproductive Health and Rights” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาพรวมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและการสืบพันธุ์ (Sexual and Reproductive Health and Rights: SRHR) รวมถึงเน้นให้ข้อมูลความเสี่ยง ผลกระทบ และข้อควรพิจารณาเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาถึงลักษณะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ บทสรุปนี้มุ่งเน้นที่จะสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ใน SRHR และชี้ประเด็นสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าปัญญาประดิษฐ์จะถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และมีความรับผิดชอบ   หน่วยงานที่จัดทำ: องค์การอนามัยโลก (WHO) ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: วิกฤติสภาพภูมิอากาศ คือวิกฤติสิทธิเด็ก: ดัชนีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศของเด็ก (The Climate Crisis is a Child Rights Crisis: Children’s Climate Risk Index) Progress on […]

  • The Crucial Role of Legal Frameworks in Advancing Gender Equality

    ชุดภาพอินโฟกราฟิก “The Crucial Role of Legal Frameworks in Advancing Gender Equality” วิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการยกเลิกกฎหมายที่เลือกปฏิบัติและการใช้กรอบทางกฎหมายที่ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 5.1 ในทั้งหมด 120 ประเทศ เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของกรอบทางกฎหมายที่เข้มแข็งเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ นำเสนอตัวอย่างที่ดีของประเทศต่าง ๆ ชี้ให้เห็นช่องว่างทางกฎหมาย และเน้นย้ำการดำเนินการที่สำคัญเพื่อสร้างความก้าวหน้า   หน่วยงานที่จัดทำ: UN Women ดาวน์โหลด: เอกสารฉบับอังกฤษได้ ที่นี่ Related posts: เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง (SDG 5: Gender equality) Why Gender Equality Matters to Achieving All 17 SDGs Strengthening National Indicator Frameworks to Drive National SDG […]

  • Global Commons Stewardship Index 2024

    รายงาน “Global Commons Stewardship Index 2024” จัดทำขึ้นเป็นฉบับที่ 4 รวบรวมข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในประเทศและผลกระทบล้นไหล​ (spillover) ข้ามพรมแดนของแต่ละประเทศ โดยได้นำเสนอข้อมูล สถิติ และแนวทางนโยบายในการลดผลกระทบที่จะมีต่อทรัพย์สินร่วมของโลก เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับการปกป้องระบบนิเวศของโลกมากยิ่งขึ้น     หน่วยงานที่จัดทำ: Sustainable Development Solutions Network, Yale Center for Environmental Law & Policy, และ Center for Global Commons มหาวิทยาลัยโตเกียว ดาวน์โหลด: รายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ ที่นี่     Related posts: Global Commons Stewardship (GCS) Index 2022 Global Commons Stewardship (GCS) Index 2021 Food Waste Index […]